svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดลิสต์ 5 คดี "ทักษิณ" โดนไต่สวนลับหลัง จ่อคุกเพิ่ม!

30 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศาลฎีกานักการเมืองยกฟ้อง "ทักษิณ" คดีร่วมทุจริตปล่อยกู้ ธ.กรุงไทย ให้เครือกฤษดามหานคร นเพียงคำกล่าวอ้างที่คิดไปเองว่า บิ๊กบอส คือ ทักษิณ หรือ คุณหญิงพจมาน ทำให้ไม่มีน้ำหนัก

ที่ศาลฎีกาเเผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง ถ.เเจ้งวัฒนะ "องค์คณะคดีปล่อยกู้ ธ.กรุงไทยฯ" นัดพิจารณาคดีครั้งเเรกหมายเลขดำอม.3/2555 ( หมายเลขแดงอม.55/2558) ในคดีที่ อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายทักษิณ ชินวัตร อายุ 68 ปี อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 เป็นจำเลยที่ 1 ร่วมกับนายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือของบริษัทกฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) กับพวกรวม 27 ราย
ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริตฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 , ความผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 , ความผิด พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 , ความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 และ ความผิด พ.ร.บ.บริษัท มหาชน จำกัด พ.ศ.2535 กรณีร่วมอนุมัติสินเชื่อของ ธ.กรุงไทยฯ ให้กับกลุ่มกฤษดามหานครไปโดยทุจริต ทำให้ธนาคารเสียหายโดยการพิจารณาคดีครั้งแรกนี้ เกิดขึ้นภายหลัง นายเข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุด ยื่นคำร้องต่อศาล เมื่อเดือน พ.ย.60 ขอให้นำคดีนี้ที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วเคราวเฉพาะในส่วนของ นายทักษิณ จำเลยที่ 1 ไว้ก่อนตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค.55 ซึ่งถูกออกหมายจับติดตามตัวมาดำเนินคดีด้วยนั้น ขึ้นมาพิจารณาใหม่โดยไม่มีตัวจำเลยตามกฎหมายใหม่ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (วิ อม.) พ.ศ.2560 มาตรา 28โดยคดีนี้ ได้กล่าวหา "นายทักษิณ" จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวก กระทำความผิด กรณีอดีตผู้บริหารธนาคารอนุมัติสินเชื่อจำนวนมากโดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของรัฐ โดยข้อเท็จจริงพบว่า ผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้สินเชื่อกลุ่ม บมจ.กฤษดามหานคร ที่มีสถานะอยู่ในกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคาร เนื่องจาก ผอ.ฝ่ายกลั่นกรองสินเชื่อธุรกิจนครหลวง เคยจัดอันดับความเสี่ยงของกลุ่มกฤษดามหานครในอันดับ 5 คือไม่สามารถอนุมัติสินเชื่อให้ได้ต่อมามีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีเงื่อนไขระบุว่า บมจ.กฤษดามหานครฯ ไม่สามารถที่จะขอสินเชื่อได้อีก เนื่องจากมียอดขาดทุนสะสมสูง คือมียอดสะสมสูงมาก แต่ได้มีการอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทในกลุ่มกฤษดามหานคร 3 กรณี คือ 1. การอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทอาร์เค โปรเฟสชั่นนัล จำกัด จำนวนเงิน 500 ล้านบาท 2. การอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทโกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด วงเงิน 9,900 ล้านบาท (วงเงินไฟแนนซ์ 8,000 ล้านบาท วงเงินซื้อที่ดินเพิ่ม 500 ล้านบาท และวงเงินพัฒนาโครงการ1,400 ล้านบาท)3.การอนุมัติขายหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพของ บมจ.กฤษดามหานคร ให้กับบริษัท แกรนด์ คอมพิวเตอร์คอมมูนิเคชั่น จำกัด จำนวนเงิน 1,185,735,380 บาท ถือว่าผู้เกี่ยวข้องมีพฤติการณ์ ร่วมกันหรือสนับสนุนการกระทำความผิดกรณีธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ เป็นการกระทำโดยทุจริต เพื่อฟื้นฟูกิจการของ บมจ.กฤษดามหานคร ประโยชน์ส่วนตนกับพวกโดยวันนี้ อัยการโจทก์ เดินทางมาศาล ร่วมกระบวนพิจารณา ส่วน "นายทักษิณ" จำเลย หรือทนายความ ไม่มีใครมาศาลเมื่อถึงเวลา "องค์คณะผู้พิพากษา" พิจารณาเเล้วเห็นว่า "นายทักษิณ" จำเลยที่ 1 ทราบนัดโดยชอบเเล้วไม่เดินทางมาศาลโดยไม่เเจ้งเหตุขัดข้องหรือแจ้งขอเลื่อน เชื่อว่ามีพฤติการณ์หลบหนี จึงให้ออกหมายจับ วิ อม.มาตรา 28 เพื่อให้นำตัวมาดำเนินคดีพร้อมให้โจทก์ดำเนินการตามหมายจับ และให้รายงานผลการจับกุมให้ศาลรับทราบทุกเดือนโดยกระบวนการพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลในการพิจารณาครั้งเเรก ให้ถือว่าจำเลยให้การปฏิเสธ ตาม วิ อม. มาตรา 33 จึงให้นัดตรวจพยานหลักฐาน ในวันที่ 26 ก.ย.นี้ เวลา 13.30 น. โดยให้อัยการโจทก์ ยื่นบัญชีพยานหลักฐานก่อนวันนัดตรวจพยานหลักฐานก่อนวันนัด 14 วัน เเละให้ส่งหมายเเจ้งให้จำเลยทราบพร้อมปิดหมายผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกรณีของ "นายทักษิณ" นั้น ปัจจุบันอัยการสูงสุด และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาฯ ขอให้นำคดีที่เคยจำหน่ายไว้ชั่วคราว รวม 4 สำนวน ขึ้นมาพิจารณาใหม่ ประกอบด้วย 1.คดีแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ - ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท เมื่อปี 25512.คดียื่นฟ้องนายทักษิณ ร่วมกับอดีตคณะผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ปล่อยกู้ให้กลุ่มกฤษดามหานคร โดยทุจริตฯ3.คดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงค์) ให้กับรัฐบาลพม่าวงเงิน 4,000 ล้านบาท4.คดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 และ 3 ตัว (หวยบนดิน)โดยคดีที่ ป.ป.ช.ยื่นขอให้ยำคดีขึ้นมาพิจารณาใหม่นั้น ศาลฎีกาฯ นัดพิจารณาคดีครั้งแรกวันที่ 6 ก.ค.นี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ "นายทักษิณ" นั้น ปัจจุบัน ยังมีหมายจับติดตัว 1 ใบ ให้ติดตามตัวมารับโทษ คดีซื้อขายที่ดินรัชดาฯ ที่ศาลฎีกาฯ ตัดสินให้จำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วตั้งแต่ปี 2552
ล่าสุด(30 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 15.00น. ศาลฎีกานักการเมือง ยกฟ้อง ทักษิณ คดีร่วมทุจริตปล่อยกู้ ธ.กรุงไทย ให้เครือกฤษดามหานคร เพราะพยานฝ่ายโจทก์ ที่เบิกความกล่าวอ้างถึง บิ๊กบอส เป็นเพียงคำกล่าวอ้างที่คิดไปเองว่า บิ๊กบอส คือ ทักษิณ หรือ คุณหญิงพจมาน ทำให้ไม่มีน้ำหนัก ให้รับฟังได้ว่า ทักษิณ สั่งการให้ดำเนินการอนุมัติสินเชื่อ พร้อมสั่งให้เพิกถอนหมายจับเฉพาะคดีนี้

