svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

แสบทรวง! "ปิยบุตร" กางหนังสือย้อนคำพูด"วิษณุ" ซัดปมถวายสัตย์

18 กันยายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม พิจารณาญัตติขออภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงและเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา152

โดยนายปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ อภิปรายว่า เหตุที่รัฐธรรมนูญให้มีการถวายสัตย์ มีความสำคัญ 3 ประการ
1. เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนเข้ารับหน้าที่ บุคคลที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี เมื่อได้รับการโปรดเกล้าฯ ยังเข้ารับหน้าที่ไม่ได้ จะรับหน้าที่ได้ต้องมีการถวายสัตย์ก่อน มีข้อยกเว้นกรณีเดียวตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน คือมาตรา 24 วรรคสอง ที่ว่า
กรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ซึ่งต้องถวายสัตย์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ไปพรางก่อน ดังนั้นรัฐมนตรีทั้งหลายต้องถวายสัตย์ฯ พูดง่ายๆ หากไม่มีการปฏิญาณก็ไม่มีการเข้ารับหน้าที่ การถวายสัตย์ฯ จึงเป็นแบบพิธีที่สำคัญ เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนรัฐมนตรีจะเริ่มเข้าสู่ตำแหน่ง เป็นเส้นแบ่งเพื่อให้ชัดเจนว่ารัฐมนตรีชุดที่แล้วที่รักษาการจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ ชุดใหม่ที่ถวายสัตย์ฯ จะเข้ารับหน้าที่วันไหน ยังพัวพันไปถึงการแจ้งบัญชีทรัพย์สินก็ดูวันที่ปฏิญาณ
2. การถวายสัตย์ฯคือการยืนยันหลักกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ไม่ว่ารัฐมนตรี องค์กรอื่นๆ จะมีถ้อยคำที่เหมือนๆกันหมด คือคำว่า "ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ" แสดงว่าถ้อยคำนี้เป็นหัวใจของการปฏิญาณ เพื่อยืนยันบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญทั้งหลายจะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เคารพ รักษา ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ที่เป็นกฎหมายสูงสุด3. เป็นการให้คำสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์และต่อประชาชน ครม.ถวายสัตย์ฯ เริ่มเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ 2492 หลังจากนั้นรัฐธรมนูญถาวรแต่ละฉบับเขียนล้อต่อกันมาเรื่อยๆ 2492 ต่อเนื่อง 2511, 2517, 2521, 2534, 2540, 2550 และ 2557 และ 2560

ทั้งหมดนี้เขียนถ้อยคำล้อแบบเดียวกันทั้งหมด แล้วทำไมต้องเขียนถ้อยคำนี้ให้ชัด ทำไมรัฐธรรมนูญไม่เขียนแต่ว่าให้ครม.เข้าถวายสัตย์ฯก่อนปฏิบัติหน้าที่แล้วจบ ทำไมต้องเขียนคำกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ มีที่มาที่ไป 
เอกสารประกอบการร่างรัฐธรรมนูญ 2492 ฉบับแรกที่เขียนเรื่องการถวายสัตย์ มีคนซักถามในที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ กมธ.ยกร่างก็ให้คำตอบไว้อย่างนี้ หลวงประกอบนิติสาร อภิบายที่ต้องเขียนให้ชัดมีเหตุผล 3 ข้อ
1.หากไม่เขียนให้ชัด คำสัตย์ปฏิฐาณจะเปลี่ยนไปตามอารมณ์ของผู้ที่เป็นสมาชิกส่วนมาก จะเกิดความไม่สม่ำเสมอ ไม่เหมือนกัน
2.รัฐธรรมนูญหลายประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขก็บัญญัติถ้อยคำให้ถวายสัตย์ไว้เช่นกัน
3.เพื่อให้ผู้ต้องถวายสัตย์รู้จัวล่วงหน้าว่าตัวเองจะให้คำสัตย์ว่าอะไร และมีปัญญาจะทำตามได้หรือไม่ ถ้ารู้ตัวทำไม่ได้อย่ามาเป็น รัฐมนตรีทุกคนต้องรู้ล่วงหน้าว่าเราจะต้องให้คำสัญญษอะไร ถวายสัตย์ฯอะไร

