svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมประมงเตรียมอบรมชาวบ้านเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ รับมือแม่โขงวผันผวน

14 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อดิศร แถลงมาตรการดูแลทรัพยากรสัตว์น้ำ ช่วงแม่น้ำโขงผันผวน ยืนยันกรมประมงเคียงข้างประชาชน ย้ำต้องรู้เท่าทัน เตรียมจัดฝึกอบรมการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำในระบบโรงเพาะฟักภาคสนาม (Mobile Hatchery) เพื่อให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำไว้ใช้ในแหล่งน้ำชุมชนตนเองได้อย่างเพียงพอ

14 ส.ค. 62 - ที่อาคารเอนกประสงค์ กรมประมงจัดแถลงข่าว "น้ำโขงเปลี่ยนไป ประมงไทยต้องเท่าทัน" อธิบดีกรมประมงเร่งเครื่องมาตรการเชิงรุกเพื่อดูแลทรัพยากรประมงช่วงแม่น้ำโขงผันผวนอย่างหนัก ทำสัตว์น้ำทั้งในธรรมชาติและที่เพาะเลี้ยงเสียหายเพราะปรับตัวไม่ทัน กระทบต่อวิถีความเป็นอยู่ของเกษตรกร-ชาวประมงริมโขง ยืนยันกรมประมงเคียงข้างประชาชน มีการเฝ้าระวัง สื่อสารข้อมูลอย่างรวดเร็ว เพื่อเท่าทันสถานการณ์

กรมประมงเตรียมอบรมชาวบ้านเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ รับมือแม่โขงวผันผวน


นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง แถลงถึงสถานการณ์ความผันผวนของระดับน้ำในแม่น้ำโขงว่า ขณะนี้ยังคงมีความน่าเป็นห่วงเนื่องจากมีความผันผวนของปริมาณน้ำอยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ปริมาณน้ำได้ลดลงอย่างหนักถึงขั้นวิกฤต แต่แล้วปริมาณน้ำกลับเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน และคาดการณ์ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วได้อีก ไม่เป็นไปตามระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำตามธรรมชาติทำให้สัตว์น้ำทั้งในแม่น้ำโขงตลอดจนลำน้ำสาขาของประเทศและที่เกษตรกรเพาะเลี้ยงในกระชังได้รับความเสียหายเพราะปรับตัวไม่ทัน ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรและชาวประมงในบริเวณชุมชนริมโขงในหลายพื้นที่ กรมประมงมีความเป็นห่วงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมากจึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่รับฟังปัญหาและให้คำแนะนำเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกร พร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการดังนี้1. บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ด้านการประมง (Fisheries watch) เพื่อให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ ประสานงานกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร เพื่อใช้มูลการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำในแม่น้ำโขงมาวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคประมง สำหรับแจ้งเตือนภัยเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย รวดเร็ว ทันที ให้เกษตรกรได้รับทราบและวางแผนรับมือให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันและลดผลกระทบของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น2. สำหรับทรัพยากรสัตว์น้ำในระบบนิเวศธรรมชาตินั้น กรมประมงได้วางแนวทางเร่งฟื้นฟูโดยจะเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารสัตว์น้ำในพื้นที่ด้วยการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และเสริมสร้างผลผลิตสัตว์น้ำจากการจัดการแบบมีส่วนร่วมร่วมกับชุมชนประมงในพื้นที่ในบริเวณลำห้วย หนอง และบึง ที่เป็นลำน้ำสาขาแม่น้ำโขงในพื้นที่ของประเทศไทย โดยเน้นชนิดพันธุ์ที่มีถิ่นอาศัยเดิมและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ อาทิ บึก ยี่สก ปลาเทพา นวลจันทร์ เป็นต้น3. จัดฝึกอบรมการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำในระบบโรงเพาะฟักภาคสนาม (Mobile Hatchery) เพื่อให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำไว้ใช้ในแหล่งน้ำชุมชนตนเองได้อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการจัดการและดูแลสัตว์น้ำในแม่น้ำโขงที่มีความหลากหลายค่อนข้างมากนั้น แนวทางที่เหมาะสมคือ การจัดสร้างและกำหนดเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม เพื่อให้เป็นแหล่งรักษาพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำไว้พร้อมทั้งนำวิธีการเพาะพันธุ์ภาคสนามเข้ามาช่วยเพื่อให้พันธุ์สัตว์น้ำได้มีโอกาสขยายพันธุ์วางไข่มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องทำควบคู่กันไป เพื่อเป็นการรักษาพันธุ์สัตว์น้ำในแม่น้ำโขงให้ยังคงความอุดมสมบูรณ์ โดยขณะนี้กรมประมงได้สั่งการให้หน่วยงานประมงในแต่ละจังหวัดไปหารือร่วมกับชาวบ้านเพื่อเตรียมประกาศเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ(Fish Stock) ตามห้วงเวลาและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยเน้นในเขตที่เป็นวังน้ำลึก (Deep pool) ซึ่งสัตว์น้ำมักหลบหนีไปอาศัยในช่วงที่ลำน้ำโขงลดระดับในช่วงแล้ง เพื่อรักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามธรรมชาติไว้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากร และสร้างกติกาชุมชนเพื่อให้มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่4. กรมประมงจะจัดทำโครงการพัฒนาการเชื่อมต่อสายน้ำด้วยการหารือร่วมกับชุมชนประมง องค์กรปกครองท้องถิ่น กรมชลประทานเพื่อปรับปรุง และพัฒนาสิ่งขวางกั้นลำน้ำ (ฝาย เหมือง) ให้มีทางผ่านปลาที่เหมาะสมในพื้นที่ที่มีปิดกั้นระหว่างลำน้ำสาขาในส่วนของประเทศไทยกับแม่น้ำโขง เพื่อให้ปลาหรือสัตว์น้ำสามารถเดินทางผ่านสิ่งขวางกั้นลำน้ำขึ้นไปหาแหล่งผสมพันธุ์วางไข่และแหล่งอาหารในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแม่น้ำโขงในส่วนของประเทศไทยเป็นแนวเขตพรมแดนและมีความต่อเนื่องกับประเทศเพื่อนบ้านอีก 3 ประเทศ ได้แก่ สปป. ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งประชากรสัตว์น้ำในแม่น้ำโขงโดยส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มที่มีการเดินทางย้ายถิ่น ซึ่งจะมีแหล่งอาศัยสัตว์น้ำในแต่ละช่วงวัยที่แตกต่างกัน ทั้งแหล่งสืบพันธุ์วางไข่ แหล่งเลี้ยงตัววัยอ่อน แหล่งหาอาหารและเติบโต และแหล่งหลบภัยช่วงแล้ง ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในแม่น้ำโขงต้องบูรณาการจัดการแบบข้ามพรมแดน ซึ่งต้องมีความร่วมมือในภูมิภาคที่จะต้องดำเนินการในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ การจะดำเนินการใด ๆ ในลำน้ำโขง จะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission MRC) ในการบริหารจัดการร่วมกันของทุกประเทศสมาชิก เพราะแม่น้ำโขงไม่ได้อยู่ในอำนาจการบริหารจัดการของประเทศไทยเพียงประเทศเดียวสิ่งสำคัญที่สุด ก็คือ กรมประมงจะทำงานเคียงข้างกับพี่น้องประชาชนผู้ประกอบอาชีพประมงในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง รวมถึงระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำโขง เพื่อให้รู้เท่าทันสถานการณ์นำไปสู่การปรับตัวภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์แม่น้ำโขงที่เกิดขึ้น ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีความผันผวนอย่างไม่มีวันกลับไปเป็นเช่นในอดีตอีกแล้ว ดังนั้น การติดตามข้อมูลข่าวสารสถานการณ์จากระบบ Fisheries watch ของกรมประมง อย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งกรมประมงจะเพิ่มช่องทางการสื่อสารผ่านระบบโซเซียลมีเดียที่สามารถกระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว เป็นวงกว้าง และเข้าถึงเกษตรกรได้โดยภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ว่าจะเป็นการเตือนภัย ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลการใช้ความช่วยเหลือ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อไปอธิบดีกรมประมง กล่าวยืนยันหนักแน่นว่า มาตรการทั้งหมดนี้ มิใช่เพียงเป็นการดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่กรมประมงมีความมุ่งหวังที่จะสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประชากรในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้เกิดความยั่งยืน

logoline