svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"หมอธี​ระวัฒน์​" เผยเคยเห็นกับตา​ คนไข้ตายจากพาราควอต​ ตัวเหลือง​ ไตวาย​ น้ำลายฟูมปาก

21 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"หากได้รับแม้ไม่ปริมาณมาก ก็จะเกิดการสะสมจนเกิดเป็นโรคมะเร็ง" อ.ธีระวัฒน์ ระบุ และกล่าวต่อว่า จำเป็นต้องแบนเท่านั้น ไม่สามารถที่จะใช้มาตรการจำกัดการใช้ได้เพราะไม่ได้หยุดให้คนป่วยเป็นมะเร็งได้

21 ต.ค. 62 - ที่งาน Kick Off การยกเลิกการใช้ 3 สารเคมีอันตรายทางการเกษตร ที่กระทรวงสาธารณสุข มีการเสวนาหัวข้อ "ความจริงของ 3 สารจากคนทำงานสู่ผู้บริโภค" โดยด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า ผักผลไม้ที่มีสารตกค้างส่วนใหญ่ ประมาณ 60% ล้างไม่ออก และห้องปฏิบัติการที่ใช้ตรวจวิเคราะห์สารพิษของหน่วยงานราชการตรวจได้เพียง 10% ของจำนวนสารที่มีการใช้ในประเทศเท่านั้น

ขณะที่แพทย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุขถูกโจมตีเรื่องเกี่ยวกับการแบนสารเคมี ในเชิงดูถูกแพทย์ไทยเกี่ยวกับการวินิจฉัยคนไข้ ต้องยอมรับว่าข้อมูลที่ สธ.มีอยู่ยืนยันได้ว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีผู้ที่เข้าออกโรงพยาบาลเพราะพิษจากสารเคมีเกษตร 10,000 ราย

"สิ่งที่เคยเห็นคาตาคือคนไข้ที่ตายจากพาราควอต ตัวเหลือง ไตวาย น้ำลายฟูมปาก สารเคมีพวกนี้ออกฤทธิ์ 2 อย่าง คือเฉียบพลันได้รับมากๆ ก็จะเสี่ยงเสียชีวิตหรือหากรักษาได้ก็จะกลายเป็นอาการร่อแร่ พิการ ขณะที่หากได้รับแม้ไม่ปริมาณมาก ก็จะเกิดการสะสมจนเกิดเป็นโรคมะเร็ง" อ.ธีระวัฒน์ ระบุ และกล่าวต่อว่า จำเป็นต้องแบนเท่านั้น ไม่สามารถที่จะใช้มาตรการจำกัดการใช้ได้เพราะไม่ได้หยุดให้คนป่วยเป็นมะเร็งได้

รศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกุล มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า การแบนสารเคมีเกษตร ไม่ใช่เรื่องของเกษตร แต่เป็นเรื่องของผู้บริโภคโดยตรง ที่จะมีสิทธิเลือกกินอาหารปลอดภัย ถ้ามีการแบน โอกาสที่ได้รับลดลง ถ้าไม่แบนนคือการให้ความรู้ สร้างเฝ้าระวังว่าสารเคมีอยู่ใกล้ตัวเพียงแค่หยิบเข้าปากเท่านั้นเอง

"จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบไกลโฟเสทในซีรั่มของแม่และสะดือเด็กทารกแรกเกิด 40-50 เปอร์เซ็นต์ สารเคมียาฆ่าย่าอาจตกค้างในดินมากกว่า 1 ปี การตกค้างของไกลโฟเซตในประเทศไทยนั้นม.นเรศวรได้ตรวจพบที่จังหวัดน่านโดยพบในดิน 145.04 - 3,311.69 ug/kg และพบการตกค้างในน้ำดื่มบรรจุขวด และพบในน้ำประปา ทั้งยังพบในน้ำปู ซึ่งเป็นอาหารของชาวภาคเหนือซึ่งจับปูในท้องนาที่ได้รับสารกำจัดศัตรูพืช มากินเป็นอาหาร" ดร.พวงรัตน์ ระบุ

logoline