svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

อดีต ผอ.สำนักอุทยานฯ ยัน ปมอมเงินลูกจ้าง "มีมานานแล้ว"

04 กันยายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากกรณีลูกจ้างอุทยานแห่งชาติ แห่งหนึ่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร้องสื่อ ถูกหัวหน้าอุทยานอมเงินค่าจ้างมากว่า 5 ปี คิดเป็นเงินที่ถูกอมไปถึง 8 ล้านกว่าบาท ถูกสอบสวน 3 ครั้งแต่รอด สงสัยอุดนายเอาตัวรอด ขณะที่ลูกจ้างสุดระทมทำงานหนักในป่าเพื่อพิทักษ์ผืนป่าให้ประเทศแต่ไร้การเหลียวแล

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 แหล่งข่าวลูกจ้างในอุทยานแห่งชาติ แห่งหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ร้องเรียนต่อสื่อมวลชนว่า พวกตน 70 คน ซึ่งเป็นลูกจ้างของอุทยานแห่งชาติ ฯ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน แห่งหนึ่ง กำลังประสบกับปัญหาความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส เมื่อถูกหัวหน้าอุทยาน หักเงินค่าจ้าง จากค่าจ้างใน TOR ที่ตกลงกันไว้ เดือนละ 9,000 บาท แต่ได้รับจริงเพียง 6,000 บาท โดยได้มีการให้ลูกจ้างไปทำบัตรเอทีเอ็ม และถูกผู้บังคับบัญชาริบเก็บไว้ เมื่อถึงคราวเงินเดือนออก ทางหัวหน้าอุทยาน ก็จะให้ลูกจ้างอีกคนซึ่งเป็นผู้หญิง ชื่อ ง. ตำแหน่งงานจ้างคือ คนงาน แต่ปัจจุบันทำหน้าที่งานบริหาร เป็นคนไปกดเงินของลูกจ้างทั้ง 70 ราย และมาจ่ายให้รายละ 6,000 บาท ที่เหลืออีก 2,000 บาทจะถูกหักให้กับ หน.อุทยาน ซึ่งตั้งแต่ หน.อุทยานคนดังกล่าว มาปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 5 ปี เงินที่ถูกหักไป รายละ 2,000 บาท จำนวน 70 ราย คูณด้วย 60 เดือน เป็นเงิน 8,400,000 บาท ( แปดล้านสี่แสนบาท ) ซึ่งเรื่องดังกล่าว ได้มีการร้องเรียนไปยังผู้บังคับบัญชาระดับกรม และได้มีการการส่งเจ้าหน้าที่มาสอบสวน ถึง3 ครั้ง แต่ไม่เห็นว่า ผู้กระทำผิดจะได้รับการลงโทษแต่อย่างใด ทำให้ลูกจ้างทุกคนเสียขวัญ และไม่มีกำลังใจในการปฏิบัติงานเพื่อรักษาป่าแต่อย่างใดนอกเหนือการหักเงินเดือนค่าจ้างแล้ว ยังมีการหักเงินค่าจ้างดูแลรักษาป่า หรือสมาร์ทพาโท ซึ่ง จะมีลูกจ้างเข้าทำงานจำนวน 25 คน ซึ่งจะได้ค่าตอบแทนเดือนละ 2,800 บาท แต่ข้อเท็จจริง ลูกจ้างจะได้รับเงินเพียงเดือนละ 1,000 บาท โดยจะมีการหักค่าอาหารไป 800 บาท และ อีก 1,000 บาทถูก หน.อุทยานยึดเป็นของส่วนตัวโดยเงินค่าจ้างสมาร์ทพาโท ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2561 จนถึงเดือน กันยายน 2562 นับเป็นเวลา 10 เดือน หน.อุทยานคนดังกล่าว จะได้เงินอีกจำนวน 250,000 บาท ( สองแสนห้าหมื่นบาท )ซึ่งจากการร้องเรียนในครั้งนี้ อยากจะให้สื่อมวลชน ได้ตีแผ่เรื่องราวข้อเท็จจริง ให้ไปถึงผู้หลักผู้ใหญ่ในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอธิบดีกรมอุทยาน ให้ลงมาดูแลและให้การช่วยเหลือ ลูกจ้างทุกหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ รวมไปถึงลูกจ้างของกรมอุทยาน ทั่วประเทศด้วยเพื่อจะได้ตัดวงจรอุบาทว์ การทุจริตคอรัปชั่นให้หมดไป

