svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

คนไทยถูก "ความเมือง" ครอบงำ มองอีกกลุ่มเป็นศัตรู

15 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นักวิชาการ วิพากษ์การเมืองไทย มีกระบวนทัศน์ใหม่ที่ครอบงำคนไทย ไม่เว้นแม้แต่นักการเมืองหรือทหาร โดยระบบคิดที่เรียกว่า "ความเมือง" ซึ่งมองอีกกลุ่มเป็นศัตรู พร้อมแนะ นายกฯ ใช้บารมีจัดการปัญหาปากท้องและความเหลื่อมล้ำ สร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ ส่วนการรัฐประหาร มองว่าไม่ง่าย ถ้าไม่มีเหตุผล

ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาแยกคอกวัว เช้านี้ มีการบรรยายพิเศษ "ประชาชน พรรคการเมือง ทหารไทย ติดกับดักวิกฤตใหม่ประเทศไทย" จัดโดย วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และมูลนิธิ 14 ตุลา
โดยนายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวย้ำว่า ตนไม่ได้เป็นศัตรูกับกลุ่มไหน แต่มองทุกฝ่าย คือ รัฐบาง ฝ่ายค้าน ทหาร ด้วยความเป็นกลาง และวิจารณ์ตามบทบาทที่เห็น

