svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เจาะ "งบ63" รายกระทรวง งบกลางพุ่ง 5.1 แสนล้าน

07 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ครม. ส่งงบประมาณปี 2563 ใช้งบกว่า 3.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP 17.9% โดยเป็นงบกลางกว่า 5.18 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่องบประมาณปี 2563 ประมาณ 16.2%

วันนี้ (7 ต.ค. 62) ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีวาระสำคัญคือสำนักงบประมาณเสนอ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 วงเงินทั้งสิ้นกว่า 3.2 ล้านล้านบาท ก่อนส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตามลำดับต่อไป
การเสนอ พ.ร.บ.งบประมาณปี 63 วันนี้ เป็นไปตามปฏิทิน หลังจาก ครม. เมื่อ 3 ก.ย. 62 ให้ความเห็นชอบรายงานรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ตามที่ ครม. เคยเห็นชอบวงเงินงบประมาณปี 63 เมื่อ 6 ส.ค. 62 ซึ่งการจัดสรรงบจำแนกตามกระทรวง แยกเป็น งบกลาง 5.18 แสนล้านบาท ส่วนการจัดสรรงบรายกระทรวงตามลำดับสูงสุดไปหาน้อยที่สุดได้แก่
1. กระทรวงศึกษาธิการ 3.68 แสนล้านบาท2. กระทรวงมหาดไทย 3.53 แสนล้านบาท3. กระทรวงการคลัง 2.49 แสนล้านบาท4. กระทรวงกลาโหม 2.33 แสนล้านบาท5.กระทรวงคมนาคม 1.78 แสนล้านบาท6.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 1.4 แสนล้านบาท7.กระทรวงสาธารณสุข 1.38 แสนล้านบาท8.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1.09 แสนล้านบาท9.กระทรวงแรงงาน 6 หมื่นล้านบาท10. สำนักนายกรัฐมนตรี 3.9 หมื่นล้านบาท

11.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3 หมื่นล้านบาท12.กระทรวงยุติธรรม 2.6 หมื่นล้านบาท13.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2.1 หมื่นล้านบาท14.กระทรวงการต่างประเทศ 8.9 พันล้านบาท15.กระทรวงวัฒนธรรม 8.5 พันล้านบาท16. กระทรวงพาณิชย์ 7.5 พันล้านบาท17.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 6.8 พันล้านบาท18. กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา 6 พันล้านบาท19.กระทรวงอุตสาหกรรม 5.3 พันล้านบาท20. กระทรวงพลังงาน 2.1 พันล้านบาท
วงเงินงบประมาณรายจ่าย 3.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP 17.9% เป็นรายจ่ายประจำ 2.39 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่องบประมาณ 74.8% รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 6.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่องบประมาณ 1.9% รายจ่ายลงทุน 6.55 แสนล้านบาท (20.5%) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 8.9 หมื่นล้านบาท (2.8%) ส่วนประมาณการรายได้ 2.731 ล้านล้านบาท (15.3%) วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 4.69 แสนล้านบาท (2.6%) กรอบวงเงินกู้สูงสุดเพื่อชดเชยการขาดดุลตาม พ.ร.บ.หนี้สาธารณะ 7.11 แสนล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 17.8 ล้านล้านบาท

ส่วนการจัดสรรงบประมาณตาม 7 ยุทธศาสตร์ เรียงลำดับตามวงเงินงบประมาณ ได้สูงสุดได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 7.66 แสนล้านบาท รองลงมา ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 5.7 แสนล้านบาท ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ 5.04 แสนล้านบาทรายการค่าดำเนินการภาครัฐ 4.31 แสนล้านบาท ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 4.28 แสนล้านบาท ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3.8 แสนล้านบาท และด้านสุดท้ายที่จัดสรรงบประมาณน้อยที่สุดคือ ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1.18 แสนล้านบาท
ส่วนปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 63 หลังจากร่าง พ.ร.บ. ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม ครม. วันนี้แล้ว จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในวาระที่ 1 ปลายเดือน ก.ย. 62 และในวาระที่ 2-3 ต้นเดือน ธ.ค. 62 ก่อนเสนอให้วุฒิสภากลางเดือน ธ.ค. 62 จากนั้นจึงนำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ฉบับใหม่ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้ต่อไป คาดว่าจะใช้งบประมาณได้เดือน ม.ค. 2563
ระหว่างนี้หน่วยงานต่างๆ สามารถใช้งบประมาณปี 62 ไปพลางก่อนได้ ซึ่งตั้งไว้ไม่เกิน 50% สามารถใช้ได้ในส่วนของบรายจ่ายประจำของแต่ละหน่วยงาน ส่วนโครงการลงทุนใหม่ยังไม่สามารถใช้ได้ เพราะต้องรองบประมาณปี 63 ประกาศใช้เท่านั้น

logoline