svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

อีไอซีคาดไทยได้ใช้ระบบ5จีภายใน 2 ปีข้างหน้า

18 กันยายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินราคาค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องจ่ายสำหรับการพัฒนา 5G ชี้ หากต้องจ่ายค่าใบอนุญาตสูงสุดถึง 2 แสนล้านบาท จะทำให้ถึงจุดคุ้มทุนมากกว่า 10 ปี เชื่อไทยได้ใช้เชิงพาณิชย์ 5G ในอีก 2 ปีข้างหน้า หรือปี 2021

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ได้ประเมินราคาค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่(operator) ต้องจ่ายสำหรับการพัฒนา 5G แบ่งออกเป็น3 กรณี ได้แก่ 1.มูลค่าใบอนุญาตเทียบเคียงกับราคาจัดสรรคลื่น 700MHz (มูลค่ารวมทั้งหมด1.1 1.3 แสนล้านบาท) จะส่งผลให้ผู้เริ่มใช้บริการ 5Gหลังจากปีที่ 5 มีจำนวนราว 60% ของจำนวนผู้ใช้งานแบบรายเดือนทั้งหมด 2.มูลค่าใบอนุญาตประเมินจากมูลค่าคลื่นย่านความถี่กลางของประเทศในกลุ่มอาเซียน (3-4หมื่นล้านบาท) ส่งผลให้ผู้เริ่มใช้บริการ 5G  หลังจากปีที่ 5 มีจำนวนราว 70% และ 3.มูลค่าใบอนุญาตประเมินจากมูลค่า 50% ของราคาประมูลคลื่น 1800MHz ในปี2015 ที่มีการแข่งขันสูง (มากกว่า 2 แสนล้านบาท) ส่งผลให้ adoption หลังจากปีที่5 อยู่ที่ราว 50%

                

การกำหนดราคาคลื่นความถี่ที่เหมาะสมจึงเป็นโจทย์สำคัญของกสทช.เพราะจะต้องรักษาสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของรัฐในแง่การจัดเก็บรายได้จากค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่และระดับราคาที่จูงใจในการพัฒนาโครงข่าย5G ของ operator ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารและการส่งผ่านข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็วขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว


กรอบเวลาการจัดสรรคลื่นความถี่,หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขด้านราคา ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องจับตาเนื่องจากมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน 5G ของผู้ให้บริการเครือข่าย เทคโนโลยี 5Gหรือเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายในยุคที่ 5เป็นกระแสที่หลายคนให้ความสนใจด้วยคุณสมบัติที่สูงกว่า 4G ทั้งในด้านความเร็วที่เพิ่มขึ้นกว่า10 เท่าและปริมาณการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า 1,000 เท่าโดยมีความหน่วงของเวลาต่ำมาก ทำให้เทคโนโลยี 5G สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์Internet of Things ได้มากถึง 1ล้านเครื่องต่อตารางกิโลเมตรและสื่อสารกันได้แบบ realtime ดังนั้นการใช้งานเทคโนโลยี5G จึงไม่ได้จำกัดเพียงแค่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างที่ผ่านมาแต่สามารถตอบโจทย์การใช้งานให้กับภาคอุตสาหกรรมนำไปสู่การต่อยอดนวัตกรรมในอนาคต