คนไทยถูก "ความเมือง" ครอบงำ มองอีกกลุ่มเป็นศัตรู


ทั้งนี้ สังคมไทย ไม่มีเป้าหมาย จนกลับมาติดกับดักตัวเองนับจากปี 2500 โดยเมืองไทยมี 3 ยุค คือ 
ยุคที่ 1 คือ ยุคพัฒนา ปี 2505-2535 ในขณะนั้นประเทศไทยมีเป้าหมายคือการพัฒนาให้ก้าวขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมแนวหน้าของภูมิภาค ซึ่งได้ผลน่าพอใจ พร้อมพร้อมกับการพัฒนาประชาธิปไตยที่มีผลดีผลเสียสลับกัน แต่ก็ยังมีเรื่องของการคอรัปชั่นของนักการเมืองสูง จนมีการแทรกแซงโดยรัฐประหารหลายหน
ยุคที่ 2 คือ ยุคปฏิรูป ในช่วงปี 2535-2557 สังคมมองเห็นทางออกจากปัญหาคอร์รัปชั่นและการใช้อำนาจอย่างไร้สำนึกของนักการเมือง จนเกิดเป็นเป้าหมายใหญ่ของประเทศร่วมกัน คือการปฏิรูปการเมือง แต่ก็ล้มเหลว เพราะเเม้จะเกิดการชุมนุมประท้วงใหญ่ของกลุ่มพันธมิตร และกลุ่ม กปปส. มีการรัฐประหาร 2 หน ก็สะท้อนว่าพลังอนุรักษ์ ระบบราชการ และกองทัพ ไม่พร้อม ไม่สามารถทำการปฏิรูปใดๆ ได้ตามเป้าหมายการปฏิรูปจึงฝ่อลงไปเรื่อยๆ
ยุคที่ 3 คือ ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่ซับซ้อนและติดกับดักความคิด ไม่สามารถพบเป้าหมายที่เป็นทางออกได้ พร้อมยกตัวอย่างว่า ประชาธิปไตยที่กินได้ หรือนโยบายประชานิยมที่จับใจชาวบ้าน จนทำให้พรรคไทยรักไทย และพรรคเพื่อไทย มีฐานเสียงที่เหนียวแน่น แต่ประชานิยมที่เกิดทั่วโลกโลกเป็นเพียงเครื่องมือของการเลือกตั้ง ไม่เป็นเป้าหมายของประเทศ และพิสูจน์มาแล้วว่าไม่ยั่งยืน // ส่วนพรรคอนาคตใหม่ มีฐานเสียงเป็นชนชั้นกลางและคนรุ่นใหม่ที่ไม่พอใจระบบเก่า ดังนั้น 2 พรรคนี้ยังไม่มีการเสนอยุทธศาสตร์แผนงานหลักที่จะนำพาประเทศข้ามความขัดแย้งไปข้างหน้า แต่เน้นการจุดประเด็น ซึ่งเป็นจุดขายของขบวนการประชานิยม และมาตรายเป็นความขัดแย้งกับฝ่ายรัฐ // ส่วนพลังสายอนุรักษ์ หรือทหาร แม้จะได้อำนาจมากว่า 5 ปี แต่ก็ติดกับดักความคิดที่เน้นเฉพาะความมั่นคง ไม่มีเป้าหมายที่จะกินใจประชาชนจนเกิดเป็นเป้าหมายร่วมของประเทศได้นายธียุทธ ยังบอกด้วยว่า ขณะนี้เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ที่เข้ามาครอบงำคนไทย มีระบบคิดที่เรียกว่า "ความเมือง" political เข้ามาแทนที่ระบบคิดแบบ " การเมือง" politicโดยการเมือง เป็นนิยามในเรื่องของการแข่งขันความคิดที่ต่างกัน เป็นความชอบไม่ชอบ โกรธชัง ระหว่างบุคคลก็ได้ แต่สามารถหาข้อสรุปโดยเสียงส่วนใหญ่
ส่วนความเมือง ก็คือ สิ่งที่สะท้อนแก่นแท้ของสังคมมนุษย์มากกว่าการเมือง เป็นเรื่องของการต่อสู้แบบรวมเบ็ดเสร็จของกลุ่มคน ที่มองอีกลุ่มเป็นซึ่งศัตรู เป็นความสัมพันธ์เชิงสงคราม ผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดในท้ายที่สุดคือ องอธิปัตย์ ซึ่งอาจเป็นผู้นำรัฐหรืออำนาจทางกฎหมายก็ได้หลังการเลือกตั้งที่ผ่านมาทุกครั้ง ประชาชนและนักการเมืองไทยจะมองว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่กระบวนการเมืองประชาธิปไตยปกติ คือแถลงนโยบาย การตรวจสอบ หักล้างด้วยหลักฐานโวหารเหตุผล นำไปสู่การแก้ไขผิดถูก หรือเพื่อล้มรัฐบาลไปสู่การเลือกตั้งใหม่ก็ได้ แต่น่ากังวลว่าปัจจุบันคนไทยส่วนหนึ่งกำลังรับกระบวนทัศน์แบบความเมือง ซึ่งมองผู้อื่นเป็นศัตรูที่ต้องล้มล้าง และจะพบเห็นว่า นักการเมืองกลายเป็นนักความเมือง / พรรคการเมืองกลายเป็นพรรคความเมือง / นักวิชาการเป็นนักโฆษณาความเมือง / ทหารฝ่ายความมั่นคงเป็นทหารฝ่ายความเมือง จึงเห็นนักเคลื่อนไหวความเมือง เริ่มต้นด้วยการมองการกระทำของอีกฝ่ายเป็นอันตรายร้ายแรงต่อบ้านเมืองซึ่งระบบคิดแบบความเมือง จะทำให้ความขัดแย้งขยายตัวน่ากลัวขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากความขัดแย้งเหลือง-แดง ซึ่งเป็นเรื่องชนชั้นล่างชั้นกลางร่างในชนบท