svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"มนัญญา" บุกดูขั้นตอนตรวจสอบสารเคมีนำเข้า หวั่น 3 สารร้ายเล็ดลอด

23 กันยายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บุกโกดังย่านคลองเตย-บางปู ดูขั้นตอนการตรวจสอบสารเคมีนำเข้าของเจ้าหน้าที่ หวั่น 3 สารเคมีอันตรายแอบแฝง พร้อมเช็คจำนวนสต็อคที่ถูกต้อง ซี่งล่าสุดพบว่า ตัวเลขนำเข้าของเอกชน ไม่ตรงกับกรมวิชาการเกษตร

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำสื่อมวลชนบุกตรวจสอบ ด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ กรมวิชาการเกษตร ย่านคลองเตย เเต่เช้าตรู่ โดยเจ้าหน้าที่ของด่านไม่รู้ล่วงหน้า ทันทีที่มาถึง นางสาวมนัญญา เข้าไปยังห้องทำงานของเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถาม ถึงการนำเข้าสารเคมีอันตราย เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ว่ามีการขออนุญาตตรวจสอบตัวอย่าง เก็บตัวอย่าง และมีการปลอมปนเคมีสารเคมีเข้ามาหรือไม่โดยเจ้าหน้าที่ได้นำเอกสารมาชี้แจงยืนยันว่าเป็นไปตามขั้นตอนนางสาวมนัญญา บอกว่า ปฏิบัติการวันนี้ต้องการตรวจสอบการนำเข้าการนำเข้าสารเคมีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งทราบว่ามี 5 ชนิดประกอบด้วย สารป้องกันกำจัดโรคพืช และป้องกันกำจัดแมลง รวมถึงมีการตรวจสอบตัวอย่างสารให้เป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่ ทั้งนี้ตั้งข้อสังเกต กระบวนการนำเข้าสารเคมีที่มีการปะปนกันมามากกว่าหนึ่งชนิดในตู้คอนเทนเนอร์เดียวกัน (3 ตู้ มี 3 สารปนกันอยู่ในแต่ละตู้)

"มนัญญา" บุกดูขั้นตอนตรวจสอบสารเคมีนำเข้า หวั่น 3 สารร้ายเล็ดลอด

ซึ่งเห็นว่าทำให้ยากต่อการตรวจสอบ และอาจมีการปลอมปนเข้ามาได้ จึงเสนอให้มีการแยกสารแต่ละชนิดอยู่แต่ละตู้ นอกจากนี้ยังสอบถามถึงหารตรวจสอบสินค้าเกษตรต่างๆที่นำเข้ามาด้วยสำหรับสารเคมีเกษตรที่มีความเสี่ยงสูงทั้ง 3 ชนิดคือ พาราควอต คลอร์ไพรีฟอส และไกลโฟเซต หลังจากที่ถูกสั่งห้ามนำเข้าตั้งแต่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมาเนื่องจากเป็นสารเคมีอันตรายที่กระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมปรากฎว่าไม่พบมีการนำเข้าผ่านด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ อีกนางสาวมนัญญา กล่าวด้วยท่าทีหนักใจว่า แม้จะไม่มีการนำเข้า 3 สารเคมีดังกล่าว แต่ขณะนี้ยังคงค้างอยู่ในสต๊อก

"มนัญญา" บุกดูขั้นตอนตรวจสอบสารเคมีนำเข้า หวั่น 3 สารร้ายเล็ดลอด

ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการวัตถุอันตราย ยังไม่มีมติออกมาชัดเจน และขอยืดระยะเวลาพิจารณาออกไป ก็เท่ากับปล่อยให้สารเหล่านี้สามารถยืดการขายต่อไปได้อีก จากนั้นเดินทางต่อไปยังนิคมอุตสาหกรรมบางปู เข้าไปที่บริษัทเเห่งหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตในการนำเข้า พาราควอต และไกลโฟเซต เพื่อตรวจสอบสต็อคการนำเข้าและคงค้าง โดยเจ้าหน้าที่บริษัทให้ข้อมูลว่า ปี 2562 ได้นำเข้าสารทั้ง 2 ชนิดจริง มีใบอนุญาต โดยพาราควอต นำเข้า 190 ตัน ส่วนไกลโฟเซต นำเข้า 370 ตันขณะเดียวกันมีอีกหนึ่งบริษัทที่เป็นเจ้าของเดียวกัน สามารถนำเข้าได้เพียงสารพาราควอต ซึ่งปี 2562 นำเข้ามาแล้ว 54 ตัน โดยสารทั้ง 2 ชนิด ได้จำหน่ายต่อให้กับร้านค้า และบางส่วนอยู่ในมือเกษตรกรแล้วจึงไม่มีสต๊อคตกค้างที่บริษัททั้งนี้ทีมงานของรัฐมนตรีช่วยเกษตรฯ ได้ขอเอกสารการนำเข้าและปริมาณของสารเคมีอันตรายทั้งสองชนิดเพื่อนำกลับไปตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร หรือไม่ เบื้องต้นพบว่าตัวเลขไม่ตรงกัน

"มนัญญา" บุกดูขั้นตอนตรวจสอบสารเคมีนำเข้า หวั่น 3 สารร้ายเล็ดลอด

นอกจากนี้ นางสาวมนัญญา ถือโอกาสตรวจสอบสารกำจัดแมลงและศัตรูพืช ไดคลอร์วอส และควินคอลแรก ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนำเข้าจากประเทศจีน บรรจุอยู่ในถังพลาสติก 200 ลิตร รวมทั้งหมด 32,000 ลิตร ซึ่งทีมงานของรัฐมนตรีช่วยเกษตรฯ ได้มีการเก็บตัวอย่างของสารไปตรวจสอบว่าตรงตามที่แจ้งนำเข้าหรือไม่นางมนัญญา ให้สัมภาษณ์อีกครั้ง(ตอนท้าย) โดยยอมรับว่า แค่อำนาจของรัฐมนตรีช่วย ไม่สามารถที่จะแบน 3 สารเคมีอันตรายได้ทันที แต่ต้องอาศัยทุกภาคส่วนช่วยกัน ซึ่งการแบนจะส่งผลกระทบกับผู้นำเข้าและผู้เกี่ยวข้อง หลังจากนี้จะมีการยกระดับโรงงานที่นำเข้าให้มีมาตรฐานสากล รัดกุมมากกว่านี้ และจากการตรวจสอบโรงงาน ก็พบว่ามีสารเคมีที่สามารถทดแทน 3 สารเคมีอันตรายได้

"มนัญญา" บุกดูขั้นตอนตรวจสอบสารเคมีนำเข้า หวั่น 3 สารร้ายเล็ดลอด

สำหรับตัวเลขของบริษัทที่นำเข้าสารเคมี กับข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร ที่ไม่ตรงกัน ก็ต้องไปดูอีกครั้งว่าเพราะอะไรทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า เรื่องสารเคมี ต้องมีพระราชบัญญัติควบคุม การนำเข้าใดๆต้องมีมาตรฐานกว่านี้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ จึงอยากให้การตรวจสอบทุกครั้ง มีการเก็บตัวอย่างทุกตัวด้านผู้จัดการโรงงาน ที่ถูกสุ่มตรวจวันนี้ ยืนยันว่า บริษัทนำเข้าสารเคมีถูกต้องตามหมาย ที่ผ่านมามีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาสุ่มตรวจเป็นระยะ และไม่เคยถูกคาดโทษ หรือถูกร้องเรียน โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ทำสวนยางพารา มันสำปะหลัง และลำไย ในพื้นที่ภาคตะวันตกและภาคใต้

logoline