svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

'เขื่อนภูมิพล​' ยังวิกฤตเหลือน้ำ​ใช้การ 7% หนุนโครงการผันน้ำยวม-สาละวิน​ แก้แล้งยาว

13 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ฝนที่ตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้มีน้ำมาเติมเขื่อนภูมิพลวันละ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่สถานการณ์น้ำในเขื่อนยังน้อย หากสิ้นฤดูฝนเดือนตุลาคมมีน้ำใช้การไม่ถึง 20% ปีหน้าเตรียมรับมือภัยแล้ง ทางออกระยะยาวของการจัดการน้ำจะเป็นอย่างไร ไปติดตามกับคุณวชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย รายงานสด จากเขื่อนภูมิพล

ทีมข่าวเนชั่นทีวี ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล หลังฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือ ว่ามีน้ำลงเขื่อน เก็บไว้ใช้ในฤดูแล้งปีหน้าได้มากน้อยแค่ไหน ก็พบข้อมูลที่น่าตกใจ เพราะว่าเขื่อนเหลือน้ำใช้การได้อยู่เพียง 641 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 7% เท่านั้นซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนมีน้ำใช้การได้ 3,972 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 41 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การระบายน้ำอยู่ที่วัน 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วที่ระบายน้ำอยู่ที่วันละ 8 ล้านลูกบาศก์เมตร

ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล บอกว่า ที่เขื่อนมีน้ำน้อยเพราะฝนทิ้งช่วงไป ซึ่งตามปกติแล้วฝนควรจะตกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเรื่อยมาแต่ปีนี้ฝนพึ่งตกเพียง 8 วัน ขณะที่เขื่อนตั้งเป้าจะต้องมีน้ำใช้การได้สิ้นฤดูฝน เดือนตุลาคม อย่างน้อย 2,500 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 20% ของน้ำใช้การได้ทั้งหมด จึงจะส่งผลให้ปีหน้ามีน้ำเพียงพอที่จะส่ง สนับสนุนการทำเกษตร แต่หากสิดูฝน ไม่สามารถเก็บน้ำได้ตามเป้าปีหน้าก็ต้องเฝ้าระวังภาวะภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้น

ผู้ช่วยอำนวยการเขื่อนภูมิพล ยอมรับอีกว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เขื่อนมีแนวโน้มที่จะเก็บน้ำได้น้อยลง เพราะบริเวณพื้นที่ต้นน้ำมีการดึงน้ำใช้สอยเพื่อการเกษตรมากขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่แปรปรวน ซึ่งหากจะทำให้มีน้ำเพียงพอใช้ในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ก็จำเป็นต้องมีโครงการผันน้ำจากแม่น้ำยวมและแม่น้ำสาละวิน เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของเขื่อนภูมิพล ซึ่งจะสามารถผันน้ำมาเติมได้ 2,500 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ช่วยจะแก้ปัญหาภัยแล้งในระยะยาวแก่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้

ล่าสุดโครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างศึกษารับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้าย หรือปัจฉิมนิเทศ จากชาวบ้านในพื้นที่ 3 จังหวัดคือแม่ฮ่องสอน ตาก และจังหวัดเชียงใหม่ ประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบเป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ซึ่งคัดค้านโครงการดังกล่าวเนื่องจากโครงการจะต้องขุดเจาะอุโมงค์ผ่านป่าสมบูรณ์ผืนสุดท้ายของภาคเหนือ

logoline