svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

โพลเผย ปชช.ส่วนใหญ่ไม่ปลื้ม! "บิ๊กป้อม" นั่งปธ.คณะกรรมการยุทธศาสตร์ พปชร.

25 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดูเหมือนผู้ใหญ่ในพรรคพลังประชารัฐ จะมีเรื่องปวดหัวให้ได้แก้กันไม่หยุดหย่อน ล่าสุดก็คือกรณีของพรรคเล็กที่ออกอาการยึกยัก จะถอนตัวไปเป็นฝ่ายค้านอิสระ หรืออะไรต่างๆ

เอาเข้าจริงคงมีไม่กี่เรื่องที่ทำให้พรรคเล็กพรรคน้อยเหล่านี้ข่มขู่ ต่อรอง ฟ้องสังคมว่าจะตีจาก
1.อาจจะผิดหวังพลาดตำแหน่งสำคัญๆ เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการ ประธานกรรมาธิการ หรือตำแหน่งข้าราชการการเมือง และไม่รู้ว่า วันที่ อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค ไปตกปากรับคำพวกเขาไว้แล้วให้ไม่ได้ตามนั้นหรือไม่
ถ้าจำกันได้ช่วงฟอร์มรัฐบาล พรรคชาติพัฒนาที่มี 3 ที่นั่ง กลับได้ 1 เก้าอี้รัฐมนตรี ก็ไม่ใช่เหตุผลอื่นใด นั่นเพราะ "อุตตม" ไปสัญญาไว้ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง แถมตอนนั้นก็เกือบทำตามที่สัญญาไว้ไม่ได้เสียด้วย และกรณีล่าสุดอย่างพรรคเล็กที่ตั้งท่าแยกตัว ก็อาจจะมาจากเหตุผลที่ว่าสัญญาไม่เป็นสัญญาหรือไม่
2.เหตุผลที่พรรคเล็กงอแง อาจไม่มีอะไรมากไปกว่าการไม่ได้รับการเหลียวแล ท่อน้ำเลี้ยงขาดๆ หายๆ ไม่ไหลต่อเนื่องก็เลยต้องแอ็คชั่นให้เห็นความสำคัญกันบ้างแน่นอนว่าการหายไปของเสียงพรรคเล็ก ย่อมมีผลไม่มากก็น้อยในเกมสภา โดยเฉพาะพรรคแกนนำรัฐบาล หรือบางทีพรรคเล็กพวกนี้ที่ตั้งใจแยกวงแน่แล้ว จะผันตัวไปเป็นฟรีแลนซ์ ยกมือหนุนอะไรหรือไม่หนุนอะไรเป็นจ๊อบๆ ไป
ในส่วนความเคลื่อนไหวการปรับโครงสร้างพรรคพลังประชารัฐ ที่มีข่าวว่าจะประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเปลี่ยนตัวหัวหน้าและเลขาธิการพรรคนั้น โดยคนที่จะมาแทน "อุตตม" และ "สนธิรัตน์" ก็คือ "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" และ "ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ" แม้ขณะนี้ยังไม่มีกำหนดวันเวลาอะไรที่แน่นอนว่าจะเป็นเมื่อไร แต่ได้ยินแว่วๆ มาจากคนในพรรคว่า มีผู้ใหญ่บางคนพยายามดึงเช็ง ทอดเวลาให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ส่วนจะเพื่ออะไรคงพอมองกันออกบิ๊กอีกหนึ่งคนที่กำลังจะประเดิมมีตำแหน่งในพลังประชารัฐ คือ "ประวิตร วงษ์สุวรรณ" ก็ได้ยินมาอีกหูว่าที่ประชุม ส.ส.ของพรรคที่มีขึ้นทุกวันอังคารนั้น จะเสนอชื่อ "บิ๊กป้อม" ในตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรค
ซึ่งมีแววว่าจะเป็นในวันที่ 13 ส.ค.นี้ งานนี้บรรดาแกนนำพรรคสายตรงคงหน้าชื่นตาบานกันได้เต็มที่ เมื่อคนเป็นนายลงมากุมบังเหียนในพรรคโดยตรง
-----
ล่าสุด 25 ส.ค. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง "การเข้าพรรคและย้ายขั้วทางการเมือง" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21 22 สิงหาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,259 หน่วยตัวอย่าง
เกี่ยวกับการเข้าพรรคและย้ายขั้วทางการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" วิธีสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการเข้าดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.69 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ยังไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารงาน ควรวางมือปล่อยให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารแทน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ชอบเป็นการส่วนตัว รองลงมา ร้อยละ 31.61 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เหมาะสมกับ ตำเเหน่งเเล้ว เป็นผู้อาวุโสที่พร้อมด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิ และอยู่กับนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) มานานและทำงานดี ร้อยละ 19.46 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ และร้อยละ 0.24 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่มีรายละเอียดหรือข้อมูลเรื่องนี้ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี หาก ส.ส. พรรคเศรษฐกิจใหม่ 4 คน จะย้ายขั้วไปสนับสนุนรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.80 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ไม่ยึดอุดมการณ์ของพรรค ไม่มีจุดยืน และผิดสัจจะจากที่หาเสียงไว้ รองลงมา ร้อยละ 35.19 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เป็นประโยชน์ของประชาชน ทำให้เกิดความปรองดอง และมีจำนวน ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้น เพื่อเสถียรภาพในการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 14.61 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ และร้อยละ 0.40 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่มีรายละเอียดหรือข้อมูลเรื่องนี้ ไม่ได้ติดตามข่าวนี้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ ย้ายขั้วไปเป็นฝ่ายค้านอิสระ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.52 ระบุว่า เห็นด้วย จะได้มี ส.