svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

สรท.หั่นส่งออกปี 62 ติดลบ 1.5% ส่วนปีหน้ามองโต 0 - 1%

01 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สรท.ปรับคาดการณ์ส่งออกไทยปี 2562 ติดลบ 1.5% ส่วนปี 2563 คาดโต 0-1% จับตาปัจจัยเสี่ยงสงครามการค้า ค่าเงินบาทแข็ง เบร็กซิต แนะรัฐบาลเปิดตลาดส่งออกระดับรองและเจรจาเอฟทีเอเพิ่มเติม

นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า  สรท.ได้ปรับคาดการณ์การส่งออกในปี 2562 ติดลบ 1.5%บนสมมติฐานค่าเงินบาท 33 (0.5) บาทต่อดอลลาร์ จากเดิมคาดว่าจะติดลบ 1% และคาดการณ์การส่งออกปี2563 เติบโต 0-1% บนสมมติฐานค่าเงินบาท 30.5 บาทต่อดอลลาร์ (อัตราแลกเปลี่ยน ณวันที่ 30 กันยายน 2562 = 30.626 บาทต่อดอลลาร์ เคลื่อนไหวในกรอบ 30.42 30.66บาทต่อดอลลาร์) 

โดยมีปัจจัยบวกสำคัญจากสงครามการค้าที่เริ่มมีท่าทีที่ผ่อนคลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นเห็นได้จากสหรัฐเลื่อนการขึ้นภาษีอัตราร้อยละ 30 มูลค่า 250,000 ล้านดอลลาร์จากวันที่ 1 ต.ค. เป็น 15 ต.ค. และเลื่อนขึ้นภาษีสินค้าจีนกว่า 400 ชนิดแต่ยังไม่ชัดเจนว่าภาษีทั้งหมดที่ได้รับยกเว้นมีสัดส่วนมากเพียงไร

จีนประกาศงดเว้นภาษีสินค้าสหรัฐในกลุ่มยา น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ มูลค่ากว่า 1.65 พันล้านดอลลาร์ โดยจะมีผลบังคับใช้1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย. 62  2)ทองคำเป็นปัจจัยหลักในช่วยในการส่งออก เนื่องจากถูกพิจารณาว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยโดยมีการขยายตัวของการส่งออกในเดือนส.ค. กว่า 300%

อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญประกอบด้วย อัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องจากท่าทีการดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายของประเทศต่างๆ เช่น สหภาพยุโรปที่ดำเนินมาตรการซื้อพันธบัตรมูลค่า 200,000 ล้านยูโรต่อเดือน และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ของ FED จาก2.00-2.25% สู่ระดับ 1.75-2.00% 1.1)สินค้าเกษตรได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลงโดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งและปริมาณสต๊อกสินค้าที่มีอยู่มากในตลาดโลกทำให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันปริมาณการส่งออกของไทยจึงชะลอตัวลง

การโจมตีโรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่งของบริษัทพลังงานแห่งชาติประเทศซาอุดิอาระเบียซึ่งกระทบต่อปริมาณอุปทานของน้ำมันดิบทั่วโลกกระทบต่อราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ8 ในช่วงวันที่ 1416 กันยาที่ผ่านมาส่งผลต่อความผันผวนและไม่แน่นอน 

นอกจากนี้เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวทั่วโลกจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้าและสถานการณ์ Brexit ที่ยังคลุมเครือต่อทิศทางของอังกฤษส่งผลต่อคำสั่งซื้อที่ลดลงและปริมาณการส่งออกที่ลดลง และสถานการณ์ภัยพิบัติในประเทศได้แก่น้ำท่วมที่ภาคะวันออกเฉียงเหนือซึ่งสร้างความเสียหายรุนแรงแก่ผลผลิตทางการเกษตรในระยะสั้นและระยะยาวในภาคการผลิตเพื่อส่งออกของไทย

ทั้งนี้ สรท. มีข้อเสนอแนะที่สำคัญประกอบไปด้วย 1.สนับสนุนให้มีการต่อยอดการเจรจาธุรกิจจากการเปิดตลาดศักยภาพระดับรอง(อินเดีย) จากที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ได้พาผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราทั้งห่วงโซ่การผลิตมันสำปะหลัง วัสดุก่อสร้าง และธุรกิจบริการโลจิสติกส์ร่วมเดินทางเจรจาธุรกิจกับกลุ่มนักธุรกิจอินเดียเมื่อวันที่ 24-28 กันยายนที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีการเดินทางเจรจาธุรกิจ (Business matching andnetworking trip) อีกครั้งช่วงปลายปีนี้ (2562)

ตลาดอินเดียเป็นตลาดที่มีศักพภาพและยังสามารถรองรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรมและสินค้าของไทยที่มีความพร้อมในการเปิดตลาดและจากการประมาณการเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมที่สามารถรองรับสินค้าของไทยอาทิ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (Fast-moving consumer goods (FMCG) คาดว่าจะมีการเติบโตในปี 2020 คาดว่าตลาดสินค้าปลีกจะเติบโตขึ้นประมาณ 20% - 25% ต่อปีสามารถรองรับสินค้าไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร

กลุ่มสินค้าคงทน (Growth ofConsumer Durable Industry) หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าตลาดในระหว่างปี 2017-2020 จะอัตราเติบโตเฉลี่ย 41% มีมูลค่ากว่า 4แสนล้านดอลลาร์  สามารถรองรับสินค้าไทยในกลุ่มเครื่องซักผ้าตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น  และ3. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (Real estate) คาดว่าจะมีการเติบโตของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่1 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2030 กว่า 80% ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ คือที่อยู่อาศัย ในปี 2018 เติบโตกว่า 75% ใน 8 เมืองหลัก 

สามารถรองรับสินค้าไทยในกลุ่มไม้ยางพารา(เฟอร์นิเจอร์) กลุ่มสีสเปรย์และเคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้นซึ่งเป็นโอกาสของสินค้าไทย ประกอบกับไทยส่งออกไปอินเดียคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 3ของการส่งออกทั้งหมด คิดเป็นมูลค่ากว่า 7,600 ล้านดอลลาร์ ในปี 2561 และในปี 2562(ม.ค.-ส.ค.) ไทยส่งออกไปอินเดีย คิดเป็นมูลค่า 5,280 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 8เดือนส่งออกไปแล้วกว่าร้อยละ 3.2 ซึ่งมากกว่าปี 2561 ทั้งปีและคาดว่าน่าจะเติบโตได้อีกหากได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

2. เร่งเจรจา FTA ภาครัฐควรเร่งเจรจาเปิดเสรีทางการค้าเพิ่มมากขึ้นซึ่ง FTA ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศคู่ค้าหลักและคู่ค้ารองกับไทยเพิ่มมากขึ้นเช่น ไทย-อียู ไทย-สหราชอาณาจักร RCEP และ ไทย-อินเดีย เป็นต้น และ 3.สนับสนุนลดต้นทุนโลจิสติกส์ในประเทศ เพื่อลดภาระต้นทุนของผู้ประกอบการส่งออกของไทยจากสถานการณ์ของความผันผวนของเศรษฐกิจโลก สงครามทางการค้าและค่าเงินบาทที่ปัจจุบันไทยยังคงแข็งค่ากว่าคู่ค้าและคู่แข่ง

 

 

logoline