svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

จุรินทร์นั่งหัวโต๊ะประชุมแก้หนี้เกษตรกร

08 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"จุรินทร์" ใช้เวลา 5 ชั่วโมงนั่งหัวโต๊ะเป็นประธานประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลุยอนุมัติตั้งกองทุนฟื้นฟูแก้หนี้เรื้อรังวงเงินปี 63 ประมาณ 2,463 ล้านบาท

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรณ ทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า เป็นการประชุมนัดแรกจากที่มีการตั้งคณะกรรมการกองทุนชุดใหม่ โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตนทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการมีองค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุนครบถ้วน ทั้งในส่วนของข้าราชการตัวแทนเกษตรกรคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูจะมีคณะกรรมการอีกสองชุดที่จะเป็นผู้ดำเนินการในทางปฏิบัติจริงคณะกรรมการบริหารกับคณะกรรมการจัดการหนี้ ซึ่งทั้งสองชุดนี้จะมีองค์ประกอบทั้งส่วนราชการตัวแทนภาคเอกชนและตัวแทนเกษตรกรส่วนของกรรมการบริหารนั้นมีตัวแทนเกษตรกรสองท่านครบถ้วนและกรรมการจัดการหนี้มีเก้าท่านครบองค์ประกอบหลังจากนี้สำนักงานเลขาธิการจะไปตรวจสอบคุณสมบัติแล้วจะลงนามแต่งตั้ง

จุรินทร์นั่งหัวโต๊ะประชุมแก้หนี้เกษตรกร

ทั้งนี้ ในที่ประชุมอนุมัติกรอบวงเงินสำหรับการดำเนินงานกองทุน2,463 ล้านบาท วงเงินปี 2563และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรในเรื่องของหนี้สิน มีมติในหลายเรื่องเรื่องไหนที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการหนี้จะส่งให้กับคณะกรรมการจัดการหนี้ชุดใหม่ได้ดำเนินการเรื่องใดเกินอำนาจส่งมาที่กรรมการกองทุนฟื้นฟูชุดใหญ่ ถ้าจำเป็นต้องเข้าครม.ก็จะเข้าครม. และถ้าเรื่องใดเป็นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนแล้วเกี่ยวข้องกับกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรตนยินดีที่จะจัดการให้

 .

ส่วนเรื่องซื้อหนี้จะเป็นหนึ่งในภารกิจของกองทุนฯนี้โดยกรรมการจัดการหนี้จะเป็นผู้ดำเนินการต่อไปโดยเป็นหน้าที่ของกรรมการที่จะจัดการใช้เงินโดยมีกรอบวงเงินแล้ว2,463 ล้านบาทและในประเด็นเรื่องลูกหนี้ธนาคารของรัฐ ที่เกษตรกรเป็นลูกหนี้ของธนาคาร ธกส. อคศ.เอสเอ็มอีแบงค์ เป็นต้นกรณีบุคคลค้ำประกันโดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันแต่ค้ำโดยบุคคลนั้นกองทุนจะไม่สามารถซื้อหนี้ได้เรื่องนี้ค้างอยู่จะส่งให้กรรมการจัดการหนี้ได้นำไปพิจารณาต่อไปว่าก็รณีไหนที่สามารถซื้อหนี้ได้หรือสามารถช่วยแก้ไขได้หรือเรื่องการถูกยึดที่ดินได้ และการเดือดร้อนของผู้ค้ำประกันเป็นต้นจะดูเป็นกรณีไปถ้ามีปัญหาเพิ่มเติมสามารถส่งเข้ามาให้กองทุนฟื้นฟูดูแลได้และถ้ากรณีหนี้เกิน 2.5 ล้านบาท ก็จะตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาช่วยดูว่าจะกำหนดหลักเกณฑ์อย่างไรต่อไป

.

รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรใช้เวลาประชุมกว่า5 ชั่วโมง โดยมติที่สำคัญคือที่ประชุมอนุมัติกรอบงบประมาณรายจ่ายของกองทุนประจำปีงบประมาณ 2563จำนวน 2,463 ล้านบาท เพื่อนำเสนอกระทรวงการคลังเห็นชอบตามขั้นตอนต่อไปและอนุมติให้ใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการบริหารสำนักงานในไตรมาสที่ 1และ 2 ปีงบประมาณ 2563จำนวน 157 ล้านบาทเศษ สำหรับการบริหารองค์กรโดยจะมีผลย้อนหลังถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2562หลังจากกระทรวงการคลังอนุมัติตาม พรบ ทุนหมุนเวียน สำหรับงบประมาณในส่วนเหลือคณะกรรมการบริหารกองทุนฯและคณะกรรมการจัดการหนี้ชองเกษตรกรจะพิจารณาจัดทำรายละเอียดแผนการใช้จ่ายเพื่อนำมาเสนอคณะกรรมการชุดใหญ่ต่อไป

.

สำหรับวาระเพื่อพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรตามข้อเรียกร้อง7 ข้อมี มติ คือ 1. แก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรลูกหนี้ธนาคารของรัฐกรณีพิจารณา ให้คณะกรรมบริหารหนี้พิจารณาการใช้งบประมาณ 3,500ล้านบาท เพื่อซื้อหนี้ 4 ธนาคาร (ธกส ออมสิน ธอส SME Bank ตั้งแต่ปี2546) เมื่อซื้อแล้ว กองทุนบริหารโฉนดสามารถปล่อยให้เกษตรกรหรือทายาทเช่าซื้อเพื่อใช้ต่อไปได้ (ไม่ได้รวมตัวเลข ธกส)มติ คือมอบหมายคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรตรวจสอบข้อมูลลูกหนี้และรายละเอียดโครงการจัดการหนี้เกษตรกรให้เรียบร้อยก่อนเสนอคณะกรรมการกองทุนพิจารณา เพื่อเสนอ ครม ให้ความเห็นชอบต่อไปเนื่องจากยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลลูกหนี้กับเจ้าหนี้ด้วยวัตถุประสงค์ของการกู้ใน 3 ธนาคารที่ไม่ใช่ ธกส.นั้นไม่ได้เป็นเพื่อการเกษตร

.

2. ขอความเห็นชอบโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรกรณีหนี้เกิน 2.5 ล้านบา ต้องพิจารณา นำเข้า ครมเพื่อมอบอำนาจให้กรรมการกองทุนใช้งบประมาณมาจัดการซื้อหนี้เกษตรกรแต่ละรายที่ยอดเกิน2.5 ล้านบาท จำนวน 344ราย รวมทั้งหมด 2314.66 ล้านบาท (เป็นหนี้ธนาคารอื่นในข้อ 1ยกเว้น ธกส) ซึ่งรวมอยู่ในงบ 3500 ล้านบาทนี้ มติ คือ -เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วม 4 ฝ่ายจำนวน 15 คนโดยมีตัวแทนเกษตรกรภาคละ 1 คนเข้าร่วมในคณะอนุกรรมการฯด้วยและให้ปรับปรุงโครงการฯก่อนเสนอคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรตรวจสอบก่อนเสนอคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรพิจารณา และเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

.

