svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

ดับฝัน "พี่กี้ร์" ดิ้นจี้ถอนฟ้องคดีล้มการประชุมอาเซียนปี 52

15 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นอกจากคดีก่อการร้ายที่แกนนำ นปช. รวมทั้ง "พี่กีร์" อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง ได้เฮ เพราะศาลชั้นต้นยกฟ้องจำเลยทั้งหมดแล้ว ยังมีอีก 1 คดีที่ "พี่กี้ร์" หวังลูกฟลุก เป็นคดีที่ "พี่กี้ร์" ซึ่งตกเป็นจำเลยในคดีบุกล้มการประชุมอาเซียน ที่พัทยา เมื่อปี 52

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม นายอริสมันต์ ได้นำจำเลยคนอื่นๆ ในคดีบุกล้มการประชุมอาเซียน เข้ายื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดให้ถอนฟ้องพวกตน เพราะพยานคนหนึ่งซึ่งเป็นตำรวจ และให้การกล่าวหาพาดพิงพวกตน ถูกศาลตัดสินแล้วว่าเป็นพยานเท็จการยื่นอัยการให้ถอนฟ้องคดีบุกล้มการประชุมอาเซียน สรุปง่ายๆ ได้แบบนี้ นายอริสมันต์และพวกถูกฟ้องเป็นจำเลย ศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ตัดสินว่ามีความผิดไปแล้ว คดีอยู่ระหว่างฎีกา แต่ปรากฏว่าหนึ่งในพรรคพวกของนายอริสมันต์ไปยื่นฟ้องศาลแยกอีกคดีหนึ่งว่า พยานปากสำคัญซึ่งเป็นตำรวจ และให้การพาดพิงถึงพวกตนในคดีบุกล้มการประชุมอาเซียนนั้น เป็นพยานเท็จ ปรักปรำ ไม่มีหลักฐานยืนยันปรากฏว่าคดีใหม่นี้ ศาลพิพากษาว่าตำรวจที่เป็นพยานกระทำผิดจริง โดยเป็นคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วไม่มีการยื่นฎีกา ทำให้คดีถึงที่สุด นายอริสมันต์และพวกสบช่อง จึงไปยื่นฟ้องตำรวจรายนี้เพิ่มเติม แล้วก็มายื่นอัยการให้ถอนฟ้องคดีบุกล้มการประชุมอาเซียน โดยอ้างว่าพยานที่เป็นตำรวจให้การเท็จ พวกตนต้องไม่ได้กระทำผิด ไม่ได้ไปบุกล้มการประชุมอาเซียนกันเลยแม้แต่น้อยนี่คือที่มาที่ไป โดยตำรวจคนนี้มีการระบุชื่อเลยว่า พ.ต.ท.ศราวุฒิ บุญชัย"ทีมข่าวเนชั่น" ตามไปตามตรวจสอบ ปรากฏว่าตำรวจรายนี้ ปัจจุบันเป็นสารวัตรปราบปราม อยู่ที่ สภ.ขลุง จ.จันทบุรี"ทีมข่าวเนชั่น" ได้โทรศัพท์ไปพูดคุยกับตำรวจรายนี้ ก็ยอมรับว่าถูกแนวร่วม นปช.ที่เป็นจำเลยในคดีบุกล้มการประชุมอาเซียนฟ้องร้องจริงในคดีเบิกความเท็จ และศาลก็ตัดสินว่าผิดจริง คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลรอการกำหนดโทษ (หมายถึงผิดจริง แต่ศาลยังปรานีไม่ลงโทษ แต่ถ้าทำผิดซ้ำก็จะกำหนดโทษจำคุก)ตำรวจรายนี้อธิบายว่า คดีมีจำเลยจำนวนมาก และพยานหลักฐานเยอะมาก หลักฐานภาพถ่ายที่จะยืนยันตัวตนของจำเลยบางคนจึงตกหล่น ไม่สามารถนำไปแสดงต่อศาลได้ ซึ่งจริงๆ ก็มีเพียงจำเลยแค่คนเดียวที่ฟ้องตนเท่านั้น ส่วนคนอื่นๆ มีหลักฐานครบหมด ส่วนตัวก็ยอมรับในความผิดพลาดเกี่ยวกับพยานหลักฐานในส่วนนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคดีบุกล้มการประชุมอาเซียนทั้งหมดจะเสียหาย เพราะมีหลักฐานทั้งภาพถ่ายและคลิปวิดีโอยืนยันพฤติกรรมเป็นจำนวนมากยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจและต่อเนื่องกันก็คือ นายอริสมันต์และพวก ไปเรียกร้องให้อัยการถอนฟ้องคดีบุกล้มการประชุมอาเซียน โดยอ้างเหตุพยานที่เป็นตำรวจรายนี้ให้การเท็จ คำถามก็คือคดีอาญาแผ่นดินที่มีความผิดร้ายแรงแบบนี้ ถอนฟ้องได้หรือไม่"ทีมข่าวเนชั่นทีวี" ได้รับคำยืนยันจากแหล่งข่าวที่เป็นอัยการในสำนักงานอัยการสูงสุดว่า โดยปกติแล้วคดีอาญาทั่วไปที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว โจทก์(ผู้ฟ้อง) สามารถถอนฟ้องได้ทุกคดี ทุกชั้่นศาล ก่อนคดีจะถึงที่สุด แต่สำหรับคดีอาญาแผ่นดิน ซึ่งเป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ การถอนฟ้องจะกระทำได้เฉพาะในขั้นตอนก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาเท่านั้น หากศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาไปแล้ว จะถอนฟ้องไม่ได้อีก หากมีการยื่นถอนฟ้อง จะเท่ากับเป็นการถอนอุทธรณ์ หรือถอนฎีกา ทำให้คดีถึงที่สุด แต่ก็ต้องยึดตามคำพิพากษาของศาลล่าง คือ ศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ ที่ได้ตัดสินไปแล้วจากคำอธิบายนี้ เมื่อนำมาเทียบเคียงกับคดีบุกล้มการประชุมอาเซียน ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน และศาลล่าง 2 ศาลมีคำพิพากษาแล้ว การที่นายอริสมันต์และพวกจะให้อัยการถอนฟ้อง ย่อมกระทำไม่ได้ และจะให้ถอนฎีกาก็ทำไม่ได้ เพราะอัยการไม่ได้เป็นฝ่ายฎีกา แต่เป็นฝ่ายนายอริสมันต์เอง ฉะนั้นถ้าฝ่ายนายอริสมันต์ถอนฎีกาจริง ก็จะทำให้คดีถึงที่สุด และพวกของนายอริสมันต์ก็ต้องรับโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนที่อ้างว่ามีพยานบางปากให้การเท็จ ก็ไม่ได้ส่งผลให้คดีบุกล้มประชุมอาเซียนต้องเสียไป ยกเว้นจะมีการไปรื้อคดีขึ้นพิจารณาใหม่ โดยอ้างเหตุพยานเท็จขณะที่นักกฎหมายอีกรายหนึ่ง ให้ข้อมูลว่า แนวทางที่ถูกต้องคือ นายอริสมันต์และพวกต้องยื่นพยานหลักฐานไปในสำนวนที่ยื่นฎีกา เพื่อให้ศาลพิพากษายกฟ้อง โดยยื่นคำร้องว่ามีพยานหลักฐานใหม่ภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาด้าน นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวกับ "เนชั่นทีวี" ว่า ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด การถอนฟ้องสามารถทำได้ 2 กรณี คือ 1.การฟ้องผิดตัว หมายถึงกรณีที่อัยการยื่นฟ้อง นาย ก. แต่ภายหลังมีพยานหลักฐานว่า นาย ก. ไม่ได้เป็นคนทำผิด กับ 2.เป็นอำนาจของอัยการสูงสุดพิจารณาว่าคดีไหนถ้าฟ้องไปแล้วไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ก็อาจขอถอนฟ้องได้ (ตาม พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ มาตรา 21)นอกจากนั้นยังมีหลักเกณฑ์การถอนฟ้องบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35-36 ด้วยว่า คดีความผิดส่วนตัวจะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก็ได้ก่อนคดีถึงที่สุด แต่ถ้าเป็นคดีอาญาแผ่นดิน จะต้องยื่นคำร้องก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น

logoline