svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ และ ความงาม

4 วิธีแก้คอเคล็ด แบบง่ายๆด้วยตัวเอง

12 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หากคุณเคยประสบปัญหาตื่นจากที่นอนตอนเช้าแล้วพบว่ามีอาการปวดต้นคอ หรืออาการคอเคล็ดหรือไม่ หรือที่เรียกว่าคอตกหมอนหรือกล้ามเนื้อคออักเสบเฉียบพลัน ทางเนชั่นทีวีขอนำวิธีแก้คอเคล็ดมานำเสนอ และนำวิธีเหล่านี้ไปปฏิบัติ คุณจะไม่ต้องทนกับความเจ็บปวดที่เกิดจากคอเคล็ดอีกต่อไป

ตรวจร่างกายด้วยตัวเอง
1.ก้มเงย และหันคอซ้ายขวา จะพบว่ามีการจำกัดการเงยและหันศีรษะไปข้างที่มีอาการปวด ให้ท่านสังเกตอาการว่าปวดคอบริเวณใด ข้างซ้ายหรือข้างขวา
2.ใช้มือจับบริเวณคอ สังเกตอาการร้อนของคอเทียบกับผิวบริเวณใกล้เคียงจะรู้สึกอุ่นตรงบริเวณที่ปวด
3.ใช้มือกดไล่ไปบริเวณลำกล้ามเนื้อคอ เพื่อหาบริเวณที่มีอาการ ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณกลางๆ คอ
รักษาง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง
1.ประคบเย็น เมื่อเริ่มมีอาการปวดคอเคล็ดควรประคบเย็นบริเวณคอเพื่อช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อคอ การประคบเย็นอาจจะใช้แผ่นประคบเย็นสำเร็จรูป (Cold pack) หรือถุงใส่น้ำและน้ำแข็งอัตราส่วน 1:1 ประคบบริเวณคอประมาณ 15 20 นาที ทำซ้ำทุกๆ 2 ช.ม.

4 วิธีแก้คอเคล็ด แบบง่ายๆด้วยตัวเอง


2.นวด นั่งฟุบกับโต๊ะหรือเตียง ให้ใช้มือข้างเดียวกับด้านที่ปวดคอ วางลงบริเวณศีรษะทางด้านหลัง กางนิ้วโป้งออก ใช้นิ้วโป้งกดคลึงบริเวณที่เจ็บที่สุดของลำกล้ามเนื้อ ดังรูป กดแรงพอประมาณให้รู้สึกตึงหรืออาจจะปวดเล็กน้อย กดค้าง 30 วินาทีแล้วผ่อนแรง กดซ้ำรวมระยะเวลา 3-5 นาที หรือจนรู้สึกว่าลำกล้ามเนื้อนิ่มลงหรืออาการปวดลดลง ทำวันละ1-2 ครั้ง1 อย่าคลึงแรงจนทำให้ปวดมากเพราะจะยิ่งทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวเพิ่มขึ้น

4 วิธีแก้คอเคล็ด แบบง่ายๆด้วยตัวเอง


3.ยืดกล้ามเนื้อเบาๆ ก้มศีรษะ หันหน้า และใช้มือด้านตรงข้ามกับข้างที่มีอาการ โดยวางมือบนศีรษะ กดศีรษะลงให้รู้สึกตึงก้านคอเล็กน้อย ทำค้างไว้นับ 1-10 โดยจะรู้สึกผ่อนคลายที่กล้ามเนื้อคอบริเวณที่มีอาการ สามารถทำซ้ำได้ไม่เกิน 10 ครั้ง วันละ 3 รอบ

4 วิธีแก้คอเคล็ด แบบง่ายๆด้วยตัวเอง


4.ลองปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่กล่าวมาข้างต้น อาการปวดคอของท่านก็จะบรรเทาลงได้ด้วยตัวท่านเอง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีอาการ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อคอ อาการตกหมอนไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ปกติแล้วอาการเหล่านี้จะสามารถบรรเทาเองได้ภายใน 2-3 วัน อย่างไรก็ตามเมื่ออาการหายแล้ว เราควรหาต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยมหิดล

logoline