เปิดลิสต์ 5 คดี "ทักษิณ" โดนไต่สวนลับหลัง จ่อคุกเพิ่ม!


สำหรับคดีปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทย ให้กับบริษัทในเครือกฤษดามหานครโดยทุจริตนี้ เป็นอีกคดีหนึ่งที่ นายทักษิณ ชินวัตร ถูกไต่สวนลับหลัง อันเป็นผลจากกฎหมายที่แก้ไขใหม่
โดยปกติการพิจารณาคดีอาญา โดยเฉพาะในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องกระทำต่อหน้าจำเลย แต่มเอปี 60 มีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้คดีที่ศาลประทับรับฟ้องแล้ว แต่จำเลยหลบหนี ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีได้โดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย ซึ่งหมายถึงการไต่สวนลับหลังนั่นเองนอกจากนั้นการดำเนินคดีอาญาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ให้อายุความสะดุดหยุดลง หมายถึงไม่มีการนับอายุความ / และถ้าจำเลยหลบหนี ก็ไม่ให้นับระยะเวลาที่หลบหนีเป็นสว่นหนึ่งของอายุความด้วย / รวมถึงถ้าศาลมีคำพิพากษาแล้ว นจำเลยหลบหนี ก็ไม่ให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยอายุความมาใช้บังคับ
สรุปก็คือ หากมีการฟ้องคดี ไม่ว่าจำเลยจะหลบหนีไปตอนไหน ศาลก็มีอำนาจพิจารณาคดี และไม่นับอายุความตลอดไป จนกว่าจะกลับมารับโทษตามคำพิพากษา / ซึ่งหากพิจารณาจากคดีที่อดีตนายกฯทักษิณโดน / ก็ต้องบอกว่าถ้าไม่อยากติดคุก และไม่อยากต่อสู้คดี ก็ไม่มีโอกาสกลับเมืองไทยอีกเลย ยกเว้นจะมีการแก้หรือยกเลิกกฎหมายเหล่านี้ทั้งหมด และให้มีผลย้อนหลังด้วยจากผลของกฎหมายใหม่นี้ ทำให้นายทักษิณถูกนำคดีเก่าๆ ที่เคยหลบหนี และถูก "จำหน่ายออกจากสารบบชั่วคราว" มาไต่สวนลับหลัง รวมๆ แล้ว 5 คดี ที่ผ่านมามีคำพิพากษาไปแล้ว 3 คดี โดนโทษจำคุก 2 คดี ได้แก่ คดีทุจริตโครงการหวยบนดิน ศาลสั่งจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา / คดีให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซิมแบงก์ ปล่อยเงินกู้ให้กับประเทศเมียนมา 4 พันล้านบาท เพื่อให้นำมาซื้อสินค้าจากบริษัทในเครือชินคอร์ป ศาลสั่งจำคุก 3 ปี ไม่รอลงอาญา / ส่วนคดีสั่งกระทรวงการคลังบริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ศาลยกฟ้อง
และยังเหลืออีก 2 คดี คือ ธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้สินเชื่อให้กับกลุ่มบริษัทในเครือกฤษดามหานครโดยทุจริต ซึ่งนัดพิพากษาในวันนี้ และคดีแปลงสัมปทานดาวเทียมเอื้อกลุ่มชินคอร์ป ยังไม่กำหนดวันพิพากษา

logoline