svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

"เสรีพิศุทธ์" ดีแต่ปาก

21 กันยายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เผลอแป๊บเดียว ครบรอบ 13 ปี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกเวลานั้น ได้นำกำลังยึดอำนาจจากรัฐบาล "นาย ทักษิณ ชินวัตร"

ถอยหลังไปเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2534 พล.อ.สุจินดา คราประยูร ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก นำกำลังยึดอำนาจล้มรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน โดยมี พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ


ทั้งสองการยึดอำนาจ "พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส" เป็นตัวละครที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย โดยเฉพาะปี 2534 "วีรบุรุษนาแก" คุมกองปราบฯ แต่ไม่ลั่นกระสุนปกป้องรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง


ทำไมไม่ยิง รสช.


ในการอภิปรายญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เมื่อ 18 กันยายน 2562 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคเสรีรวมใจไทย ได้อภิปรายก่อนเข้าประเด็นการถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบตามรัฐธรรมนูญว่า

"เสรีพิศุทธ์" ดีแต่ปาก

สมัยชื่อ 'เสรี เตมียาเวส'


"ถ้าวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ในวันที่ท่านประกาศยึดอำนาจ ถ้าผมอยู่ในห้องประชุมด้วย ผมจะยิงท่านทันที เพราะการยึดอำนาจถือเป็นการกบฏ แล้วในวันแถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภา ท่านบอกว่า ถ้ายิงตอนนั้นก็ติดคุก จะติดได้อย่างไร ยิงกบฏไม่ถือว่ามีความผิด"

คำว่า "การยึดอำนาจเป็นกบฏ" นั้น ทำให้คอการเมืองพลิกแฟ้มข่าว จนพบว่า หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์การเมืองเมื่อปี 2534 ในฐานะผู้คุ้มครองนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง

เมื่อกองทัพเข้ายึดอำนาจล้มล้างรัฐบาลชาติชาย "เสรีพิศุทธ์" กลับสั่งลูกน้องถอยทัพกลับกรมกอง


สายยังเติร์ก จปร.7

"เสรีพิศุทธ์" ดีแต่ปาก



ตัวละครที่ดึง "เสรีพิศุทธ์" เข้ามาร่วมขบวนการปกป้องรัฐบาลชาติชาย คือ "พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร" ซึ่งเวลานั้น แกนนำยังเติร์ก จปร.7 สนิทชิดเชื้อกับไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ลูกชาย พล.อ.ชาติชาย




พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร


จากเหตุการณ์ "กบฏ 9 กันยา" ทำให้แกนนำ "ยังเติร์ก" ถูกคำสั่งให้ออกจากราชการและถูกถอดยศจาก "พันเอก" มาเป็น "นาย" หลังจากได้รับนิรโทษกรรมก็เดินทางกลับไทย ซึ่งตรงกับสมัยรัฐบาลชาติชาย และได้รับการคืนยศดังเดิม และปี 2534 ได้รับพระราชทานเลื่อนยศจาก "พันเอก" ให้เป็น "พลตรี" ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ก่อนหน้าจะเกิดรัฐประหาร 2534 สถานการณ์อึมครึมระหว่าง "กองทัพ" กับ "ทีมที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก" ทำให้นายกฯ ชาติชาย เชิญ "พล.ต.มนูญกฤต" มาเป็นที่ปรึกษา

"มนูญกฤต" จึงดึง "เสรีพิศุทธ์" มาเป็นผู้บังคับการกองปราบปราม เพราะได้ชื่อมือปราบตงฉิน และไม่ยอมก้มหัวให้ทหาร จึงเท่ากับว่า กลุ่มบ้านพิษณุโลก ได้นำตำรวจกองปราบฯ มาเป็นกองกำลังปกป้องรัฐบาล

"เสรีพิศุทธ์" ดีแต่ปาก

ภาพประวัติศาสตร์ น้าชาติ บิ๊กจ๊อด และ บิ๊กสุ


ผนึกกำลังกับ "ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง" รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดูแล อสมท และประกาศต่อต้านการปฏิวัติ โดยใช้รถโมบายของ อสมท ไปจอดที่วัดหนองแขม ติดตามความเคลื่อนไหวของฝ่ายทหาร

จุดนี้เองที่ทำให้ "พล.อ.สุจินดา" แกนนำ จปร.5 ไม่พอใจ และหาจังหวะก่อการยึดอำนาจเชื่อ"เหลิม"ไม่เชื่อทหารหลังจาก พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้สั่งทหารไปยึดรถโมบายจากหนองแขม มาจอดไว้ที่สนามเสือป่า อุณหภูมิการเมืองก็ร้อนแรงเป็นลำดับนายกฯ ชาติชาย พยายามหาทางประนีประนอมกับกลุ่มทหาร ที่นำโดย พล.อ.สุจินดา แต่กลุ่มที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก ก็ไม่ยอม และเชื่อว่า "ไม่มีผู้นำทหารคนไหน กล้ามายึดอำนาจในยุคเศรษฐกิจบูม"
ปลายปี 2533 ผู้นำกองทัพยื่นคำขาดให้นายกฯ ชาติชาย ปลด ร.ต.อ.เฉลิมออกจากรัฐมนตรี แต่ฝ่ายการเมืองไม่ถอย จนกระทั่งหลังปีใหม่ 2534 เกิดเหตุระเบิดที่กองปราบฯ ของเสรีพิศุทธ์

ค่ำวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2534 นายทหารระดับผู้บังคับกองพันจํานวนหนึ่งเข้าพบนายกฯ ชาติชาย ขอร้องให้ยุบสภาแล้วจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่ได้รับการปฏิเสธ

"เสรีพิศุทธ์" ดีแต่ปาก

ร.ต.อ.เฉลิม ปี 2534 สายล่อฟ้า
หลังนายทหารกลุ่มนั้นเดินทางกลับ นายกฯ ชาติชาย ได้สั่งผู้บังคับการกองปราบปราม นํากําลังเข้าอารักขารอบบ้านพักในซอยราชครูทันทีเช้าวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 นายกฯ ชาติชาย ถูกจับบนเครื่องบินทหารอากาศ เมื่อจับกุมผู้นําประเทศได้แล้ว กําลังทหารจากหน่วยต่างๆ เคลื่อนเข้ายึดทําเนียบรัฐบาล และสถานที่ราชการสําคัญ"เสรีพิศุทธ์" สั่งถอนกำลังออกจากซอยราชครู และตัวนายตำรวจมือปราบเอง ก็เดินทางเข้าไปรายงานตัวต่อ "บิ๊กจ๊อด" ที่กองบัญชาการ รสช.แต่โดยดี

ไม่มีท่าทีจะสั่งลูกน้องลั่นกระสุนปกป้องประชาธิปไตยแต่อย่างใด

คอลัมน์ 'ท่องยุทธภพ' โดย 'ขุนน้ำหมึก' หนังสือพิมพ์คมชัดลึก 20 ก.ย.62

logoline