svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ร.อ.ธรรมนัส" ต่อตรง! "อ.เจษ" ตอบข้อสงสัย "โครงการวิทยาศาสตร์ลวงโลก เสียค่าโง่กว่า GT200"

08 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรณีข่าวที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้มีการหารือกับกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อของบประมาณ 5,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการธนาคารน้ำ เพื่อนำน้ำใต้ดินมาให้เกษตรกรใช้ในฤดูแล้งนั้น

ต่อมาเพจ วิทยาศาสตร์ทันโลก และภัยพิบัติในไทย ก็ได้เขียนอธิบายให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องธนาคารน้ำใต้ดิน เกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย รวมไปถึงบทเรียนในต่างประเทศ ที่ทำก่อนไทย โดยยกตัวอย่างประเทศอินเดีย ที่มีการใช้ธนาคารน้ำใต้ดิน ในหลายพื้นที่ และได้พบปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของสารปนเปื้อน อาทิ ไนเตรต เหล็ก หรือสารหนู ซึ่งมีความเสี่ยงมาก ๆ หากร่างกายคนเราได้รับสารเหล่านี้เข้าไป 
(อ่าน...อ.เจษฎา ชี้ "อาจจะเห็นโครงการวิทยาศาสตร์ลวงโลก เสียค่าโง่กว่า GT200")


ล่าสุด ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวระบุว่า

"ร.อ.ธรรมนัส" ต่อตรง! "อ.เจษ" ตอบข้อสงสัย "โครงการวิทยาศาสตร์ลวงโลก เสียค่าโง่กว่า GT200"


ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวระบุว่า "ท่าทางเราจะได้เห็นโครงการรัฐ ที่เป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลก ขนาดใหญ่กว่า GT200 ก็คราวนี้แหละครับ"
ดร.เจษฎา อธิบายว่า ยังไม่เห็นรายละเอียดโครงการธนาคารน้ำใต้ดินที่จะทำเป็นลักษณะไหน แต่หลายพื้นที่ในไทยกำลังรณรงค์ให้ทำอาจจะหลงทาง ส่วนใหญ่ที่ทำจะเป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดแบบเทคนิคทำเลียนแบบกัน ไม่ใช่ทำในเชิงวิทยาศาสตร์
หากจะยึดต้นแบบจากอินเดียนั้นจะต้องทำหลุมขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตรขึ้นไป และลึก 2-3 เมตรหรือจนถึงระดับที่ดินมีรูพรุน เช่นเป็นชั้นหินทราย ตัวหลุมเองก็ต้องทำด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น หิน กรวด ทราย แต่เท่าที่เห็นในไทย พบว่ามีการทำหลุมเล็ก ๆ แล้วใช้ทั้งยางรถยนต์ ขวดพลาสติก ลงไปทำเป็นหลุม ซึ่งเมื่อสลายตัว ก็จะเป็นการส่งสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายลงไปในน้ำด้วย
นอกจากนั้นการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ยังต้องผ่านการทดสอบวิเคราะห์ก่อน ว่าน้ำผิวดินที่จะลงไปในหลุม เป็นน้ำที่สะอาดจริง ไม่ได้มีสารเคมีที่เป็นอันตราย ทั้งปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และน้ำเสียอื่น ๆ ลงไปด้วยเพราะจะยิ่งลงไปสะสมในชั้นน้ำบาดาล และเมื่อสูบขึ้นมาใช้ ก็จะเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
หากคิดจะทำธนาคารน้ำใต้ดิน มีแผนที่ทางธรณีฟิสิกส์ของแหล่งน้ำใต้ดินหรือยัง ถ้ายังไม่รู้ว่าชั้นของดินหรือหินบริเวณนั้นเป็นเช่นไร หรือเส้นทางน้ำใต้ดินรวมถึงแอ่งน้ำชั้นใต้ดินเป็นอย่างไร เราจะไม่สามารถรู้ทิศทางการไหลเวียนของน้ำใต้ดินตรงบริเวณนั้น และไม่สามารถกำหนดจุดของการออกแบบว่าจะว่างตำแหน่งการทำบ่อรับน้ำได้อย่างไร
การออกแบบตัวบ่อที่จะไม่ให้สารปนเปื้อนลงในชั้นน้ำใต้ดินเป็นอย่างไร โดยวิธีการที่ทำกันอยู่นี้ ไม่ใช่วิธีการทำธนาคารน้ำใต้ดินแบบที่สากลทำกันตามหลักวิชาการ หากบ้านเราทำโครงการดังกล่าวโดยไม่ทดสอบวิเคราะห์ก่อนอาจจะไม่ได้ผลอะไร อีกทั้งเปลืองงบประมาณ เปลืองแรงงาน แถมยังอาจเกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย อาจเป็นเบี้ยหัวแตกที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงล่าสุด ดร.เจษฎา โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ร.อ.ธรรมนัส ได้โทรมาเคลียร์เรื่องธนาคารน้ำใต้ดิน ด้วยตนเอง โดยท่านรับทราบและเข้าใจผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในสิ่งที่ทำกันอยู่ และสั่งการให้กรมพัฒนาที่ดินไปศึกษาผลกระทบ ส่วนเรื่องงบ 5 พันล้านนั้นเป็นเรื่องของการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชน ไม่ใช่เรื่องของธนาคารน้ำใต้ดิน

"ร.อ.ธรรมนัส" ต่อตรง! "อ.เจษ" ตอบข้อสงสัย "โครงการวิทยาศาสตร์ลวงโลก เสียค่าโง่กว่า GT200"

logoline