อีไอซี ประเมินว่า เทคโนโลยี 5Gมีโอกาสเริ่มใช้งานเชิงพาณิชย์ในไทยได้ในปี 2021  และจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้รายได้ของ operatorเติบโตต่อเนื่องจากจำนวนผู้ใช้งานระบบรายเดือนและรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย(ARPU) ที่เพิ่มขึ้นโดยในปัจจุบันไทยมีสัดส่วนผู้ใช้งานระบบรายเดือน (Postpaid) ต่อจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมดที่ราว25% ถือเป็นระดับที่ต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วค่อนข้างมาก (สหรัฐฯ ~ 80%,เกาหลีใต้ ~ 100%) ซึ่ง ARPU ของระบบรายเดือนในปี2018 สูงกว่าระบบเติมเงิน (Prepaid) ถึงราว 3.5 เท่าดังนั้นการโยกย้ายระบบของผู้ใช้บริการจากแบบเติมเงินเป็นรายเดือนจะช่วยให้รายได้ของผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นโดยอีไอซีประเมินว่า การเริ่มใช้เทคโนโลยี 5G จะเป็นตัวกระตุ้นการเติบโตของปริมาณการใช้งานข้อมูลจากคุณสมบัติที่สูงกว่า4G ทั้งด้านความเร็วและปริมาณการรับส่งข้อมูล เช่นการใช้งานวีดีโอออนไลน์ (online streaming) และการใช้งานเทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงอย่างVirtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR) ซึ่งทำให้แพ็กเกจค่าบริการในระบบรายเดือนมีความคุ้มค่ามากกว่าระบบเติมเงินและนำไปสู่การโยกย้ายระบบของผู้ใช้งานแบบเติมเงินมาเป็นแบบรายเดือน


อย่างไรก็ตาม คาดว่ายอดผู้ย้ายระบบจะเติบโตเพิ่มขึ้นราว10%-30% จากค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง (2014-2018) ที่ประมาณ 2.2 ล้านเลขหมายต่อปีนอกจากจำนวนผู้ใช้บริการระบบรายเดือนที่เพิ่มขึ้นแล้ว ARPU เฉลี่ยของอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มเติบโตเร่งตัวขึ้นจากการให้บริการระบบ5G เช่นเดียวกัน จากผลสำรวจของ Ericsson และKGI research พบว่าผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทยมีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการเพิ่มขึ้นราว135 175 บาทต่อเดือนสำหรับการใช้งานเทคโนโลยี 5Gซึ่งภายใต้สมมติฐานข้างต้นจะส่งผลให้ ARPU เฉลี่ยของอุตสาหกรรมเติบโตเฉลี่ยต่อปีราว4%-7% ในช่วง 5 ปีแรกหลังเริ่มให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์(2021-2025)


อย่างไรก็ดี ต้นทุนของ operatorมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นจากการลงทุนโครงข่ายเพิ่มเติมโดยอีไอซีคาดว่าการลงทุนรวมของ operator 3 รายหลักจะอยู่ในกรอบ 2.83.8แสนล้านบาทใน 3 ปีแรกของการเริ่มใช้ 5G โดย 3GPP ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ออกมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้กำหนดรูปแบบของการพัฒนาระบบ5G ไว้ 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ Non-Standalone5G (NSA 5G) ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบ 5G บนโครงข่าย4G ที่มีอยู่แล้ว และ Standalone 5G(SA 5G) ที่เป็นการพัฒนาบนโครงข่ายโทรคมนาคมที่เป็นของ5G อย่างสมบูรณ์และคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุน (Capex)มากกว่าแบบ NSA อย่างมีนัยสำคัญจากการลงทุนในสถานีฐานและระบบรับ-ส่งสัญญาณเพิ่มเติม


นอกจากนี้ ในระยะแรกของการให้บริการเชิงพาณิชย์คาดว่า operator จะให้บริการ 5G แบบNSA เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนการขยายโครงข่ายก่อนที่จะเริ่มพัฒนาSA 5G ในระยะต่อมา ส่งผลให้งบลงทุนโครงข่าย 5Gมีมูลค่าใกล้เคียงหรือสูงกว่าการลงทุนในโครงข่าย 4G ไม่มากซึ่งสอดคล้องกับประมาณการเบื้องต้นของ GSMA ที่คาดว่ามูลค่าการลงทุนในเทคโนโลยี5G จะสูงกว่า 4G เล็กน้อยและแผนการลงทุน ของ operator ในเกาหลีใต้ที่เริ่มใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์ในช่วงต้นปี2019 ที่ผ่านมา ซึ่งงบลงทุนรวมของ operator 3รายหลัก (SK, KT, LG U+) ในปี 2019 มีมูลค่าใกล้เคียงกับปี 2012ที่เป็นช่วงเริ่มใช้งาน 4G ในประเทศเกาหลีใต้ภายใต้สมมติฐานข้างต้น คาดว่า Capex (ไม่รวมค่าใบอนุญาตคลื่น) ของ 3operator หลักของไทย (AIS, TRUE, DTAC) จะมีมูลค่ารวมกันราว2.83.8 แสนล้านบาท ในช่วง 3ปีแรกของการเริ่มให้บริการ 5G เชิงพานิชย์