อดีต ผอ.สำนักอุทยานฯ ยัน ปมอมเงินลูกจ้าง "มีมานานแล้ว"

ล่าสุด เนชั่น ทีวี ก็ได้รับการยืนยันข้อมูลนี้จากอดีตผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติว่า เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นมานานแล้ว พร้อมกับแฉกลโกงของหัวหน้าอุทยานฯแห่งชาติที่คอยเก็บเปอร์เซ็นต์เหล่านี้ เพื่อส่งต่อไปให้ผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานกลางกรณีที่มีลูกจ้างในอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งของ จ.แม่ฮ่องสอน ได้ร้องเรียนต่อสื่อมวลชนว่าพวกตน 70 คน ซึ่งเป็นลูกจ้างของอุทยานแห่งชาติฯในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร้องเรียนปัญหาความเดือดร้อนจากการถูกหัวหน้าอุทยานฯแห่งหนึ่ง ทำการหักเงินค่าจ้าง จากค่าจ้างเดือนละ 9,000 บาท แต่ได้รับจริงเพียง 6,000 บาท โดยได้มีการให้ลูกจ้างไปทำบัตรเอทีเอ็ม และถูกผู้บังคับบัญชาอมเงินเก็บไว้
กรณีการอมเงินลูกจ้างของอุทยานฯ จำนวน 70 ราย เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 5 ปี ซึ่งจำนวนเงินที่ถูกหักไปต่อราย จำนวน 3,000 บาท อยู่ที่ประมาณ 12,600,000 บาท ซึ่งเรื่องนี้มีการร้องเรียนไปยังผู้บังคับบัญชาระดับกรมถึง 3 ครั้ง และมีการส่งเจ้าหน้าที่มาสอบสวนอีกด้วย แต่กลับหาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้
เนชั่น ทีวี ได้โทรศัพท์ไปพูดคุยเรื่องนี้กับคุณสมัคร ดอนนาปี อดีตผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช บอกว่า ปัญหาการทุจริตอมเงินลูกจ้างมีมานานมากแล้ว เพราะหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งจะต้องหาเปอร์เซ็นต์ส่งเข้าไปให้กับผู้บริหารตามกรม / กอง ต่างๆ ส่วนกรณีอมเงินลูกจ้างก็มีหลายแบบ / ลูกจ้างบางคนก็โดนหัวหน้ากล่อมจนยอม เพราะกลัวจะถูกให้ออกจากงานก็มี
ส่วนรูปแบบก็จะหักเงินกันดื้อๆเลย ไม่มีเอกสารรับรองอะไร เพราะหากมีเอกสารว่า หักเป็นค่าอะไรก็อาจจะทำให้ถูกสืบมาถึงตัวได้ แถมยังมีลูกจ้างหลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองได้เงินค่าจ้างเท่าไหร่กันแน่ แต่ก็ยอมทำเพราะกลัวไม่มีงาน แต่บางคนก็รู้ทั้งรู้ แต่ก็สมยอมก็มี

อดีต ผอ.สำนักอุทยานฯ ยัน ปมอมเงินลูกจ้าง "มีมานานแล้ว"


บางกรณีก็อ้างว่าหักจากวันที่ลูกจ้างหยุดงาน เพราะลูกจ้างเหล่านี้ ถูกจ้างในระบบเหมารายวัน รายเดือน ซึ่งตนขอถามว่า ใครจะมาทำงานได้ทุกวัน / หรือบางแห่งก็ใช้วิธีอ้างว่า งบประมาณจ้างเจ้าหน้าที่ไม่พอ เช่น อุทยานฯบางแห่งมีงบประมาณในการจ้างลูกจ้างแค่ 9 คน แต่ไปรับ 12 คน ก็ทำให้ไม่พอ หัวหน้าก็จะไปขอถัวเฉลี่ยเงินค่าจ้างจากลูกจ้างที่ยอมและแอบอมเงินไป
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ ยืนยันว่า เคยได้ยินเรื่องการอมเงินลูกจ้างเช่นกัน เป็นการหักเปอร์เซ็นต์เงินค่าจ้าง แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน ซึ่งอาจจะเป็นในลักษณะการหักเป็นค่าอาหาร หรือค่าอื่นๆ ซึ่งต้องไปตรวจสอบเอกสารอย่างละเอียดว่ามีการหักเงินค่าอะไรบ้าง

logoline