svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ผอ.วิจัยโรคสัตว์น้ำฯ ประเมินอาการ "มาเรียม" น่าเป็นห่วง 50:50

12 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อธิบดี ทช. เผย อาการป่วยมาเรียมทรงตัวตัองประคับประคองรักษาติดตามอาการใกล้ชิด สัตว์แพทย์ ชี้ อาการทรุดเร็ว หลังจากที่เกิดภาวะช็อค ติดเชื้อในกระเเสเลือด ปอดอักเสบ เร่งให้ยารักษา พร้อมระดมทีมสัตว์แพทย์ชีวยรักษา ประเมินการอีก 2-3 วัน

12 ส.ค.62 - รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี ได้นำคณะสัตวแพทย์มาทำการตรวจร่างกายลูกพะยูน (มาเรียม) และทำการประเมินอาการ สรุปได้ว่า มาเรียมมีภาวะป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

ตามประวัติอาการป่วย ของ "มาเรียม" นั้น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2562 มาเรียมมีอาการซึม และไม่กินอาหาร โดยเฉพาะเวลากลางวันมีการหายใจผิดปกติ เปิดช่องจมูกค้างนาน 5 วินาที ลมหายใจมีกลิ่น ผายลมมีกลิ่นเหม็นมาก

ผอ.วิจัยโรคสัตว์น้ำฯ ประเมินอาการ "มาเรียม" น่าเป็นห่วง 50:50



วันที่ 9 สิงหาคม 2562 มีอาการตัวสั่น เกร็ง โก่งตัว ลอยบนผิวน้ำ ช่วง 20.00-06.00 ปฏิเสธการกินอาหาร

วันที่ 10 สิงหาคม 2562 อาการทรงตัว ในช่วงบ่ายเริ่มว่ายไปกินหญ้าได้บ้าง

ผอ.วิจัยโรคสัตว์น้ำฯ ประเมินอาการ "มาเรียม" น่าเป็นห่วง 50:50



วันที่ 11 สิงหาคม 2562 มาเรียม มีอาการซึมแลอ่อนเพลียมากขึ้น อัตราหายใจ 3-4 ครั้ง มีการเปิดหายใจนานมาก สูงสุดถึง 30 วินาที อัตราการเต้นหัวใจ 140-150 ครั้งต่อนาที เสียงลมหายใจผิดปกติ มีอาการลอยตัวด้านซ้ายแสดงถึงการอักเสบของปอด ลมหายใจมีกลิ่นเหม็นมาก บริเวณผนังท้องมีอาการบวมน้ำ เยื่อเมือกบริเวณในช่องปากพบแผลหลุมเปื่อย 2-3 แห่ง บริเวณแพนหางพบรอยด่างขาว คล้ายการติดเชื้อไวรัส

ผลการวินิจฉัยเบื้องต้น 1. มีการติดเชื้อในกระแสเลือดและปอดอักเสบ 2. แผลในช่องปากมีผลต่อความอยากกินอาหรา 3. มีไข้ 4. อยู่ในสภาพขาดอาหารและน้ำ

แนวทางการรักษา1. ให้ยาปฏิชีวนะต่อเนื่องอย่างน้อย 2 อาทิตย์2. เจาะเลือด เพื่อตรวจ3. เสริมวิตามินและสารน้ำเกลือ หากจำเป็นอาจให้ทางเส้นเลือด4. ย้ายป้ายแผลในปาก

แนวทางการดำเนินการ1.) ต้องมีการเคลื่อนย้ายมาเรียม มารักษาในบ่อพยาบาล 2.) หากมีอาการดีขึ้นและอาการปกติ จะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ 3.) หากมีอาการดีขึ้นแต่ต้องการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด และต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ควรขนย้ายไปยังศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากภูเก็ต

ผอ.วิจัยโรคสัตว์น้ำฯ ประเมินอาการ "มาเรียม" น่าเป็นห่วง 50:50



คณะท่านรองอธิบดีกรม ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงได้เรียกประชุมผู้นำท้องที่ท้องถิ่นเพื่อชี้แจงและรายงานป่วยของมาเรียมให้กับสาธารณะทราบ และมีข้อสรุปร่วมกันให้ดำเนินการ ดังนี้

1. สัตวแพทย์ได้ให้ยาเพื่อทำการรักษาการติดเชื้อไปแล้ว เมื่อวันนี้ (11 สิงหาคม 2562) และเมื่อมาเรียมมีร่างกายที่พร้อมก็จะทำการเคลื่อนย้ายไปรักษาอาการป่วยที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต) โดยวิธีเร่งด่วน คือ เคลื่อนย้ายทางอากาศโดยเฮลิคอปเตอร์

2. ทางคณะรองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และทีมสัตวแพทย์ ได้เดินทางไปดูบ่ออนุบาลที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง เพื่อเป็นแผนรองรับการเคลื่อนย้าย หากเห็นว่ามีความเหมาะสมทำการรักษาพยาบาล

3. ในคืนนี้ (11 สิงหาคม 2562 ) ทีมสัตวแพทย์มีความเห็นที่จะนำมาเรียมทำการรักษาในบ่ออนุบาลชั่วคราวที่ติดตั้งไว้ที่หน้าเขาบาตู เพื่อสะดวกในการรักษาพยาบาลมาเรียม

4. ทางคณะท่านรองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ลงความเห็นให้เพิ่มทีมสัตวแพทย์เข้ามาปฏิบัติงานโดยด่วนในช่วง 1 - 3 วันนี้ ก่อนที่ทำการเคลื่อนย้ายมาเรียม และขณะนี้ได้ทีมสัตวแพทย์เพิ่มเติมแล้ว

ผอ.วิจัยโรคสัตว์น้ำฯ ประเมินอาการ "มาเรียม" น่าเป็นห่วง 50:50

.

ผอ.วิจัยโรคสัตว์น้ำฯ ประเมินอาการ "มาเรียม" น่าเป็นห่วง 50:50


ล่าสุดนายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วย ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดร.นันทริกา ซันซื่อ ผอ.วิจัยโรคสัตว์น้ำฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต) เปิดเผยถึงความคืบหน้าอาการการป่วยของมาเรียมที่ติดเชื้อในกระเเสเลือด ปอดอักเสบ หัวใจเต้นเร็ว หายใจช้านาย จตุพร ระบุว่า อาการของมาเรียม ยังอยู่ในระดับทรงตัว หลังเกิดภาวะช็อค ตกใจ ล่าสุดยังต้องประคับประคองสถานการณ์วันต่อวัน วันนี้ทางทีมมาสัตว์แพทย์ให้ยารักษาครั้งแรก หลังจากนี้รอติดตามประเมินการอีก 2-3 วัน


ด้าน ดร.นันทริกา ซันซื่อ ผอ.วิจัยโรคสัตว์น้ำฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ประเมินอาการยัง50:50 น่าเป็นห่วง ตามธรรมชาติ พยูนหากมีอาการป่วย ทรุดเร็วลงลงเร็ว เพราะอาการอื่นของสัตว์จะแสดงออกทันที โดยมีลักษณะอาการป่วยคล้ายคน เวลานี้อยู่ระหว่างการประคับประคองการรักษา เพื่อให้อยู่รอดต่อไปให้ได้ เวลานี้ทางทีมสัตว์แพทย์พยามดูแลอย่างเต็มที่ ระดีมทีมสัตว์แพทย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาช่วยรักษา แนวทางการรักษาจะใช้วิธีการพ่นยา หรือ อาจจะต้องใช้วิธีแบบสอดเข้าไป
ดร.นันทริกา ซันซื่อ ระบุด้วยว่า การเลี้ยงมาเรียมให้เเข็งแรง แล้วปล่อยกลับคืนสู่ธรรมนติด้วยตัวเองนั้น เป็นเรื่องที่ยากมาก เนื่องจากหากินเองไม่เป็น และ ยังไม่ได้ฝึกอย่างจริงจัง แต่ก็ต้องทดลอง หากอยูรอดได้ก็ปล่อยไป แต่หากไม่รอดก็ต้อวนำกลับเข้ามา ขณะที่ทั่วโลกหากพยูนหรือ สัตว์ชนิดอื่นๆ พลัดพรากจากแม่ โอกาสรอดชีวิตอยู่ที่1% หรือ แทบจะเป็น0% เพราะตัวสัตว์ไม่สามารถอยู่ด้วยได้ตัวเอง กรณีมาเรียมถือว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จในการข่วยเหลือสำหรับการเคลื่อนย้ายด้วยเฮลิคอปเตอร์ ยังอยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์ แต่ในเบื้องต้นอยากให้รักษาอยู่ในพื้นที่ก่อน แผนการที่เตรียมไว้ ทช.เตรียมไว้ คือการขนส่งทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งถ้อเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

logoline