ต้นทุนอีกส่วนคือค่าใบอนุญาตคลื่นที่คาดว่าจะมีการประมูล/จัดสรรอีกอย่างน้อย2 ครั้งระหว่างปี 2020-2021 โดยในช่วงกลางปี 2019 ที่ผ่านมา กสทช.ได้จัดสรรคลื่นความถี่ 700MHz ซึ่งเป็นย่านความถี่แรกที่กำหนดไว้สำหรับพัฒนาเทคโนโลยี5G ให้กับ operator ทั้ง3 ราย โดยกำหนดมูลค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ละ 17,584 ล้านบาท และเมื่อเดือนสิงหาคมกสทช.ได้เปิดเผยว่าจะจัดการประมูล/จัดสรรคลื่นความถี่ในย่านความถี่กลางและย่านความถี่สูงอีก2 แพ็กเกจ โดยแพ็กเกจแรก ประกอบด้วย คลื่นความถี่ 700MHz, 2600MHzและ 26GHz และ แพ็กเกจที่สอง ประกอบด้วย คลื่นความถี่1800MHz และ 3500MHz ทั้งนี้อีไอซีคาดการณ์ปริมาณความต้องการคลื่นโดยอ้างอิงจากrecommendation ของ Huawei และกรณีศึกษาจากการประมูลคลื่น5G ในประเทศเกาหลีใต้ พบว่า operator แต่ละรายมีความต้องการbandwidth ของคลื่นย่านความถี่กลาง (1-6 GHz) อีกรายละประมาณ80-100 MHz (two way) และคลื่นย่านความถี่สูง (> 6GHz) อีกรายละ 600-800 MHz (two way)


ต้นทุนค่าใบอนุญาตที่ต้องการเพิ่มขึ้นนี้ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาระบบ5G โดยหากค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่มีราคาสูงจนเกินไปจะเป็นปัจจัยกดดันงบลงทุนสำหรับขยายโครงข่าย5G ของ operator นอกจากนี้operator อาจตัดสินใจผลักภาระต้นทุนให้กับผู้ใช้บริการโดยการตั้งราคาค่าบริการ 5G ในราคาสูงในทางกลับกันต้นทุนค่าใบอนุญาตที่ต่ำจะช่วยให้ operator สามารถลงทุนขยายโครงข่ายได้ตามแผนที่วางเอาไว้และผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงบริการ 5G ได้ในราคาที่เหมาะสมดังนั้นการเคาะราคาคลื่นความถี่สำหรับเทคโนโลยี 5G ของไทยจึงถือเป็นโจทย์สำคัญสำหรับกสทช.และผลักดันให้เกิดการแข่งขันเชิงคุณภาพการให้บริการซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ใช้บริการและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว


จากข้อมูลดังกล่าวอีไอซีได้ประเมินมูลค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ที่เป็นไปได้ ซึ่งส่งผลต่อระยะเวลาคุ้มทุนในการลงทุน 5G ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทั้ง3 รายหลัก (AIS, TRUE, DTAC) โดยแบ่งเป็น 3 กรณี ได้แก่ 1.กรณีฐาน2.กรณีได้ค่าใบอนุญาตมาในราคาต่ำ และ 3.กรณีได้ค่าใบอนุญาตมาในราคาสูงซึ่งแต่ละกรณีมีรายละเอียดและสมมติฐานดังต่อไปนี้


