svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

พะยูน "มาเรียม" ป่วยทรงตัว ระดมสัตว์แพทย์รักษา

12 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อธิบดี ทช. เผย อาการป่วยมาเรียมทรงตัวตัอง โอกาสรอด 50:50 ประคับประคองรักษาติดตามอาการใกล้ชิด สัตว์แพทย์ ชี้ อาการทรุดเร็ว หลังจากที่เกิดภาวะช็อค ติดเชื้อในกระเเสเลือด ปอดอักเสบ เร่งให้ยารักษา พร้อมระดมทีมสัตว์แพทย์ชีวยรักษา ประเมินการอีก 2-3 วัน

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วย ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดร.นันทริกา ซันซื่อ ผอ.วิจัยโรคสัตว์น้ำฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต) นาย จตุพร เปิดเผยถึงความคืบหน้าอาการการป่วยของมาเรียมที่ติดเชื้อในกระเเสเลือด ปอดอักเสบ หัวใจเต้นเร็ว หายใจช้า อาการล่าสุดของมาเรียม ยังอยู่ในระดับทรงตัว หลังเกิดภาวะช็อค ตกใจ ยังต้องประคับประคองสถานการณ์วันต่อวัน วันนี้ทางทีมมาสัตว์แพทย์ให้ยารักษาครั้งแรก หลังจากนี้รอติดตามประเมินการอีก 2-3 วัน สำหรับแผนในการดูแลต่อไป สร้างบ่อดูแลชั่วคราวที่เกาะลิบง ส่วนที่2 หากไม่ดีขึ้นอาจะต้องเคลื่อนย้ายไปที่บ่อมหาวิทยาลัยราชมงคล วิทยาเขตตรัง ล แต่หากยังไม่ดีขึ้นอีก ที่ ได้เตรียมบ่อใหญ่ ไว้ 10x10 ตารางเมตร ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ( ภูเก็ต )  ด้าน ดร.นันทริกา ซันซื่อ ผอ.วิจัยโรคสัตว์น้ำฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ประเมินอาการยัง50:50 น่าเป็นห่วง ตามธรรมชาติ พยูนหากมีอาการป่วย ทรุดเร็วลงลงเร็ว เพราะอาการอื่นของสัตว์จะแสดงออกทันที โดยมีลักษณะอาการป่วยคล้ายคน เวลานี้อยู่ระหว่างการประคับประคองการรักษา เพื่อให้อยู่รอดต่อไปให้ได้ ทางทีมสัตว์แพทย์พยามดูแลอย่างเต็มที่ ระดมทีมสัตว์แพทย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาช่วยรักษา แนวทางการรักษาเร่งรักษาระบบการหายใจ จะใช้วิธีการพ่นยา หรือ หากจำเป็นจะอาจจะต้องใช้วิธีแบบสอดท่อเข้าไป หากการรักษายาที่ให้มีประสิทธิภาพก็จะเห็นผลในช่วง3-5วันในช่วงฤดูมรสุม ความแรงของคลื่นอุณหภูมิน้ำที่เปลี่ยน ฝนตกหนัก ทำให้เกิดอาการป่วย  
สิ่งที่น่ากังวล คือ เชื้อไวรัสเดิมของของมาเรียมที่ได้รับการติดเชื้อก่อนหน้านี้ อาการไวรัสกลับมาอีก
ดร.นันทริกา ซันซื่อ ระบุด้วยว่า การเลี้ยงมาเรียมให้เเข็งแรง แล้วปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติด้วยตัวเองนั้น เป็นเรื่องที่ยากมาก เนื่องจากหากินเองไม่เป็น และ ยังไม่ได้ฝึกอย่างจริงจัง แต่ก็ต้องทดลอง หากอยู่รอดได้ก็ปล่อยไป แต่หากไม่รอดก็ต้องนำกลับเข้ามา ขณะที่ทั่วโลกหากพยูนหรือ สัตว์ชนิดอื่นๆ พลัดพรากจากแม่ โอกาสรอดชีวิตอยู่ที่1% หรือ แทบจะเป็น0% เพราะตัวสัตว์ไม่สามารถอยู่ด้วยได้ตัวเอง กรณีมาเรียมถือว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จในการข่วยเหลือ
ด้าน ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต) อธิบายว่า สำหรับการเคลื่อนย้าย จะเคลื่อนย้ายด้วยเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเตรียมความพร้อมไว้แล้ว เป็นการขนย้ายแบบกึ่งเปียก ใช้ไมโครไฟเบอร์สร้างความชื้นตลอดเวลา และป้องกันการกดทับ มีถุงน้ำร้อน น้ำเย็น ในกรณีอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลง ควบคุมอุณหภูมิเอาไว้ ต้องรักษาอุณหภูมิไม่ให้สูงต่ำเกินไปเสี่ยงต่อการช็อคได้ จะใช้เวลาประมาณ 45 นาทีเคลื่อนย้าย ถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในการเคลื่อนย้ายสัตว์ทะเลหายากทางอากาศ 
สิ่งที่น่ากังวล คือเรื่องของเสียง แต่ฮ.ที่ใช้เป็นแบบปิด จึงมีเสียงดังน้อยกว่าปกติมากกว่าฮ.แบบเปิด ใช้พลาสเตอร์ปิดใบหูเอาไว้ ซึ่งจะลดอาการเครียดในการขนย้ายของพะยูน 
นาย จตุพร บุรุษพัฒน์ บอกด้วยว่า ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ ทช. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันช่วยเหลือ "มาเรียม" จนเกิดกระแสการอนุรักษ์พะยูน สัตว์ทะเลอย่างแพร่หลาย ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันยังให้ความช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากอื่น ๆ อีกจำนวนมาก เช่น พะยูนหลงฝูง "ยามีล", เต่าทะเลบาดเจ็บ และ "โฮป" ลูกวาฬหัวทุยแคระ ซึ่งถูกพบเกยตื้นพื้นที่บริเวณชายหาดบ้านในไร่ ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา เพื่อขยายผลกระแสการอนุรักษ์สัตว์ทะเลและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เกิดความต่อเนื่อง จึงสั่งติดตามสถานการณ์สัตว์ทะเลหายาก และ ความคืบหน้าการฟื้นฟูสัตว์ทะเลที่ได้รับความช่วยเหลือ

logoline