svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

(สกู๊ป) ความเปลี่ยนแปลงของเด็ก กลุ่มชาติพันธุ์

22 กันยายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง หรือ ชนชาวเขา ในประเทศไทยมีอยู่หลายกลุ่ม กำลังเผลิญกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้กลืนอัตลักษณ์ดั้งเดิมโดยเฉพาะเด็กๆ พวกเขาต้องปรับตัวอย่างไร ไปติดตามจากรายงาน คุณวชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย

ห้องเรียนวิชาภาษาไทย ของเด็กชั้นประถมในโรงเรียนบ้านพนาสวรรค์ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย การเรียนการสอนมีความแตกต่างออกไปเมื่อเทียบกับโรงเรียนในเมือง เพราะว่าเด็กๆเป็นกลุ่มชาติพันธ์ ที่มีอัตลักษณ์และภาษาเป็นของตัวเอง การสอนภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาของทางราชการ จึงมีข้อท้าทายอยู่มากโดยเฉพาะเรื่องการออกเสียง
ครูแดงซึ่งเคยเป็นครูดอยในพื้นที่สูง มีสอนวิธีการสอนภาษาไทยให้กับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกต้อง เริ่มด้วยการอธิบายด้วยถ้อยคำง่ายๆ และฝึกออกเสียงทีละคำกลุ่มชาติพันธุ์ ในโรงเรียนบ้านพนาสวรรค์ มีทั้งอาข่า ลาหู่ จีนและลีซู เป็นชนกลุ่มชนพื้นเมืองที่อยู่รวมกันอย่างผาสุขมายาวนาน พวกเขามีความพยายามในการรักษาวิธีอัตลักษณ์วัฒนธรรมดั้งเดิมในคงอยู่ ท่ามกลางโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ชุมชนหมู่บ้านชนเผ่า ในดอยแม่สลอง เปิดรับการท่องเที่ยวมากขึ้น และที่มาพร้อมๆกับการท่องเที่ยวคือวัฒนธรรมใหม่ ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงให้เด็กๆ ใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากวิถีของบรรพบุรุษโรงเรียนบ้านรวมใจ โรงเรียนมัธยมขยายโอกาส นอกจากการเต้นรำตามอัตลักษณ์ชนเผ่าแล้ว เรายังไม่เห็นการเล่นดนตรีสากล ตามวัฒนธรรมแบบใหม่ที่ แผ่อิทธิพลเข้ามา
ในมุมหนึ่งการพลวัฒน์ ของการเปลี่ยนแปลงก็นำมาสู่เรื่องดี แต่ที่ต้องแลกกัน คือของดั้งเดิมที่อาจสูญหายไป บนทางสองแพร่ง ระหว่างของเก่ากับของใหม่ การอนุรักษ์เอาไว้ก็ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งไหนทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นมากกว่ากัน
ระพีพัฒน์ พิมพ์แก้ว ถ่ายภาพวชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย เนชั่นทีวี รายงาน

logoline