svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

'ทต.ไผ่กองดิน' ตั้งเป้า​เป็นเทศบาลปลอดขยะ​ 0% ปี​ 2564

08 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากปัญหาขยะล้นเมืองทำให้ชุมชนหลายแห่งเริ่มปรับตัว เปลี่ยนวิธีการจัดการขยะ จากการฝังกลบมาเป็นการแยกขยะและนำมารีไซเคิล ซึ่งไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาขยะแต่ยังก่อให้เกิดรายได้เพิ่มเป็นอาชีพเสริมกับชาวชุมชน อย่างเช่นที่ชุมชนไผ่กองดิน จังหวัดสุพรรณบุรีที่ประสบความสำเร็จเป็นชุมชน Zero Waste

8 ส.ค. 62 - นายทีฆโชติ งามถาวรวงษ์ นายกเทศมนตรีตำบลไผ่กองดิน บอกว่า เริ่มนำชุมชนนำร่องเข้าสู่โครงการปลอดขยะหรือ Zero Waste อย่างจริงจังเมื่อ 3 ปีที่แล้ว หลังจากประสบปัญหาขยะล้นเทศบาล และไม่มีที่ฝังกลบเป็นของตัวเอง ต้องนำไปฝังกลบในบ่อขยะของจังหวัด จึงชักชวนชาวบ้านให้เริ่มแยกขยะอย่างค่อยเป็นค่อยไป ล่าสุดสุดประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 

'ทต.ไผ่กองดิน' ตั้งเป้า​เป็นเทศบาลปลอดขยะ​ 0% ปี​ 2564



นายกเทศมนตรี ตำบลไผ่กองดินบอกว่า นอกจาก ทำให้ปริมาณขยะที่เทศบาลต้องจัดการลดลงอย่างมาก เหลือแต่เพียงกำจัดขยะอันตรายที่ต้องจัดการอย่างถูกวิธีแล้ว ยังทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มจากการคัดแยกขยะและแปรรูปขยะเหลือใช้เป็นของใช้ใหม่ได้อีกครั้งด้วย

ปัจจุบันเทศบาลตำบลไผ่กองดินมีประชากรจำนวน 600 หลังคาเรือน 1800 คน จำนวนนี้ดำเนินการ ไปแล้ว 50% ของครัวเรือนในเทศบาลทั้งหมด พร้อมตั้งเป้าเป็นเทศบาลปลอดขยะ 0% หรือ Zero Waste ภายในปี 2564

ด้านนางบุญกึ่ง ดวงจันทร์ ประธานชุมชน 3 ตำบลไผ่กองดิน อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี บอกว่า หลังจากทำตามคำชักชวนของเทศบาลที่ให้แยกขยะและนำมาใช้ซ้ำ ตนได้นำกล่องสุรา กล่องนม และถุงพลาสติกจากผลิตภัณฑ์ซักผ้าและน้ำยาปรับผ้านุ่ม นำมาแปรรูปเป็นหมวก โมบายตกแต่งบ้าน และกระเป๋า ซึ่งมีตลาดรับซื้อมีทำให้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นมาอีกราว 4,000 บาทต่อเดือน

ขณะที่นายประจวบ กลั่นศรี ชาวบ้านชุมชน 1 ตำบลไผ่กองดิน อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี บอกว่า นอกจากการแยกขยะทั่วไปแล้ว แล้วแยกขยะอินทรีย์เช่นขยะจากเศษอาหาร ออกมา นำไปเลี้ยงไส้เดือนขาย การเลี้ยงไส้เดือนจากเศษอาหาร แทบไม่มีต้นทุนอะไรเลย ทั้งยังมีรายได้จากการขายไส้เดือน กิโลกรัมละ 25 บาทหรือ 4 กิโลกรัม 100 บาท ต่อเดือนมีรายได้จากการขายไส้เดือน 2000-3000 บาท

ไม่เพียงแต่การจัดการขยะเท่านั้น เนื่องจากเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำลำคลอง จึงให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำเสีย ซึ่งเป็นแนวคิดต่อยอดจากชาวเอง ด้วยการนำโอ่งใบใหญ่ มาเป็นที่พักน้ำเสีย แล้วนำน้ำที่เหลือทิ้งจากซักผ้านำมารดน้ำต้นไม้อีกด้วย

logoline