svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

การเมือง เรื่องของ สภาฯ

28 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ช่วงนี้ "สภาผู้แทนราษฎร" ได้พักการประชุม แต่ "กรรมาธิการ (กมธ.)" ยังขับเคลื่อนต่อไป ส่วนเรื่องบิ๊กตู่ และ บิ๊กป้อม ปมยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โดยไม่มีอำนาจซึ่งตามกำหนดที่แถลง วันที่ 30 ตุลาคมนี้ เป็นเวลานัดหมายให้ 2 บิ๊กมาชี้แจง

แม้ช่วงนี้"สภาผู้แทนราษฎร"จะพักเบรกการประชุม แต่บทบาทการทำงานภายใต้"กรรมาธิการ (กมธ.)"ของสภาฯ ยังขับเคลื่อนต่อไป แม้ประเด็นการทำงาน จะเหมือนกับ"มือใหม่ หัดขับ"เพราะ หลายประเด็นเป็นการทำงานเชิงตั้งรับมากกว่า การขับเคลื่อนในทิศทางที่ช่วยยกระดับ ภาพลักษณ์ของสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็น สภาที่เป็นที่พึ่งหวังของประชาชน ซึ่งแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ


แต่ยังมี บางกมธ.ฯที่ต้องจับตาการทำงาน เพราะเป็นประเด็นที่ห้ำหั่นกันทางการเมือง คล้ายกับการเอาคืน รัฐบาลก่อนการเลือกตั้ง เช่น กมธ. ป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ที่"พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย"เป็นประธาน ที่ทำงานผิดบุคลิกงานตรวจสอบทุจริต แต่เน้นการตรวจสอบเชิงพฤติกรรม


การเมือง เรื่องของ สภาฯ


อย่างเรื่องล่าสุดที่ ประธานกมธ.ปราบทุจริต ชงให้ที่ประชุมพิจารณา คือ การตรวจสอบ"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม" และ "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ"ปมยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โดยไม่มีอำนาจ เพราะกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามกำหนดที่แถลง วันที่ 30 ตุลาคมนี้ เป็นเวลานัดหมายให้ 2 บิ๊กมาชี้แจง


การเมือง เรื่องของ สภาฯ


การเมือง เรื่องของ สภาฯ

แม้เรื่องนี้ "บิ๊กตู่" จะบอกว่าไม่ใช่การเล่นเกมส์การเมืองเอาคืน "น้องตู่"และ "พี่ป้อม" แต่มองในเชิงเนื้อหาแล้ว ปฏิเสธได้ยากว่าไม่ใช่เรื่องการเมืองกับอีกประเด็น ภายใต้การทำงานของ"กมธ.ฯ งบประมาณ พ.ศ.2563"ว่าด้วย สถานะของ"ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่


ซึ่งอยู่ระหว่างยุติปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ว่าจะดำรงตำแหน่งกมธ.ฯงบประมาณฯ63ได้หรือไม่ แม้"พรรคอนาคตใหม่"ฐานะพรรคร่วมฝ่ายค้านจะเสนอชื่อในโควต้า"บุคคลภายนอก"แต่"พลพรรคร่วมรัฐบาล" มองว่า"ธนาธร" ยังมีตำแหน่ง ส.ส. จะใช้สิทธิ "คนนอกก" นั่งในกมธ.ฯ ได้อย่างไร หากจะให้เหมาะสม ต้อง"ทิ้งตำแหน่งส.ส." เสียก่อน

ซึ่งเรื่องนี้มีคนชงเรื่องให้กมธ.ฯ งบประมาณ63 พิจารณาคือ "สิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ" และชงต่อไปยัง "ชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ" และ ศาลรัฐธรรมนูญด้วย


การเมือง เรื่องของ สภาฯ


ขณะที่ กลุ่มพรรคฝ่ายค้าน อย่าง"เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ"กมธ.งบประมาณฯ โควต้า พรรคเพื่อไทย มองว่าการพิจารณา ความเหมาะสมของ "ธนาธร" ไม่มีผู้ใดโต้แย้งได้ เพราะ ที่ประชุมสภาฯ รับรองไปแล้ว และหากใครต้องการโต้แย้ง ต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุมสภาฯ ให้พิจารณากับประเด็นนี้ ยอมรับว่าฝ่ายกฎหมายของสภาฯ ไม่กล้าที่จะชี้ขาด เพราะมีความก้ำกึ่งของสถานะของ"ธนาธร" ว่าใช้สิทธิ กมธ.ฯ คนนอก ทั้งที่ มีสถานะ "ส.ส." แม้จะหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว ได้หรือไม่ และไม่เคยมีเหตุการณ์แบบที่ว่านี้เกิดขึ้นมาก่อน


การเมือง เรื่องของ สภาฯ

ซึ่งต้องยอมรับกับเรื่องที่เกิดขึ้นว่า ทางหนึ่ง คือ การใช้ช่องว่าง ในประเด็นกฎหมาย ฉวยโอกาส เพื่อเล่นเกมทางการเมือง แม้"ธนาธร"จะเคยพูดว่า ด้วยเจตนาดี เพื่อให้เขาเองได้ศึกษาเรียนรู้ วิธีของการทำงบประมาณ จึงได้สิทธิคนนอกมาร่วม แต่ การสร้างภาพจากคำพูดนั้น มองในอีกทาง คือการ ฉวยโอกาส ให้เกิดเกมทางการเมือง และท้ายสุด อาจเป็นมูลเหตุที่ทำให้การเมืองยุคใหม่ อย่างที่ อนาคตใหม่ตั้งใจให้เกิด ไม่เกิดขึ้นจริง.

logoline