svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

พาณิชย์เตรียมใช้เวทีTIFAขอคืนสิทธิจีเอสพีจากสหรัฐ

28 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"พาณิชย์" ชี้แจงกรณีสหรัฐฯระงับสิทธิ GSP อ้างไทยไม่คุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานสากล มีผล 6 เดือนนับจากนี้ แนะผู้ส่งออกเตรียมปรับตัวรับมือภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้น เตรียมใช้เวที TIFA หารือสหรัฐขอคืนสิทธิ

นายกีรติ รัชโนผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าตามที่สมาพันธ์แรงงานและสภาอุตสาหกรรมแรงงานสหรัฐฯได้ยื่นคำร้องให้ตัดสิทธิ GSPไทย เนื่องจากเห็นว่าไทยมิได้คุ้มครองสิทธิแรงงานตามมาตรฐานระหว่างประเทศซึ่งที่ผ่านมาไทยได้ดำเนินการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเรียกร้องสหรัฐฯ และมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)แต่สหรัฐฯ มองว่าไทยยังไม่สามารถดำเนินการตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯส่งผลให้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกแถลงการณ์ประธานาธิบดี (PresidentProclamation) ระงับสิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้ระบบสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป(GSP) ที่ยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้ากับสินค้าจากประเทศโดยจะระงับการให้สิทธิ GSP เป็นการชั่วคราวสำหรับสินค้านำเข้าจากไทย จำนวน 573 รายการ มีผลบังคับ 6เดือนนับจากการประกาศแถลงการณ์นี้ หรือในวันที่ 25เมษายน 2563


ทั้งนี้ ตามหลักการแล้วสหรัฐฯจะมีหลักในการทบทวนพิจารณาGSP กับประเทศผู้ที่ได้รับสิทธิฯ อาทิระดับการพัฒนาประเทศ (รายได้ประชาชาติต่อหัวไม่เกิน 12,055 ดอลลาร์)การเปิดตลาดสินค้าและบริการ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองสิทธิแรงงานการกำหนดนโยบายลงทุนที่ชัดเจน และการสนับสนุนสหรัฐฯ ในการต่อต้านการก่อการร้ายรวมถึงการกำหนดมูลค่าการนำเข้าไม่เกินกฎว่าด้วยความจำเป็นด้านการแข่งขัน (Competitiveneed limitations : CNLs) โดยถือว่าสินค้านั้นมีความสามารถแข่งขันสูงในตลาดสหรัฐฯและไม่จำเป็นต้องได้รับสิทธิ GSP ซึ่งกำหนดไว้ 2กรณี คือ 1.  มูลค่านำเข้าสหรัฐฯเกินมูลค่าขั้นสูงที่สหรัฐฯกำหนดไว้ในแต่ละปี โดยในปี 2561 กำหนดไว้ที่ 185ล้านดอลลาร์  (โดยให้เพิ่มขึ้นทุกปีๆละ 5ล้านดอลลาร์) และ 2. ส่วนแบ่งตลาดนำเข้าจากสหรัฐฯ เกินร้อยละ 50  แต่มูลค่านำเข้าสหรัฐฯ ของสินค้าดังกล่าวต่ำกว่ามูลค่าขั้นต่ำ(De Minimis Value) ที่สหรัฐฯ กำหนด ซึ่งในปี 2561เท่ากับ 24 ล้านดอลาร์  


ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาสิทธิพิเศษทางการค้าGSP มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งจากประเทศที่สหรัฐฯให้สิทธิGSP ทั้งหมด 119ประเทศ ขยับขึ้นมาแทนอินเดียที่ถูกตัดสิทธิ GSP ไปเมื่อวันที่5 มิถุนายน 2562ที่ผ่านมา จากการระงับสิทธิ GSP ทั้ง 573รายการ ไม่ได้หมายความว่าไทยจะไม่สามารถส่งออกสินค้าดังกล่าวไปสหรัฐฯหรือสูญเสียมูลค่าที่ได้รับสิทธิ GSPประมาณ 40,000 ล้านบาท ไทยยังคงส่งออกไปได้ตามปกติเพียงต้องเสียภาษีในอัตราปกติ(MFN Rate) เฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.5หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณไม่เกิน 1,800 ล้านบาท สินค้าสำคัญที่ถูกระงับสิทธิ GSPได้แก่ มอเตอร์ไซค์ แว่นสายตา เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้าพลาสติกและของทำด้วยพลาสติก อาหารปรุงแต่ง เคมีภัณฑ์อุปกรณ์ที่ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า ทองแดง ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องประดับโดยกลุ่มสินค้าที่ถูกเก็บภาษีอัตราสูงสุดคือเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวเซรามิก (ร้อยละ 26) และอัตราต่ำสุดคือเคมีภัณฑ์(ร้อยละ 0.1)

 

อย่างไรก็ดี กรมการค้าต่างประเทศได้เชิญผู้ประกอบการหารือเพื่อรับทราบสถานการณ์และประเมินผลกระทบหากถูกเพิกถอนสิทธิGSP อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561โดยแนะนำให้ผู้ประกอบการ หาตลาดใหม่ทดแทนตลาดเดิม (Market Diversification)โดยเฉพาะตลาดอื่นๆ ที่มีแนวโน้มเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น รัสเซียยุโรปตะวันออก อเมริกาใต้ ตะวันออกลาง ฯลฯ ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากประเทศที่ไทยจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี FTA 13กรอบความตกลง จาก อาเซียน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี และเปรูซึ่งผู้ประกอบการสามารถทั้งนำเข้าวัตถุดิบและสามารถส่งออกสินค้าโดยใช้สิทธิพิเศษฯทางภาษีได้จากข้อตกลงFTA รวมทั้งขยายการลงทุนไปยังประเทศที่ยังคงได้รับสิทธิ GSP สหรัฐฯโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีมากกว่าไทย นอกจากนี้ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ในการแข่งขันและปรับเปลี่ยนสร้างมูลค่าเพิ่มตัวสินค้าโดยยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีตลอดจนการแสวงหาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า มาปรับปรุงสินค้า ศึกษาและทำการวิจัยเพื่อพัฒนา สินค้าให้มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอแทนการแข่งขันด้านราคาและเพื่อรองรับสถานการณ์ทางการค้าในตลาดโลกที่มีการแข่งขันเสรีได้ 

 

ภาครัฐคงต้องดำเนินการเจรจาขอคืนสิทธิฯโดยเร็วที่สุด โดยคาดว่าจะยื่นขอเจรจากับสหรัฐฯ หลังช่วงการประชุม EastAsia Summit ภายใต้การประชุมสุดยอดอาเซียนในประเทศไทยที่กำหนดจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้รวมทั้งเจรจาภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนไทย-สหรัฐฯ (Trade andInvestment Framework Agreement Joint Council : TIFA-JC) ต่อไป

logoline