กับ ชนชั้นกลางชั้นสูงในเมือง / ความขัดแย้งระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตย / และการเลือกตั้งหลังสุด ก็เพิ่มประเด็นคนรุ่นเก่า คนรุ่นใหม่ ความคิดเก่า ความคิดใหม่ // ในขณะที่ชาติมหาอำนาจ ก็แสดงจุดยืนชัดเจนคือชาติตะวันตก หนุนฝ่ายเสื้อแดง แต่จีนหนุนฝ่ายอนุรักษ์กับทหาร การที่ความขัดแย้งขยายตัวมาตลอด บ่งชี้ว่ารัฐบาลกับทหารจัดการกับวิกฤตผิดพลาดมองปัญหาใจกลางผิด อาจนำไปสู่ปัญหาใหม่ที่ร้ายแรง ยกตัวอย่างคือ ทหารเอาค่านิยมในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบัน มาเป็นปัญหาหลักของประเทศ ทั้งที่ปัญหาที่ควรหยิบยกเพื่อให้ได้ใจประชาชนส่วนใหญ่ ควรเป็นเรื่องของปากท้อง ความเหลื่อมล้ำการที่กองทัพโยงประเด็นความมั่นคงเข้ากับสงคราม hybrid สะท้อนว่าทหารเชื่อว่าสังคมไทยในยุครัฐประหารของ คสช. ยังอยู่ในภาวะสงครามกลางเมือง แต่พอ 5 ปีผ่านไป สังคมได้พัฒนาความขัดแย้งมาเป็นสงคราม hybrid ซึ่งร้ายแรงกว่าเดิม ไม่จำกัดรูปแบบการต่อสู้แต่จริงๆแล้วคติสงครามที่หลายรูปแบบมีมาตลอดนายธีรยุทธ แนะหนทางแก้ไขว่า สังคมทั่วไปควรมองสถานการณ์ให้กระจ่าง ตั้งสติอยู่ตรงกลาง จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้ / ส่วนฝ่ายรัฐต้องธำรงความเป็นกลาง ไม่ใช้ความเมืองทำลายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง / ส่วนศาลและระบบยุติธรรม ต้องตริตรองทุกคดีความ หรือทุกปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และหลักยุติธรรมอย่างแท้จริง บางครั้งอาจต้องถอยกระบวนการตุลาภิวัฒน์กลับบ้างสำหรับรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงรัฐประหารมีผลงานจับต้องได้จำนวนหนึ่ง คือโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ การรักษาความสงบไม่ให้มีการชุมนุมประท้วง ส่วนการปฏิรูป-การสร้างความสมานฉันท์ไม่เกิด ยิ่งเมื่อเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้งจะยิ่งทำงานลำบากกว่าเดิม เพราะด้วยโครงสร้างรัฐบาลจะอยู่รอดต่อไปได้ต้องจัดสรรผลประโยชน์มาให้ทุกกลุ่มการเมือง ในที่สุดต้องพึ่งพากลุ่มทุนใหญ่ แต่ก็คาดว่าคนจำนวนมากยังต้องการให้ประเทศมีรัฐบาลบริหารงานไปอีกสักระยะ ดังนั้น พลเอก ประยุทธ์ ควรปรับปรุงวิธีการทำงาน และตั้งเป้าหมายระยะยาวทำให้ได้ผลจริงจังซัก 2-3 เรื่อง โดยเฉพาะการโฟกัสปัญหาปากท้องของชาวบ้าน ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และการเพิ่มคุณภาพของคนทุกวัยในด้านการศึกษาพัฒนาทักษะใหม่ อาชีพใหม่ ต้องใช้อำนาจบารมีตัวนายกฯ ลงมือแก้ปัญหาเอง นายธีรยุทธ กล่าวอีกว่า หากยังหาทางออกให้กับวิกฤตความเมืองไม่ได้ ก็น่าเป็นห่วง หากไม่ฉุดก็จะเกิดความรุนแรง เกิดวาทกรรมไปเรื่อยๆ เกิดการบิดเบือนของความเมือง จนสุดท้ายนำไปสู่ความรุนแรง ดังนั้นเห็นว่า บทบาทของ พลเอก ประยุทธ์ / นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา / หัวหน้าพรรคการเมือง รวมถึงทหารชั้นผู้ใหญ่ ให้เป็นเสาหลักทางความคิดคอยพยุงและประคองทิศทางประเทศ เมื่อถามว่า ฝ่ายความมั่นคงหยิบยกเรื่องการโจมตีสถาบันมาเป็นประเด็น ซึ่งในความเป็นจริงก็มีบางกลุ่มที่ดำเนินการในลักษณะนี้จริง ท้ายที่สุดจะไปถึงขั้นการรัฐประหารหรือไม่ / นายธีรยุทธ กล่าวว่า การที่คนรุ่นใหม่จะออกมาสู้คงไม่สำเร็จ ควรหาวิธีอื่น แต่เชื่อว่าจะมีการใช้อำนาจที่เข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการทางกฎหมายหรือมากกว่านั้น พร้อมแนะอย่าหยิบประเด็นแบบนี้มาเป็นหลักขัดแย้งในสังคม เพราะมันเป็นเรื่องพิเศษ เป็นอุบัติเหตุที่ใครควบคุมไม่ได้ ถ้าตัดประเด็นนี้ออกไปก็คงไม่เกิด ส่วนการรัฐประหาร ไม่ง่าย ถ้าไม่มีเหตุผล

logoline