3. ขอความเห็นชอบจัดการหนี้ที่ถูกเจ้าหนี้ขายทรัพย์สินเป็นประกัน(NPA ทรัพย์ที่ถูกเจ้าหนี้ขายทอดตลาดทำให้กองทุนฯไม่มีอำนสจไปจัดการทรัพย์ประชุมพิจารณาให้คณะกรรมการจัดการพิจารณารายละเอียดการซื้อคืนทรัพย์ NPA607 ล้านบาท (ซื้อไปแล้ว 288 ล้านบาทเศษ) ของเกษตรกร 499ราย แต่ยังมีปัญหาคุณสมบัติเกษตรกรบางราย ซึ่งบอร์ดก่อนหน้านี้ได้ชะลอโดยอ้างอิงถึงเรื่องผู้บริหารกองทุนไม่มีอำนาจจัดการ ล่าสุดมีข้อสรุปว่าผู้บริหารกองทุนมีอำนาจจัดการ เรื่องนี้จึงยังค้างอยู่ มติ คือ มอบหมายคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรพิจารณาร่างระเบียบการซื้อทรัพย์คืนให้ครอบคลุมปัญหาเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและซื้อทรัพย์คืนให้เกษตรกรได้ และอนุมัติให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรซื้อทรัพย์NPA คืนให้เกษตรกรที่มีคุณสมบัติครบถ้วน(ให้คณะกรรมการกองทุนฯพิจารณาเห็นชอบก่อน) และให้ดำเนินการรวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่มีNPA ที่มีปัญหาไม่เข้าหลักเกณฑ์เสนอคณะกรรมการจัดการหนี้ฯกลั่นกรองความถูกต้องพร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะ ก่อนเสนอคณะกรรมการกองทุนพิจารณาต่อไป

.

4. พิจารณาแนวทางการชำระหนี้แทนสถาบันเกษตรกรกรณีการทดลองจ่ายเงินชดเชย บอร์ดต้องพิจารณา พิจารณาแนวทางการชำระหนี้แทนสถาบันเกษตรกรกรณีกรรมการกองทุนปี 48 รับหลักการให้ลดหนี้ 50%และตัดดอกเบี้ยทิ้ง ให้เกษตรกรที่เป็นหนี้สหกรณ์จำนวน 43,004ราย (ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 49) โดย ครม ให้กองทุนฯจ่ายชดเชยก่อนโดยเอาเงินจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ 1,392 ล้านบาท สถานะปัจจุบันต้องการให้ ครมชดเชยเงินคืนกองทุนและลดหนี้ให้เกษตรกรอีก 50 % มติคือ เห็นชอบให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรกลับไปพิจารณาหนี้ทั้งระบบหากจำเป็นต้องเสนอ ครม ขอเงินชดเชยคืน ให้นำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณาอีกครั้ง

5. ปรับปรุงแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการโอนทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันชำระหนี้และการเช่า เช่าซื้อ หรือซื้อทรัพย์สินไปจากกองทุน พศ 2560และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) รวมถึงบรรดาระเบียบ ประกาศหรือเกณฑ์อื่นใด ที่เกี่ยวข้อง บอร์ดให้อำนาจกองทุนพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระเบียบการเช่าซื้อ(เป็นข้อเรียกร้องของแกนนำ) มติ คือมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาดูระเบียบหลักเกณฑ์ดังกล่าว

.

6. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการปฏิรูปองค์กรและจัดทำโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรในกรณีเร่งด่วนขอบอร์ดให้อำนาจกองทุนพิจารณาตั้งคณะอนุกรรมการปฏิรูปองค์กรและจัดทำโครงการพิเศษเพื่อเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรเร่งด่วนมติ คือส่งกรรมการบริหารดำเนินการโดยให้รับผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลไปพิจารณาด้วย

.

7. กำกับการปฏิบัติงานคณะกรรมการบริหารเร่งออกประกาศหลักเกณฑ์ว่าด้วยการฟื้นฟูฯภายใต้ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจว่าด้วยการพิจารณาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรขององค์กรเกษตรกรฯ พศ 2562ขอบอร์ดให้อำนาจกองทุนพิจารณาระเบียบให้กรรมการบริหารออกหลักเกณฑ์ว่าด้วยการฟื้นฟูภายใต้ระเบียบของกรรมการเกี่ยวกับแผนและโครงการฟื้นฟูมติ คือ ให้คณะกรรมการบริหารเร่งดำเนินการออกร่างหลักเกณฑ์ฯ

logoline