svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

นักวิจัย เร่งระดมสมอง หวังทำทะเลไทยไร้ขยะ

18 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปลัดกระทรวงทรัพย์ฯ เผย ประเทศไทยมีขยะพลาสติกมากถึง 2 ล้านตันต่อปี แต่นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้เพียง 5 แสนตัน ซึ่งต้องหาวิธีจัดการให้ขยะกลับมาหมุนเวียนมากกว่านี้ ขณะที่ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ชู 5 ประเด็น แก้ปัญหาขยะพลาสติกตกค้างในทะเล ด้านนักวิจัยรับคำท้า เร่งระดมสมองผู้เชี่ยวชาญจากทุกสาขา หวังทำให้ทะเลไทยไร้ขยะ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดเสวนาเรื่อง "พะยูนมาเรียม" "ทะเลไทย" ต้อง "ไร้ขยะ" โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การผ่าท้องมาเรียมแล้วพบพลาสติก 8 ชิ้น ถือเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เสียชีวิต ก็ต้องหาวิธีแก้ไขเพื่อไม่ให้ มาเรียม ตายเปล่า ทั้งนี้ ขยะที่เกิดขึ้นในไทยมีมากถึง 28 ล้านตันต่อปี ในจำนวนนี้มีขยะพลาสติกถึง 2 ล้านตัน และ 80% ขยะบนฝั่ง ก็ออกสู่ท้องทะเล ซึ่งบางชิ้นก็ไม่ย่อยสลาย และเป็นไมโครพลาสติกด้วย ทางกระทรวงฯ ก็พยายามหาวิธีให้ลดการใช้พลาสติกซึ่งทุกคนต้องช่วยกัน สิ่งไหนไม่จำเป็นไม่ควรใช้ ถ้าใช้ก็ต้องทิ้งให้ถูกที่ และเมื่อรวบรวมขยะพลาสติกได้(สัมฯ เพิ่ม) ดร.วิจารย์ ยังบอกด้วยว่า ทางกระทรวงทรัพย์ฯ มีโรดแมปของการจัดการพลาสติค โดยตนเป็นประธานอนุกรรมการ ดำเนินการ ทำงานร่วมกับ สภาอุตสาหกรรม และสมาคมพลาสติก / ปัจจุบัน มีขยะพลาสติก 2 ล้านตันต่อปี แต่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้เพียง 5 แสนตัน อีก 1.5 แสนตัน ก็ต้องสร้างระบบเพื่อมาตอบโจทย์ว่าจะหมุนเวียนกลับเข้าไปอย่างไร ตอนนี้เราปฏิเสธพลาสติก 100% ไม่ได้ แต่จะเอาระบบมาใช้ให้เกิดหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

นักวิจัย เร่งระดมสมอง หวังทำทะเลไทยไร้ขยะ

หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติกที่ไม่จำเป็นโดยเฉพาะการใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือแบบบางๆ ก็จะไม่ผลิตแล้ว จะผลิตถุงที่หนาขึ้นเพื่อใช้ได้หลายครั้ง และสุดท้ายเวลาใช้เสร็จ หรือหมดแายุการใข้งาน จะเอาพลาสติกไปจัดการอย่างมีระบบ โดยดูว่าโรงไฟฟ้าสามารถใช้ได้หรือไม่ เพราะพลาสติคถือว่าเป็นองค์ประกอบที่มีเชื้อเพลิง สามารถเอากลับมาเป็นวัตถุดิบได้ ก็ประหยัดไปได้ นอกจากนี้ในอนาคต จะมีการกำหนดมาตรฐานของพลาสติกที่มีอยู่ทั้งในดิน น้ำ เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอยู่ระหว่างการทำวิจัย-ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า ขยะในบ้านเรามีถึง 100 ล้านตัน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดย 20% (20-70 ล้านตัน) เป็นพลาสติก ขยะที่ลงสู่ทะเลแล้วใช้เวลาเป็นหลัก 100 ปีกว่าจะย่อยสลาย นี่จึงเป็นปัญหาของทะเลที่สำคัญ ทาง วช. จึงท้าทายนักวิจัยว่า ทำให้ประเทศไทยไม่มีขยะในทะเลได้หรือไม่ ซึ่ง ดร.สัญญา สิริวิทยาปกรณ์ ก็รับคำท้า แล้วตั้งโครงการ "ประเทศไทย ไร้ขยะ" ขึ้นมา โดยมีการระดมนักวิจัยทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์เทค โนโลยีสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการด้านต่างๆ มาร่วมทำงานกัน

นักวิจัย เร่งระดมสมอง หวังทำทะเลไทยไร้ขยะ

ซึ่งก็หวังว่าจะเกิดผลดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ทาง วช. ได้ชูประเด็นการลดปัญหาการตกค้างของขยะพลาสติกในทะเล ผ่านการวิจัยและพัฒนา 5 ข้อหลักคือ ผู้ผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับพลาสติกต้องผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ง่ายต่อการจัดการขยะและนำกลับมาใช้ใหม่ / ชุมชนในพื้นที่ทุกจังหวัดที่ติดทะเลต้องรู้จักวิธีจัดการขยะพลาสติกได้ด้วยตัวเองและเบ็ดเสร็จในพื้นที่ / ต้องมีกระบวนการเก็บและจัดการขยะในทะเลอย่างเป็นระบบทุกพื้นที่ / นำขยะพลาสติกมารีไซเคิล โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ / ลดการตกค้างของไมโครพลาสติกในทะเลและสิ่งมีชีวิต บนฐานการวิจัยที่สามารถเทียบมาตรฐานกับนานาชาติได้-รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา สิริวิทยาปกรณ์ ผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย ทะเลไทยไร้ขยะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่า การรับคำท้านี้ได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยหลายมหาวิทยาลัย ที่เสนอแนวคิดเข้ามา แต่มันจะเกิดผลได้ก็ต้องเอางานวิจัยไปใช้จริง ซึ่งภาครัฐและภาคประชาสังคมจะต้องจริงใจและมีส่วนร่วมด้วย และทีมวิจัยก็ต้องศึกษาหลายๆเรื่อง ทั้ง การผลิตพลาสติกตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ / การลดขยะจากแผ่นดินสู่ทะเล / การเติมสารบางอย่างในไปในพลาสติก / กระบวนการคัดแยก โดยไม่ใช้คน / การเก็บขยะจากทะเล จะใช้นวัตกรรมทางสังคมที่มีอยู่และกิจกรรมในพื้นที่เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชน ทั้งนี้ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้ แสดงความคิดเห็นได้ และสามารถย่อยข้อมูลมาเป็นอินโฟกราฟิค ก็อยากขอให้ช่วยแชร์กันในข้อมูลที่มีประโยชน์

logoline