svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

รฟท.เปิดซีพีบริหารแอร์พอร์ตลิงค์หลังเซ็นสัญญาไฮสปีด

12 กันยายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ระบุ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้หารือถึงรายละเอียดแนบท้ายสัญญาการร่วมทุน ซึ่งมี 2 ประเด็น คือ 1. แผนส่งมอบพื้นที่ และ 2. การพิจารณาการทำงานของเอกชนที่จะตรวจวัดเป็น KPI

สำหรับแผนส่งมอบพื้นที่ ขณะนี้คณะกรรมการคัดเลือกฯ ถือว่าเห็นชอบตามข้อเสนอที่คณะทำงาน รฟท. และตัวแทนกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพีเสนอมา โดยจะกำหนดวันลงนามในสัญญาร่วมกันก่อน หลังจากนั้นทั้ง 2 ฝ่ายจะยังทำงานร่วมกันเพื่อเคลียร์พื้นที่เตรียมงานก่อสร้างหลังจากลงนามแล้ว 1 ปี รฟท. จะออกหนังสือเริ่มงานก่อสร้าง Notice to Proceed หรือ NTP เพื่อให้เอกชนเริ่มงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปีตามสัญญา แต่หากครบกำหนด 1 ปีแล้ว การเคลียร์พื้นที่ก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ สามารถเจรจาเพื่อขยายกรอบเวลาได้
หลังจากนี้จะไม่มีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ แล้ว เพียงแต่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ยังมองว่าต้องมีการแก้ไขข้อความบางส่วนเพื่อให้สัญญาสมบูรณ์มากขึ้น แต่ไม่ใช่ประเด็นใหญ่ รวมถึงการกำหนดว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบงานต่างๆ เท่านั้น
ภายหลังการหารือครั้งนี้ รฟท.จะทำหนังสือสรุปผลการหารือ และส่งรายละเอียดของร่างสัญญาไปให้กลุ่มซีพีตรวจสอบข้อความ และกำหนดให้ตอบกลับภายใน 7 วันหลังจากวันที่ออกหนังสืออย่างเป็นทางการ โดยกลุ่มซีพีจะต้องระบุว่าเห็นชอบในรายละเอียดและกำหนดวันลงนามสัญญาที่พร้อมมากที่สุด ซึ่งกลุ่มซีพีต้องใช้เวลาในการแจ้งพันธมิตรรับทราบและสรุปวันลงนามร่วมกัน
รฟท.ยังคงกำหนดกรอบลงนามสัญญาตามเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ คือ ภายในเดือน กันยายนนี้ หากได้รับหนังสือตอบกลับจากกลุ่มซีพี และสามารถกำหนดวันลงนามได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องรายงานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รวมทั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือบอร์ดอีอีซีที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ก่อนจะเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
ส่วนการเคลียร์พื้นที่สาธารณูปโภค ขณะนี้ได้ข้อสรุปแล้วว่าหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคจะต้องเป็นผู้รื้อย้าย และรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ขณะที่การรื้อย้ายและทุบเสาโฮปเวลล์ การเคลียร์พื้นที่ทับซ้อนสายสีแดง กลุ่มซีพีจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เนื่องจาก รฟท.ได้คำนวณวงเงินค่าใช้จ่ายส่วนดังกล่าวรวมไปยังกรอบวงเงินที่รัฐบาลจะต้องอุดหนุนราว 1.19 แสนล้านบาท
สำหรับสิ่งที่เอกชนจะได้รับภายหลังลงนามสัญญา มีข้อกำหนดไว้ว่าเอกชนจะได้รับสิทธิ์บริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ โดยจะต้องจ่ายค่าขอใช้สิทธิ์ในการบริหารภายใน 2 ปี หลังลงนามสัญญา

logoline