svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

(สกู๊ป) ไขปม!! กะเหรี่ยงทำไร่หมุนเวียน "รักษาหรือทำลายป่า?"

26 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การทำไรหมุนเวียนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ยังเป็นที่ถกเถียงว่าทำได้หรือไม่ ด้านเจ้าหน้าที่อุทยานอ้างว่าไม่สามารถทำได้ตามอำเภอใจเนื่องจาก ที่พ.ร.บ.อุทยานฯ ขณะที่กลุ่มกะเหรี่ยง อ้างมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 ให้ฟื้นฟูวิถีชีวิต วัฒนธรรม ครอบคลุ่มไปถึงการทำไร่หมุนเวียนด้วย ไปติดตามจากรายงาน คุณวชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย

นาขั้นบันไดเขียวขจี ลดหลั่นไปตามเชิงเขา อยู่ถัดออกไปจากตัวหมู่บ้านปาเกอญอไม่ไกล ดูเผินๆ เหมือนเป็นวิถีชีวิตของพวกเขา แต่จริงๆ ชาวปาเกอญอ บ้านแม่หมี ต.หัวเมือง อ.เมืองปาน จ.ลำปาง เพิ่งได้รับอิทธิพลมาจากการทำนาในพื้นที่ภาคกลาง ปาเกอญอในอดีตไม่รู้จักการทำนาแบบขั้นบันไดในลักษณะที่เห็นนี้

ปาเกอญอจะทำนาแบบข้าวไร่บนเนินเขาที่ลาดชัน ด้วยเหตุผลทางสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ขาวขึ้นงามไม่ต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมี

การปลูก 'ข้าวไร่' เป็นวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงที่มีมาเนิ่นนานแล้ว แต่กำลังถูกสั่นคลอนหลังจากที่ถูกมองว่าเป็นการทำลายป่าเนื่องจากต้องถากถางพื้นที่ ก่อนหน้านั้นราชการใช้คำว่า 'ไร่เลื่อนลอย' คือทำไร่ไปเรื่อยๆ ถางป่าไปเรื่อยๆ

แต่ความจริงแล้วชาวกะเหรี่ยงชี้แจงว่าใช้พื้นที่ในการทำไร่เพียง 3-4 ไร่ โดยหมุนเวียนเปลี่ยนไปไม่ซ้ำที่เดิมก่อนหมุนกลับมาทับที่เดิมอีกครั้งในอีก 5 ปีหรือ 7 ปีข้างหน้า ที่ทำเช่นนี้เพื่อให้ดินเกิดการฟื้นฟู

การอธิบายการทำไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงต้องบอกเล่าซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้เวลาจะผ่านมาเนิ่นนานแต่ก็ไม่มีหน่วยราชการไหนรับฟังว่าเป็นแนวทางในการทำตามวิถีวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยง ที่ไม่ได้ทำลายป่า

จนถึงวันนี้ การทำไร่หมุนเวียนของกลุ่มชาติพันธ์ยังถูกมองว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เป็นการบุกรุกแผ้วถางป่าไม้ ผิดพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติฯ

แต่เมื่อพูดถึงข้อกฎหมาย วัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงก็ถูกคุ้มครองโดยมติครม. 3 สิงหาคม 2553 ที่คุ้มครองและให้ฟื้นฟูวิถีชีวิตของชาวของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงการทำไร่หมุนเวียนด้วย

มติ ครม.นี้ถูกเสนอโดยกระทรวงวัฒนธรรม แต่ปัจจุบันเป็นกลับกลายเป็นมติครม.ที่ไม่ถูกนำไปใช้เลย แม้แต่ครั้งเดียว กฎหมายอุทยานฯ ยังไงก็เหนือกว่า
จนถึงวันนี้กรมอุทยานฯ ในฐานะเจ้าของพื้นที่ที่มีข้อพิพาทกับกลุ่มชาติพันธ์ที่อยู่มาก่อนการประกาศเขตป่ามากที่สุด ยังคงเดินหน้าที่จะใช้พระราชบัญญัติอุทยานฉบับล่าสุด ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ โดยการรังวัดรับรองสิทธิที่ทำกิน จะใช้ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงร่องรอยการทำกินอ้างอิงปี 2545 - 2557 เป็นหลัก

นั่นหมายความว่าพื้นที่ทำกินที่ถางใหม่หลังปี 2557 แม้จะเป็นไร่หมุนเวียนทับที่เดิม ก็มีความเป็นไปได้ว่าเจ้าหน้าที่จะทวงคืนผืนป่า

logoline