svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

(สกู๊ป) แรงงานทวงสัญญาค่าจ้างขั้นต่ำ 425 บาท

14 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เครือข่ายแรงงานยังคงเดินหน้าเรียกร้องทวงสัญญาจากให้พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลที่ได้เคยหาเสียงไว้ว่าจะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ หลังการแถลงนโยบายล่าสุดไม่ปรากฎแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้าง ด้านหม่อมเต่า รัฐมสนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หวั่นโรงงานย้ายฐานการผลิต หากค่าจ้างขั้นต่ำปรับขึ้น ไปติดตามจากรายงาน คุณวชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย

พรรคพลังประชารัฐกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ 400 - 425 บาทต่อวัน พรรคประชาธิปัตย์ประกันรายได้ 120,000 บาท ต่อปี พรรคภูมิใจไทย ให้ทำงาน 4 วันต่อ 1 สัปดาห์ เหล่านี้คือนโยบายด้านค่าจ้างแรงงาน ที่พรรคร่วมรัฐบาลได้หาเสียงไว้กับประชาชน

เวทีเสวนาวิพากษ์นโยบายรัฐบาล เสียงจากผู้หญิงคนทำงาน โดยกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี ร่วมกับองค์กรเครือข่ายผู้หญิงคนทำงาน รู้สึกผิดหวังกับการแถลงนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาที่ไม่มีแนวนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับ เรื่องแรงงาน ขณะเดียวกันรัฐบาลพยายามก็ยังจะมีข้ออ้าง หาเหตุผลที่จะไม่ทำตามที่หาเสียงไว้อีกด้วย

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เดินทางเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เพื่อขอทราบนโยบายด้านแรงงาน ทั้งในด้านประกันสังคม รวมถึงการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามที่รัฐบาลได้หาเสียงไว้ ทั้งนี้มองว่า การปรับขึ้นค่าจ้างนั้นมีความจำเป็น ซึ่งรัฐบาลจะทยอยปรับหรือจะขึ้นเท่าไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ส่วนตัวอยากเห็นการปรับขึ้นเท่ากันทั้งประเทศ เนื่องจากขณะนี้ราคาสินค้าได้ปรับขึ้นไปแล้ว

หลังจากการ พบปะหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นโยบายดังกล่าวเป็นของอีกพรรคหนึ่งที่ร่วมรัฐบาลด้วยกัน ตนเป็นพรรคเล็ก มีแค่ 5 เสียง เวลาแถลงนโยบายต้องแถลงกว้างๆ ส่วนเรื่องค่าแรงมันไม่น่าจะขึ้นได้ใน 9 สิงหาคมนี้ ที่จะมีประชุมบอร์ดค่าจ้าง เพราะอาจมีผลกระทบถึงเงินโบนัส และความต่างเงินเดือนที่ขึ้นช่วงกลางปีทำให้คนที่ทำงานมาแต่ต้นปี กับคนที่เริ่มงานใหม่กลางปีได้ไม่เท่ากัน ถ้าขึ้นค่าจ้างช่วงต้นปีหน้า ก็น่าจะเป็นโอกาสที่เหมาะสมที่สุด

นอกจากเครือข่ายแรงงานจะเรียกร้องเรื่องเร่งด่วนอย่างการขึ้นค่าจ้างแล้ว ยังเรียกร้องให้ประกันสังคม เป็นองค์กรอิสระบริหารงานแบบมืออาชีพ ขยายระบบประกันสังคมครอบคลุมไปถึงแรงงานนอกระบบ มีสิทธิ์เท่าเทียมหรือใกล้เคียงกับแรงงานในรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการหรือ หน่วยงานของรัฐ

ขณะที่ ขบวนการผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย ยังคงขอสิทธิ์ลาคลอด 180 วันโดยได้รับค่าแรงเต็มจำนวน โดยสิทธิครอบคลุมถึงแรงงานนอกระบบและแรงงานในรูปแบบที่ไม่ใช่สัญญาจ้าง รวมทั้งให้ผู้ชายมีสิทธิ์ลาเพื่อช่วยเลี้ยงดูบุตรแรกก็อย่างน้อย 15 วันโดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนเช่นกัน

logoline