ส. ฝ่ายค้านเพิ่มขึ้น มีจุดยืนเป็นของตนเอง และเพื่อเข้ามาตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 25.10 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ ร้อยละ 23.27 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นนักการเมืองที่ใช้ไม่ได้ ไม่มีคุณธรรม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นใหญ่ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ชอบเป็นการส่วนตัว และร้อยละ 1.11 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่มีรายละเอียดหรือข้อมูลเรื่องนี้ ไม่ได้ติดตามข่าวนี้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี นายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ (ฟิล์ม รัฐภูมิ) อดีตรองโฆษกพรรคพลังท้องถิ่นไท ย้ายขั้วไปเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.44 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ชอบพรรคที่ย้ายไปเป็นการส่วนตัว เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะย้ายพรรคโดยไปอยู่กับพรรคที่มีอุดมการณ์เดียวกัน เป็นเรื่องธรรมดาของนักการเมืองในการย้ายพรรคอยู่แล้ว และเป็นการเพิ่มคนรุ่นใหม่ทางการเมือง รองลงมา ร้อยละ 25.97 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ ร้อยละ 22.95 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ยังไม่เคยมีผลงานทางด้านการเมือง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ชอบพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 0.64 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่มีรายละเอียดหรือข้อมูลเรื่องนี้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ทราบท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี หาก ส.ส. พรรคเพื่อไทยบางคน ย้ายขั้วไปสนับสนุนรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.14 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และที่ได้รับเลือกเป็น ส.ส. ก็เพราะสังกัดพรรคเพื่อไทย จึงไม่ควรย้ายพรรค รองลงมา ร้อยละ 33.91 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ทำให้มีจำนวน ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้น เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะย้ายพรรคไปอยู่กับพรรคที่มีอุดมการณ์เดียวกัน และรัฐบาลจะได้มีเสถียรภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 12.71 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ และร้อยละ 0.24 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจเมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.74 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.49 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.43 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.52 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.69 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.31 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 4.77 มีอายุ 18 25 ปี ร้อยละ 15.96 มีอายุ 26 35 ปี ร้อยละ 20.81 มีอายุ 36 45 ปี ร้อยละ 37.01 มีอายุ 46 59 ปี และร้อยละ 21.45 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.20 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.58 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.19 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.03 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.00 สถานภาพโสด ร้อยละ 73.16 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.89 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.95 ไม่ระบุสถานภาพการสมรสตัวอย่างร้อยละ 32.33 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.67 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.99 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.50 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.08 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.43 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 11.83 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.66 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.88 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.73 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.01 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.39 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 1.83 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.59 ไม่ระบุอาชีพตัวอย่างร้อยละ 16.36 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.51 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 22.88 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 20,000 บาท ร้อยละ 10.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 30,000 บาท ร้อยละ 6.75 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 40,000 บาท ร้อยละ 8.90 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.80 ไม่ระบุรายได้

โพลเผย ปชช.ส่วนใหญ่ไม่ปลื้ม! "บิ๊กป้อม" นั่งปธ.คณะกรรมการยุทธศาสตร์ พปชร.

logoline