svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ศาลปกครองแถลงข่าว "การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง"

09 กันยายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศาลปกครองเพิ่มทางเลือกใหม่ในการอำนวยความยุติธรรมโดยเปิดให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองได้ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของการระงับข้อพิพาทที่เรียบง่าย ได้ผลเร็วและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างค่กูรณีทุกฝ่าย

นายปิยะ ปะตังทา ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการแถลงข่าว "การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง : ทางเลือกใหม่ในการระงับคดีข้อพิพาท" 
ซึ่งเป็นการนำระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาใช้ในคดีปกครองในศาลปกครองทุกศาลทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 และระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ.2562 
โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้คู่กรณีที่พิพาทกันมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการระงับข้อพิพาท และเป็นการส่งเสริมความร่วมมือของคู่กรณีในการยุติข้อพิพาทระหว่างกัน ซึ่งจะเป็นผลดีที่ ทำให้คู่กรณีสามารถยุติข้อพิพาทที่มีต่อกันได้ด้วยความเรียบง่าย รวดเร็ว และถูกต้องตามกฎหมาย

ศาลปกครองแถลงข่าว "การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง"

นายบุญอนันต์ วรรณพานิชย์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ในฐานะประธานกรรมการยกร่างอนุบัญญัติและเตรียมความพร้อมศาลปกครองในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ชี้แจงว่า หลักการสำคัญของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองนั้น ตั้งอยู่บนหลักการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมาย หลักความสมัครใจของคู่กรณี หลักความไว้วางใจของคู่กรณี และหลักความมีประสิทธิภาพของการพิจารณาคดีและการบริหารจัดการคดี นายบุญอนันต์ วรรณพานิชย์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ยังเปิดเผยอีกว่า ตามหลักการของกฎหมาย กำหนดให้ระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง เป็นการดำเนินการโดยศาลชั้นเดียว และให้คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจของ ศาลชั้นใดเป็นคดีที่อาจมีการไกล่เกลี่ยได้ในศาลชั้นนั้น ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดี 3 ประเภท บวก 1 3 ประเภท คือ คดีละเลยต่อหน้าที่หรือล่าช้า คดีละเมิดหรือความรับผิดชอบอย่างอื่น และคดีสัญญาทางปกครอง ส่วนบวกหนึ่ง คือคดีพิพาทอื่น ๆ ส่วนคดีที่ไม่ใช่ไกล่เกลี่ยได้ คือเรื่องฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เรื่องเกี่ยวกับความเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน มีผลกระทบต่อสถานะของบุคคล มีผลกระทบในทางเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ เป็นต้นสำหรับกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เริ่มให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้นับแต่มีการฟ้องคดี จนถึงวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริง และสามารถให้ดำเนินการภายใน 90 วัน ผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอาจเกิดขึ้นได้ 3 ลักษณะ คือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำเร็จและทำให้คดีเสร็จสิ้นไปทั้งหมด ซึ่งหลังจากที่ศาลตรวจดูข้อตกลงและสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วเห็นว่า ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลก็จะมี "คำพิพากษาตามยอม" การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำเร็จและทำให้คดีเสร็จสิ้นไป บางส่วนกรณีนี้ศาลจะจดรายงานแสดงข้อความแห่งข้อตกลงในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้ และพิจารณาประเด็นที่ยังพิพาทกันต่อไปแล้วนำมารวมพิพากษาไปในคราวเดียวกัน หรือ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไม่สำเร็จ ศาลก็จะดำเนินการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไปยังมีการคาดการณ์ว่าหากใช้หลักการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจะทำให้ลดจำนวนคดีที่จะเข้าสู่กระบวนการไต่สวนของศาลปกครองราว 30-40 %

ศาลปกครองแถลงข่าว "การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง"

ศาลปกครองแถลงข่าว "การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง"

logoline