svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ปชช.ส่วนใหญ่ มอง "การแย่งชิงอำนาจ" เป็นต้นเหตุความขัดแย้งทางการเมือง

29 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่หลังการเลือกตั้ง" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 25 ตุลาคม 2562

จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่หลังการเลือกตั้ง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคาดหวังของประชาชนต่อความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยหลังการเลือกตั้ง 
พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.44 ระบุว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะเพิ่มขึ้น รองลงมา ร้อยละ 31.36 ระบุว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะเท่าเดิม ร้อยละ 23.94 ระบุว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะลดลง ร้อยละ 7.18 ระบุว่า จะไม่มีความขัดแย้งทางการเมืองอีกแล้ว และร้อยละ 2.08 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน 
พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.85 ระบุว่า ความขัดแย้งทางการเมืองเพิ่มขึ้น รองลงมา ร้อยละ 36.71 ระบุว่า ความขัดแย้งทางการเมืองเท่าเดิม ร้อยละ 14.53 ระบุว่า ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง ร้อยละ 3.35 ระบุว่า ไม่มีความขัดแย้งทางการเมืองอีกแล้ว และร้อยละ 0.56 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามผู้ที่ระบุว่า มีความขัดแย้งทางการเมือง เพิ่มขึ้น เท่าเดิม และลดลง ถึงสาเหตุของความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่หลังการเลือกตั้งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน 
พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.34 ระบุว่า การแย่งชิงอำนาจทางการเมือง รองลงมา ร้อยละ 42.19 ระบุว่า ผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว ร้อยละ 32.64 ระบุว่า อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน ร้อยละ 14.04 ระบุว่า ความเป็นฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ร้อยละ 12.87 ระบุว่า ความขัดแย้งส่วนบุคคล ร้อยละ 7.23 ระบุว่า ความต้องการปกป้องเกียรติยศและศักดิ์ศรีของฝ่ายตนเอง และร้อยละ 1.74 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่หลังการเลือกตั้งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ของผู้ที่ตอบมีความขัดแย้งทางการเมือง เพิ่มขึ้น เท่าเดิม และลดลง พบว่า ร้อยละ 21.43 ระบุว่า มีความกังวลมาก เพราะ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนแย่ลงกว่าเดิม นักลงทุนต่างชาติก็ไม่กล้าเข้ามาลงทุน ขณะที่บางส่วนระบุว่า กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบในอดีตที่ผ่านมา ร้อยละ 33.14 ระบุว่า ค่อนข้างมีความกังวล เพราะ กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน และกลัวว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะแย่กว่านี้ร้อยละ 20.51 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความกังวล เพราะ เป็นเรื่องของการเมืองไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง รัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ไม่น่ามีความรุนแรง ขณะที่บางส่วนระบุว่า รู้สึกเฉย ๆ ไม่ได้สนใจอะไรกับเรื่องนี้ ร้อยละ 24.09 ระบุว่า ไม่มีความกังวลเลย เพราะ ความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ก่อนและหลังการเลือกตั้งยังเหมือนเดิมไม่ถึงขั้นรุนแรงหรือน่ากังวล และเชื่อมั่นในรัฐบาลว่าจะสามารถควบคุมทุกอย่างได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า มองเป็นเรื่องปกติของการเมือง และรู้สึกเฉย ๆ ไม่ได้สนใจอะไรกับเรื่องนี้ และร้อยละ 0.83 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.78 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.02 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.43 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.28 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.49 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 54.43 เป็นเพศชาย และร้อยละ 45.57 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 7.42 มีอายุ 18 25 ปี ร้อยละ 16.04 มีอายุ 26 35 ปี ร้อยละ 22.67 มีอายุ 36 45 ปี ร้อยละ 31.76 มีอายุ 46 59 ปี และร้อยละ 22.11 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.41 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.11 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.44 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.04 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 23.22 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.47 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.27 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.04 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 28.65 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.89 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.70 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.13 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.11 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 12.45 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.17 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.79 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.04 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.48 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.52 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.87 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.68 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 16.60 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.94 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.82 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 20,000 บาท ร้อยละ 11.57 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 30,000 บาท ร้อยละ 5.99 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001   40,000 บาท ร้อยละ 7.10 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.98 ไม่ระบุรายได้

ปชช.ส่วนใหญ่ มอง "การแย่งชิงอำนาจ" เป็นต้นเหตุความขัดแย้งทางการเมือง

ปชช.ส่วนใหญ่ มอง "การแย่งชิงอำนาจ" เป็นต้นเหตุความขัดแย้งทางการเมือง

logoline