กรณีที่ 1 (กรณีฐาน)ต้นทุนค่าใบอนุญาตของทั้ง 3 รายรวมกันอยู่ในกรอบ 1.11.3แสนล้านบาท จะส่งผลให้จุดคุ้มทุน อยู่ที่ราว 8-9 ปี ต้นทุนค่าคลื่นความถี่ในกรณีนี้ประเมินโดยเทียบเคียงจากมูลค่าการจัดสรรคลื่นความถี่700MHz ที่ กสทช. ได้จัดสรรให้กับ operator ทั้ง3 รายในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ขณะที่จำนวนผู้เริ่มใช้บริการ 5G (adoptionrate) คาดการณ์โดยอ้างอิงจากเป้าหมาย ของ operator3 รายหลักในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมี adoption rate เฉลี่ยในปีแรกที่7% ของจำนวนผู้ใช้งานในระบบ Postpaid ทั้งหมดและปีถัดจากนั้นที่ประมาณ 15%ต่อปี จากสมมติฐานดังกล่าวจะส่งผลให้จุดคุ้มทุน ของ operator อยู่ที่ราว8-9 ปี สอดคล้องกับผลศึกษาของ Telecoms Intelligence ที่สำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการโทรคมนาคมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกว่า500 รายทั่วโลก โดยกว่า 55% ของกลุ่มตัวอย่างคาดว่าระยะเวลาคุ้มทุนของการลงทุน 5Gจะอยู่ที่ราว 6-10 ปี


กรณีที่ 2.ต้นทุนค่าใบอนุญาตของทั้ง 3รายรวมกันอยู่ในกรอบ 3-4 หมื่นล้านบาท จะส่งผลให้จุดคุ้มทุนอยู่ที่ประมาณ 7 ปีโดยต้นทุนค่าใบอนุญาตของกรณีนี้ประเมินจากต้นทุนค่าคลื่นย่านความถี่กลางของประเทศในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย (2100MHz) และอินโดนีเซีย (2300MHz) ซึ่งมีต้นทุนใบอนุญาตที่ค่อนข้างต่ำส่งผลให้ operatorสามารถเพิ่มเม็ดเงินลงทุนในส่วนของการลงทุนขยายโครงข่ายและการตลาดได้มากขึ้นในช่วงแรกของการเริ่มให้บริการ5G และนำไปสู่ adoption rate ที่เติบโตได้ดีกว่ากรณีที่1 ทั้งนี้ระยะเวลาคุ้มทุน ที่ประมาณ 7 ปีถือเป็นระยะเวลาที่สอดคล้องกับวัฏจักรการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโดยในอดีต การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีจาก 3G มา 4G และ4G มา 5G กินเวลาประมาณ 5-7 ปี


กรณีที่ 3.หากเกิดการแข่งขันประมูลคลื่นความถี่ จะทำให้ต้นทุนใบอนุญาตของทั้ง 3รายรวมกันพุ่งสูงกว่า 2 แสนล้านบาท ส่งผลให้จุดคุ้มทุนใช้เวลามากกว่า 10 ปี  โดยหาก กสทช. กลับไปใช้วิธีประมูลคลื่นความถี่และoperator มีการแข่งขันเพื่อแย่งชิงคลื่นบางช่วงอาจส่งผลให้ราคาประมูลคลื่นพุ่งสูงกว่าราคาตั้งประมูลเป็นอย่างมาก อีไอซีได้ประเมินราคาค่าคลื่นความถี่ดังกล่าวจากมูลค่า 50%  ของราคาการประมูลคลื่น 1800MHz ในปี2015 ที่มีการแข่งขันสูงเนื่องจากมีจำนวนผู้เข้าประมูลถึง 4 รายและ กสทช.แบ่งคลื่นไว้สำหรับประมูลเพียง 2 slot

logoline