svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

ความเร็วบนถนนหลวง120 กม./ชม.เหมาะสมหรือไม่

10 กันยายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ดับเครื่องชน" วันนี้ขอปรึกษาเรื่องกำหนดความเร็วของยวดยานบนถนนหลวงว่า 120 กม./ชม. ตามแนวคิดของรัฐมนตรีคมนาคม ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ ?

กรณีนี้เราต้องเอาความจริงมาว่ากันเพราะมีทั้งคนชอบเห็นด้วยและผู้คัดค้าน โดยต่างอ้างเรื่องความปลอดภัยเป็นประการสำคัญที่สุด

ว่ากันถึงผู้คัดค้านว่า ทางหลวงของไทยนั้นแม้มีช่องจราจรใหญ่ 4 เลน หรือมากกว่าแต่มีสี่แยก, ทางร่วมมากทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยเฉพาะมอเตอร์ไซค์, สัตว์ต่างๆ เป็นต้นเหตุ

ส่วนผู้สนับสนุนก็บอกว่าวิ่งตามกฎหมายกำหนดเดิมก็ดีอยู่แล้ว เพราะวิ่งเร็วจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และช่วยเรื่องการประหยัดน้ำมันด้วย

จึงขอให้พิจารณาไตร่ตรองให้ดีเพราะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมโดยเฉพาะบนมอเตอร์เวย์หรือทางพิเศษ ซึ่งรถวิ่งช้าวิ่งเลนขวา หรือกีดขวางการจราจรก็เป็นอันตราย

นอกจากนี้ มีการแสวงหาผลประโยชน์จากรถวิ่งเร็วเกินอัตรากำหนด ซึ่งพบเห็นอยู่บ่อยๆ และรถในปัจจุบันมีสมรรถนะสูงวิ่งได้เร็วกว่าแต่ก่อน

จึงขอให้พิจารณาเรื่องความเหมาะสม โดยคิดเรื่อง ความปลอดภัย ต้องมาก่อน ส่วนเรื่องการจราจรคล่องตัวเพราะรถวิ่งเร็วขึ้นนั้นเป็นเรื่องรอง !


อ๊อด เทอร์โบ

น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง


ปัญหาเรื่องน้ำถึง รัฐบาล


ผมขอส่งผ่านต่อไปยังนายกรัฐมนตรีลุงตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้หันมามองปัญหาเรื่องน้ำและขออนุญาตบอกว่านี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัว เพราะเบื่อเต็มทีที่เมืองไทยของเราเดี๋ยวฝนแล้ง ภัยแล้ง และทันใดฝนตกน้ำท่วมฉับพลันแล้วดินโคลนถล่มตามลงมา

ที่เป็นปัญหาอย่างนี้เพราะเราบริหารจัดการน้ำไม่เป็น คือไม่เป็นระบบ ปล่อยให้น้ำธรรมชาติไหลลงทะเลไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งต่อมาจะเป็นปัญหาภัยแล้งซ้ำซากอยู่อย่างนี้แหละ

จึงของฟันธงตรงประเด็นไปเลยเหมือนเพลงลูกทุ่งร้องไว้ว่า น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง แม้จริงอยู่อาจจะเกิดความเสียหายบ้าง แต่หากเราเตรียมรับมือแล้วก็จะผ่อนหนักเป็นเบาบรรเทาไปได้มาก

ผมขอมองเป็นประเด็นนี้ขึ้นมาและอยากให้เรารู้จักบริหารจัดการน้ำให้เป็นไม่งั้นเดี๋ยวก็ต้องตามแก้ปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้งตลอดไป


พรเทพ (เมืองปทุม)


ช่วยกทม.ให้ปลอดภัยทุกระบบ


จดหมายจากคุณ สามารถ กทม.ต่อไปนี้น่าสนใจมากครับ โดยนำข้อมูลมาแจ้งให้ทราบว่า เมืองใหม่ๆ ของโลกมีความปลอดภัยขนาดไหน ?

ขอเป็นสื่อกลางมาแจ้งให้ทราบเพื่อพวกเราจะทำ กรุงเทพมหานคร ของเราดีขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่


อ๊อด เทอร์โบ


กทม.ติดอันดับ 47


เมืองปลอดภัยที่สุดในโลก


ผมมีข้อมูลที่น่าสนใจจากการสำรวจเมืองปลอดภัยที่สุดในโลกของปีนี้จาก 60 เมืองใหญ่ทั่วโลก ปรากฏว่าโตเกียวเมืองหลวงของญี่ปุ่นอันดับ 1 ได้แชมป์ ส่วนกทม.ของเราอันดับ 47 คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งทำให้เราต้องหันมาปรับปรุงตัวไม่ใช่ปล่อยเลยตามเลย เลยเขียนจดหมายนี้มาแจ้งพวกเราได้ทราบ

เราต้องดูว่าเขาวัดผลจากอะไรบ้าง ซึ่งมาจาก 4 กลุ่มหัวข้อใหญ่ ได้แก่ ความปลอดภัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความปลอดภัยส่วนบุคคล ความปลอดภัยทางสุขภาพ และความปลอดภัยทางดิจิทัล

ขยายความได้ว่า ความปลอดภัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน - หมายถึงการรักษาความปลอดภัยทางคมนาคม ความเป็นมิตรต่อคนเดินเท้า และแผนการรับมือกับหายนภัยต่างๆ ซึ่งวัดดัชนีได้จากสถิติ เช่น จำนวนผู้เสียชีวิตจากภัยธรรมชาติ จำนวนผู้เสียชีวิตบนท้องถนน สัดส่วนผู้อยู่อาศัยในสลัม

ความปลอดภัยส่วนบุคคล - การรักษาความปลอดภัยจากเหตุอาชญากรรม การกำกับควบคุมอาวุธปืน ไปจนถึงความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเมือง ฯลฯ ซึ่งวัดดัชนีเหล่านี้จากความชุกของอาชญากรรมทั้งแบบรุนแรงและไม่รุนแรง อัตราการใช้ยาเสพติด ความถี่ของการโจมตีโดยผู้ก่อการร้าย

ความปลอดภัยทางสุขภาพ - เป็นการวัดทั้งนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและการเข้าถึงระบบสาธารณสุขของประชาชน โดยวัดจากอัตราจำนวนแพทย์และจำนวนเตียงในโรงพยาบาลต่อประชากร 1,000 คน การเข้าถึงอาหารที่สะอาดปลอดภัย ค่าฝุ่น PM 2.5 จำนวนการเสียชีวิตของทารก

ความปลอดภัยทางดิจิทัล - เป็นการวัดผลด้านนโยบายรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ มีการจัดทีมกำกับดูแลด้านนี้โดยเฉพาะหรือไม่ และความตระหนักรู้ด้านอาชญากรรมไซเบอร์ของประชาชนมีมากน้อยแค่ไหน

จดหมายของผมอาจจะข้อมูลด้านวิชาการเยอะไปหน่อย แต่อยากให้กทม.ปลอดภัยมากกว่านี้


สามารถ (กทม.)

logoline