กมธ.ยกร่างอีกคน พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ เคยเป็นอาจารย์ของประธานสภาฯ และนายวิษณุ เครืองาม ก็ชี้แจงว่าต้องการให้สม่ำเสมอสอดคล้องต้องกัน ไม่ใช่คนนี้พูดอย่างอีกคนพูดอย่าง เดี๋ยวจะเกิดปัญหา จึงเป็นที่มาของการเขียนถ้อยคำรัฐธรรมนูญ ซึ่งหัวใจสำคัญของถ้อยคำที่กำหนดมี 3 ข้อ 1.จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ 2.ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อประโยชน์ประเทศและประชาชน 3.รักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญทุกประการ ทั้ง 3 ข้อนี้ทุกฉบับยืนยันถึงความสำคัญเขียนล้อตามกันหมด
ที่บอกถึงความสำคัญของการปฏิญาณไปเกี่ยวข้องอะไรกับการให้คำสัตย์ สัญญาต่อองค์พระมหากษัตริย์ และประชาชน อยู่ตรงระบบรัฐธรรมนูญไทย รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับส่วนมากเขียนไว้ในมาตรา 3 ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย บางฉบับใช้คำว่ามาจาก และเขียนว่าพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา ครม. และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งเขียนในรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับเพื่อยืนยันว่า
1.ปวงชนชาวไทยคือผู้ทรงอำนาจอธิปไตย เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
2.พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐคือผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทงปวงชนชาวไทย ผ่านรัฐสภา ครม. และศาล ตามรัฐธรรมนูญ

นี่คือศิลปะในการเขียนรัฐธรรมนูญที่แยบคายหลอมลวมผสมผสานเอา 2 หน่วยสำคัญที่สุดคือพระมหากษัตริย์ และประชาชน มาไว้ด้วยกัน โดยให้พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน และประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ที่กำหนดครม.ต้องถวายสัตย์ เพื่อให้คำมั่นสัญญาต่อผู้ทรงพระประมุข และให้คำมั่นสืบทอดไปถึงประชาชน จึงต้องเขียนเรื่องการถวายสัตย์

แสบทรวง! "ปิยบุตร" กางหนังสือย้อนคำพูด"วิษณุ" ซัดปมถวายสัตย์


ที่พูดอาจไม่เชื่อถือจึงขอยกตัวอย่างหนังสือของ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ มาประกอบ ชื่อ หลังม่านการเมือง หน้า 28 ส่วนการถวายสัตย์ฯ เป็นอีกขั้นตอน เป็นเรื่องของการเปล่งวาจากล่าวคำพูดแสดงความตั้งใจ ถ้าว่าตามธรรมชาติเป็นเรื่องที่ออกมายจากใจ ใครจะพูดอะไรก็น่าจะได้
แต่ถ้ายอมให้ทำอย่างนั้นก็จะเป็นเรื่องสับสน บางคนเป้นนักสาบานตัวยงอาจปฏิญาณเคล่วคล่องว่องไว บางคนอาจเหนียมอาย ระมัดระวังปากคำ ด้วยเหตุนี้จึงปล่อยให้ว่าตามหลักธรรมชาติไม่ได้ ต้องเอาหลักกฎหมายมาจับ โดยกำหนดเป็นระเบียบแบบแผนเข้าไว้ ใครจะพูดน้อยหรือยาวกว่านี้ไม่ได้ เว้นแต่ปฏิญารจบแล้วจะขมุบขมิบปากในใจก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ในหน้า 31 การปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ นอกจากมีความหมายเแนการแสดงความจงรักภักดีหรือการเปล่งวาจาแสดงความตั้งใจจะปฏิบัติหน้าที่ให้ดีแล้ว ที่สำคัญคือ ต้องการให้เป็นนิมิตหมายว่ากำลังจะเข้ารับหน้าที่ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถ้าไม่กำหนดเอาการปฏิญาณเป็นนิมิตหมายแล้วยากจะรู้ว่าตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่เก่าผลัดเปลี่ยนไปสู่คนใหม่ตั้งแต่นาทีใด หน้า 324 ท่านก็พูดไว้ทั้งหน้าเช่นกันว่า เกิดผล 2 ประการ ประการแรกคือ เมื่อรัฐมนตรีทุกคนเข้าเฝ้าฯ เพื่อเปล่งถวายสัตย์วาจาแล้วจะทำให้ผู้ร่วมพิธีรู้สึกมีกำลังใจ 2.เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพบกับผู้ทรงเป็นรัฐมนตรี
เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ ถวายสัตย์ฯ 16 ก.ค. ไม่ครบถ้วน ตนก็ให้ความเป็นธรรม ไปย้อนว่าก่อรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 ก็แปลงกายเป็นนายกฯจากการรัฐประหาร บริการต่อมา อยู่รักษาการ จนมาเป็นนายกฯอีกครั้ง ไปดูประยุทธ์ 1 ก่อนกลับมา ท่านมีโอกาสนำรัฐมนตรีถวายสัตย์ 5 ครั้ง ไปดูคลิปที่สำนักข่าวเผยแพร่ทั้ง 5 ครั้ง พล.อ.ประยุทธ์กล่าวนำการถวายสัตย์ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญกำหนด โดย 4 ครั้งแรกกล่าวตามรัฐธรรมนูญ 2557 และครั้งที่ 5 กล่าวตามที่รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนด ในมาตรา 161 ฉบับเดียวกับที่เราใช้อยู่ตอนนี้

