svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ระเบิดเวลา! ดินถล่มไร้สัญญาณเตือนภัย

13 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หากดูจากแผนที่เสี่ยงภัยดินโคลนถล่มของกรมทรัพยากรธรณี คาดว่าน่าจะมีถึง 100 หมู่บ้านในประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่บริเวณเชิงเขา ภัยดินถล่มจึงเป็นเหมือนระเบิดเวลา ที่รอวันถล่มลงมา เท่านั้นเอง!

ระเบิดเวลา! ดินถล่มไร้สัญญาณเตือนภัย13 AUG 2019พลันที่ได้ยินเสียงดังมาจากบนภูเขา ก็สายเกินไปที่จะเก็บข้าวของหนีออกมาจากบ้าน นอกจากวิ่งหนีเอาชีวิตรอด

ไม่มีสัญญาณเตือนใดๆ ดินจำนวนมหาศาล ถล่มลงมา ท่ามกลางฝนที่ตกๆหยุดๆ ติดต่อกันมาเป็นสัปดาห์ บางคนกระเด็นออกไปอยู่นอกบ้าน บางคนก็ถูกหลังคาบ้านทับ บางครอบครัวมีคนตาย

นี่เป็นอีกครั้งที่ผมมาทำข่าวดินถล่มแต่คราวนี้เป็นพื้นที่ของอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้วผมไปทำข่าวดินถล่ม บ้านห้วยขาบ อำเภอบ่อเกลือจังหวัดน่าน แต่เมื่อเปรียบเทียบกันลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดตาก และจังหวัดน่าน ก็มีความคล้ายคลึงกัน และเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยดินโคลนถล่มเหมือนกัน

ผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง ในการลงพื้นที่ครั้งนี้มีประเด็นที่ทำให้เราขบคิด ชาวบ้านที่บ้านวาแหมะคี ตำบลท่าสองยางอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เพิ่งย้ายถิ่นฐานจากที่อยู่อาศัยเดิมในป่าลึก ลงมาอยู่บริเวณเชิงเขาข้างถนนเมื่อประมาณ ปี 2530 กว่าๆ ครั้งนั้นเจ้าหน้าที่เป็นคนพาลงมา และจัดสรรพื้นที่บริเวณนี้ให้อยู่อาศัยและทำกิน

ชาวบ้านบอกกับผมว่า ถ้ายังอยู่ที่เดิมที่เคยอยู่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว พื้นที่บริเวณนั้นจะไม่เกิดดินถล่ม ด้วยภูมิปัญญาของชาวบ้านรู้ดีว่าตรงไหนอยู่อาศัยได้หรือไม่ได้ เสี่ยงหรือไม่เสี่ยง แต่เมื่อไม่มีทางเลือก รัฐจัดสรรให้อยู่บริเวณนี้ก็ต้องอยู่ และสิ่งที่กลัวกันมากที่สุดก็เกิดขึ้น ฝันร้ายในวันนั้นทำให้คนทั้งหมู่บ้านตัดสินใจขออพยพ

ในบรรดาภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแล้ง หรือน้ำท่วม อาจยังไม่สร้างความเสียหายกับทรัพย์สินได้มากเท่ากับดินถล่ม ซึ่งพอๆกับแผ่นดินไหว และเป็นที่น่าคิดว่าในช่วงระยะหลัง ภัยดินถล่มเกิดขึ้นเกิดบ่อยขึ้น นักธรณีวิทยาให้สาเหตุว่าอาจมาจากอายุของชั้นหินที่เสื่อมสภาพ

แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น ความแข็งแรงของดิน ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของดิน (Soil composition) ว่าเป็น หินหรือ ดิน ประเภทใด มีโครงสร้างหรือมีต้นไม้ประกอบยึดเกาะกันแข็งแรงแค่ไหน มีชั้นดินดานตื้นหรือลึกในลักษณะใด

บริเวณที่เกิดดินถล่มเป็นพื้นที่ที่มีความลาดเอียงมาก (Steep slope)มีฝนตกมากนานๆ (Prolong heavy rain)

โครงสร้างของแผ่นดิน (Structure of soil) ความแตกต่างกันของชั้นดินที่น้ำซืมผ่านได้ กับชั้นที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ ที่จะทำให้น้ำขังใต้ดินมากจนดินเหลวบนที่ลาดเอียง ทำให้เกิดการไหลได้

ฤดูกาล (Glacial erosion, rain, drought), ต้นไม้ถูกทำลายโดยไฟป่าหรือความแล้ง (Vegetation removal by fire or drought) และการเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน (Change in underground water)

เมื่อไม่มีสัญญาณเตือนว่าดินถล่มจะเกิดขึ้นเมื่อใด เราก็ทำได้เพียงแต่วิเคราะห์สาเหตุและความน่าจะเป็น และกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มเพื่อให้เกิดการเฝ้าระวัง ซึ่งหากดูจากแผนที่เสี่ยงภัยดินโคลนถล่มของกรมทรัพยากรธรณี คาดว่าน่าจะมีถึง 100 หมู่บ้านในประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่บริเวณเชิงเขา ภัยดินถล่มจึงเป็นเหมือนระเบิดเวลา ที่รอวันถล่มลงมา เท่านั้นเอง!

#วชิรวิทย์ #วชิรวิทย์รายวัน #Vajiravit #VajiravitDaily #Nation #NationTV

logoline