svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

อุตฯ ตั้งเป้าดัน "เมดอินไทยแลนด์" เทียบชั้น "เมดอินเจแปน"

12 กันยายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สมาคมการจัดการญี่ปุ่นฯ ดันสุดยอดเอ็กซ์โป MRA 2019 ครั้งแรกในไทย นำเตรียมนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี อาทิ เซ็นเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ IoT ฯลฯ ยกระดับโรงงานในไทย

สมาคมการบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น หรือ JMA ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงคมนาคม เตรียมจัดงาน "Maintenance and Resilience Asia 2019" ภายใต้แนวคิด Smart Manufacturing & Smart Infrastructure โดยมุ่งหวังยกระดับภาคการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานไทยให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่าญี่ปุ่น พร้อมเผยเรื่องท้าทายในภาคอุตสากรรมและภาคคมนาคมที่ไทยต้องปรับตัวและให้ความสำคัญเพื่อก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ 

เช่น การพัฒนาศักยภาพแรงงาน การส่งเสริมการตลาดควบคู่การผลิต การมีแผนงานและระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยง ส่วนในภาคคมนาคม เช่น การยกระดับความปลอดภัย การนำระบบเทคโนโลยีและดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ การพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคมนาคม โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการยกระดับคุณภาพและภาพลักษณ์ภาคการผลิตให้เทียบประเทศญี่ปุ่นประเทศชั้นนำด้านการผลิตของโลก 

อุตฯ ตั้งเป้าดัน "เมดอินไทยแลนด์" เทียบชั้น "เมดอินเจแปน"

นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า แนวทางการดำเนินงานด้านหนึ่งที่กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือการส่งเสริมภาคการผลิตไปสู่ 4.0 ซึ่งมุ่งผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 

โดยแนวทางดังกล่าวนอกจากจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมแล้ว ยังเป็นกลไกที่มีส่วนในการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเท่าเทียมกับประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ และสำหรับปัจจัยสำคัญที่ภาคการผลิตต้องให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจในปีถัดไปนั้นประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพแรงงาน เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา  การส่งเสริมการตลาดควบคู่การผลิต  การมีแผนงานและระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยง  การคิดค้น และนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการผลิต  การติดตามสถานการณ์การค้าและอุตสาหกรรมในระดับมหภาค  

อุตฯ ตั้งเป้าดัน "เมดอินไทยแลนด์" เทียบชั้น "เมดอินเจแปน"


ด้าน นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช นักวิชาการขนส่งคุณวุฒิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในส่วนของการคมนาคมในปีถัดไป จะเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในฐานะการเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีศักยภาพและความแข็งแกร่งที่มากขึ้น สามารถเชื่อมโยงทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะในการเชื่อมต่อระบบขนส่งกับสิ่งอำนวยความสะดวก การแข่งขันด้านโลจิสติกส์ การเดินทางและการยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตให้ดีขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ตั้งแต่ในระดับภูมิภาค ส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยความท้าทายสำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจในปีถัดไปมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและแข่งขันในภาพรวมได้แก่ 

อุตฯ ตั้งเป้าดัน "เมดอินไทยแลนด์" เทียบชั้น "เมดอินเจแปน"


การยกระดับความปลอดภัย ประสิทธิภาพของการเดินทางและการคมนาคมขนส่งด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี รวมถึงหลักการทางวิศวกรรม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและการบำรุงรักษาที่ในภาพรวมมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรม รวมถึงต้องขับเคลื่อนระบบคมนาคมขนส่งให้สอดรับกับนโยบายการขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้ของรัฐบาล นอกจากนี้ยังจะได้เห็นเทคโนโลยีที่ทำให้การก่อสร้างระบบคมนาคมมีความรวดเร็วขึ้นด้วยการใช้ AI ทดแทนกิจกรรมที่แรงงานมนุษย์ไม่สามารถกระทำได้ และลดขั้นตอนต่างๆได้อีกด้วย  

การนำระบบเทคโนโลยีและดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อให้คนเมือง ระดับหัวเมือง และส่วนอื่นๆ เช่นนักท่องเที่ยว ได้รับข้อมูลข่าวสารสำหรับการเดินทางที่เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยังจะต้องมีการแบ่งปันข้อมูล (บิ๊กดาต้า) เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน การสร้างผลประโยชน์ร่วมกันในรูปแบบเศรษฐกิจแบ่งปันหรือ Sharing Economy และยกระดับให้การเดินทางมีความสมบูณณ์แบบมากขึ้น