จากคลิปทั้ง 5 ครั้ง ตัวพล.อ.ประยุทธ์ อ่านถ้อยคำการถวายสัตย์จากบัตรแข็งที่เสียบในแฟ้มสีน้ำเงิน ที่สำนักงานเลขาฯครม. เตรียมไว้ให้ ซึ่งรู้เรื่องนี้จากหนังสือหลังม่านการเมืองอีกเช่นกัน เขียนว่าโดยหลักสำนักงานเลขาฯครม. จะเตรียมเอกสารเป็นบัตรแข็งเสียงใส่แฟ้ม เพื่อให้นายกฯ ถืออ่าน ย้อนไปดูคลิปบางครั้งรัฐมนตรีที่ยืนอยู่หลังนายกฯ ถือแฟ้มให้แล้วยื่นให้เปิดอ่าน บางครั้งเป็นเลขาฯนายกฯ ก็ยื่นให้เปิดอ่าน
แต่วันที่ 16 ก.ค. 2562 นายกฯ กล่าวถ้อยคำไม่ครบ และการกล่าวไม่ครบนั้นไม่ได้มาจากเอกสารบัตรแข็งที่สำนักงานเลขาฯ เตรียมไว้ แต่พล.อ.ประยุทธ์ หยิบกระดาษแข็งมาจากกระเป๋าเสื้อ แล้วหยิบอ่าน ซึ่งขาดถ้อยคำว่า "ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการไป"ในหนังสือหน้า 50-51 นายวิษณุยังเคยเตือนว่า "ในระหว่างการเปล่งวาจาถวายสัตย์ฯ ช่างภาพโทรทัศน์จะบันทึกภาพอยู่ด้วยทุกระยะ
รัฐมนตรีแต่ละคนจึงควรระมัดระวังโลกยุคเทคโนโลยีสารสนเทศให้มาก เคยมีเขียนจดหมายมาฟ้องผมว่าได้ดูโทรทัศน์ภาคข่าวช่วงการถวายสัตย์ฯ มองเห็นถนัดว่ารัฐมนตรีคนหนึ่งไม่กล่าวอะไรเลย อีกคนทำปากขมุบขมิบไม่ทันเพื่อน แสดงว่ารัฐมนตรีเหล่านั้นยังไม่ได้ถวายสัตย์ฯ จึงไม่อาจเข้ารับหน้าที่ได้ใช่หรือไม่ เรื่องนี้อย่างนี้ต่อไปภายหน้าผมว่ารัฐมนตรีต้องระวังให้มากขึ้น เพราะดีไม่ดีจะกลายเป็นเรื่องต้องเปิดเทปส่งให้ศาลรัฐธรรมนูยวินิจฉัยทีนี้ล่ะจะยุ่งกันใหญ่
จึงไม่แน่ใจว่ารองนายกฯได้สะกิดเตือนนายกฯหรือไม่ว่าควรต้องกล่าวให้ครบ เพราะดีไม่ดีจะกลายเป็นเรื่องต้องเปิดเทปส่งศาลรัฐธรรมนูญ นายวิษณุเขียนอีกว่า ส่วนนายกฯท่านอื่นๆจะใช้วิธีอ่านทีละวรรคตามที่สำนักเลขาฯครม.พิมพ์ลงบัตรแข็ง ซึ่งดูปลอดภัยกว่าการจำ เพราะจะไม่ผิดพลาด ขืนท่องจำผิดๆถูกๆ เกิดคำว่า และ คำว่า หรือ ไปสักตัวก็อาจต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าได้ถวายสัตย์ครบถ้วนหรือยัง

logoline