svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

'คณิศ' เล็งรื้อเงื่อนไขจ่ายค่าก่อสร้างไฮสปีดอุ้มซีพี

26 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หนึ่งใน Big Project ของโครงการ EEC ซึ่งลงนามสัญญาร่วมทุนกับเอกชนไปแล้ว คือไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ล่าสุดมีประเด็นร้อนเกิดขึ้น เมื่อเลขาธิการอีอีซี มีแนวคิดจะปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายเงินอุดหนุนให้กลุ่มซีพี ติดตามจากรายงานพิเศษ


แม้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. จะลงนามสัญญาร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ากว่า 2.2 แสนล้านบาท กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้งส์และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพีไปแล้ว แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเริ่มก่อสร้างได้เมื่อใด มีเพียงคำคาดการณ์จากแม่ทัพกลุ่มซีพีว่าจะเร่งจัดทำแผนก่อสร้างและจะเริ่มก่อสร้างภายใน 12 เดือนหลังลงนามสัญญา

'คณิศ' เล็งรื้อเงื่อนไขจ่ายค่าก่อสร้างไฮสปีดอุ้มซีพี

ขณะเดียวกันยังมีประเด็นร้อนเกิดขึ้น หลังจาก ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี เปิดทางว่าอาจต้องปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าก่อสร้างให้คู่สัญญาคือกลุ่มซีพี โดยระบุว่า หากการก่อสร้างช่วงไหนเสร็จก่อน ก็อาจจ่ายเงินให้คู่สัญญาไปก่อนแนวคิดของเลขาธิการอีอีซีในเรื่องดังกล่าว ถือเป็นเรื่องผิดปกติอย่างยิ่ง เพราะเงื่อนไขทีโออาร์ในการประมูลโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน กำหนดไว้ชัดเจนว่าภาครัฐจะให้การอุดหนุนประมาณ 50% ของวงเงินลงทุนคือ 2.2 แสนล้านบาท แต่เอกชนต้องหาเงินลงทุนไปก่อน และรัฐจะจ่ายคืนหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จและโครงการเปิดให้บริการ โดยจะทยอยจ่ายคืนภายใน 10 ปี

'คณิศ' เล็งรื้อเงื่อนไขจ่ายค่าก่อสร้างไฮสปีดอุ้มซีพี

และที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายเงินอุดหนุนของภาครัฐ เป็นหนึ่งใน 12 ข้อเสนอเพิ่มเติมของกลุ่มซีพี ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ ยืนกรานมาตลอดว่าไม่สามารถรับข้อเสนอเหล่านี้ได้ เพราะผิดเงื่อนไขทีโออาร์ และไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดในการคัดเลือกเอกชน คือ Request for Proposal หรือ RFPการที่เลขาธิการอีอีซี ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาอีอีซี ซึ่งว่ากันว่าเป็นความหวังใหม่ของเศรษฐกิจไทย มีแนวคิดจะเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ผิดไปจากเงื่อนไขทีโออาร์ ซึ่งเป็นกติกาที่ผู้เข้าประมูลทุกรายรับรู้ร่วมกัน ถือเป็นสิ่งที่ไม่แฟร์อย่างยิ่งต่อผู้เข้าประมูล เพราะการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายเงิน ทำให้ต้นทุนการเงินของผู้ลงทุนเปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการเคาะตัวเลขที่จะขอรับการอุดหนุนจากรัฐ และยังไม่แฟร์ต่อผู้ซื้อซองที่ตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประมูลอีกด้วย

'คณิศ' เล็งรื้อเงื่อนไขจ่ายค่าก่อสร้างไฮสปีดอุ้มซีพี

ขณะที่ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ยืนยันว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปีตามเงื่อนไขทีโออาร์ ส่วนแหล่งเงินกู้ที่จะนำมาใช้ในการลงทุนก่อสร้างไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน จะมาจากสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศ เช่น ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC ธนาคารเพื่อการพัฒนาประเทศจีน หรือ CDBส่วนการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีมักกะสัน จะเปิดกว้างรับพันธมิตรใหม่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะเดียวกันยังมีแผนลดสัดส่วนหุ้นที่ซีพีถืออยู่ 70% ในปัจจุบัน

'คณิศ' เล็งรื้อเงื่อนไขจ่ายค่าก่อสร้างไฮสปีดอุ้มซีพี

ทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายเงินอุดหนุน และการลดสัดส่วนหุ้น ล้วนแต่เป็นเรื่องที่กลุ่มซีพียื่นข้อเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกฯพิจารณา หากมั่นใจว่าสัญญาร่วมทุนระหว่าง รฟท.กับกลุ่มซีพี ไม่มีสิ่งใดที่ผิดไปจากเงื่อนไขทีโออาร์ และ RFP รวมทั้งไม่มีเรื่องที่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน ภาครัฐก็ควรเปิดเผยรายละเอียดสัญญามูลค่ากว่า 2.2 แสนล้านบาท เพื่อให้สังคมหมดข้อสงสัยและจากนี้ต้องจับตาดูบทบาทของดร.คณิศ ในฐานะเลขาธิการอีอีซี ซึ่งในอดีตเคยดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ว่าจะมีข้อเสนอที่ แตกต่างจากเงื่อนไขทีโออาร์ และ RFP ที่ใช้เป็นกติกาในการคัดเลือกเอกชนหรือไม่ อย่างไรทีมข่าวเศรษฐกิจ เนชั่นทีวี รายงาน

'คณิศ' เล็งรื้อเงื่อนไขจ่ายค่าก่อสร้างไฮสปีดอุ้มซีพี


'คณิศ' เล็งรื้อเงื่อนไขจ่ายค่าก่อสร้างไฮสปีดอุ้มซีพี



'คณิศ' เล็งรื้อเงื่อนไขจ่ายค่าก่อสร้างไฮสปีดอุ้มซีพี

logoline