ระบบขนส่งที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเป็นสิ่งที่หลายๆประเทศทั่วโลกกำลังดำเนินนโยบายดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการใช้รถยนต์ไฟฟ้า การขนส่งระบบราง การใช้พลังงานสะอาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเติบโตที่ยั่งยืน

อุตฯ ตั้งเป้าดัน "เมดอินไทยแลนด์" เทียบชั้น "เมดอินเจแปน"


การมีระบบคมนาคมที่มีความทนทานต่อสภาวะต่างๆ เช่น อุทกภัย แผ่นดินไหว หรือภัยธรรมชาติต่างๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีแนวโน้มเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมักก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง โดยในการพัฒนาด้านดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการสร้างความต่อเนื่องให้กับกิจกรรมการเดินทาง การขนส่ง และที่เกี่ยวข้องในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยถือว่ายังมีจุดด้อยในเรื่องนี้

การพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคมนาคม โดยเฉพาะที่มีทักษะด้านวิศวกรรม และทักษะด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี เพื่อลดการพึ่งพาบุคลากรกลุ่มดังกล่าวจากต่างประเทศ โดยภาครัฐและภาคเอกชนยังจำเป็นจะต้องมีการเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณสมบัติในด้านคมนาคมขั้นสูง เช่น วิศวกรระบบราง ช่างเทคนิค วิศวกรด้านระบบอุโมงค์ใต้ดิน วิศวกรด้านการวิเคราะห์ระบบ ฯลฯ  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมไทยให้ดียิ่งขึ้น

การมีระบบขนส่งขนาดรองที่เหมาะสมกับเมือง เช่น รถบัส โมโนเรล ยานพาหนะไฟฟ้าขนาดเล็กที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน สถานศึกษา สถานพยาบาล และบริการสาธารณะอื่นๆ เพื่อให้การใช้ชีวิตง่ายยิ่งขึ้น

อุตฯ ตั้งเป้าดัน "เมดอินไทยแลนด์" เทียบชั้น "เมดอินเจแปน"


ขณะที่ นายอัตสึชิ เทเรดะ ผู้จัดการอาวุโส สมาคมการบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น หรือ JMA กล่าวว่า  ประเทศญี่ปุ่นเล็งเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในด้านอุตสาหกรรม เป็นพันธมิตรและฐานการผลิตให้กับโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเป็นเป็นจำนวนมาก  รวมทั้งยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเภทต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ในฐานะพันธมิตรทางการค้าและเศรษฐกิจ จึงได้มีแนวคิดที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคส่วนต่างๆของประเทศไทยให้มีความทันสมัยและทัดเทียมกับญี่ปุ่น จึงได้ร่วมกับบริษัท เอ็กซโปซิส จำกัด กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย ญี่ปุ่น และภาคเอกชนในการจัดกิจกรรม "Maintenance and Resilience Asia 2019" ภายใต้แนวคิด Smart Manufacturing & Smart Infrastructure ระหว่างวันที่ 2-4 ตุลาคม 2562 ที่ไบเทค บางนา เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยและญี่ปุ่นให้เติบโตไปพร้อมๆกับญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม JMA เชื่อมั่นว่ากิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคคมนาคม และในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานของไทยแข็งแกร่งได้เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้นำของโลกในเรื่องความสมบูรณ์แบบของระบบขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค โดยยังจะช่วยให้รู้วิธีการจัดการกับการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ระบบขนส่ง ถนน อุโมงค์ สะพาน รถไฟ ฯลฯ ที่ญี่ปุ่นมีการใช้งานมากว่า 50 ปีแต่ยังมีความคงทนและฟื้นฟูได้รวดเร็ว และสามารถรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ประสบครั้งแล้วครั้งเล่า นอกจากนี้ ยังจะมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี อาทิ เซ็นเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ IoT ฯลฯ มาร่วมจัดแสดงและให้ความรู้ การประชุมสัมมนา ตลอด 3 วันการจัดงาน และจะมีการบรรยายและการนำเสนอกรณีศึกษาต่างๆ ที่จะช่วยผลักดันให้ทุกภาคส่วนปรับตัวให้เข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพื่อให้ทันต่อการแข่งขันในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เอ็กซโปซิส จำกัด โทรศัพท์ 02 5590856  อีเมล์ [email protected]

logoline