svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ปรับตัว สู้ภัยแล้ง เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำ7%

06 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ประเมินน้ำเหนือจากพายุ วิภา ได้ฝนดี แต่ยังไม่พ้นวิกฤตน้ำน้อย จ่อลดระบายน้ำตามแผน 3-4 ล้าน ลบ.ม./วัน ในยุคเผชิญแล้งคนใช้น้ำต้องปรับตัว หวัง สิงหาคม-ตุลาได้ฝนเพิ่ม เก็บน้ำให้ได้ 2,000 ล้านลบ.ม. เชื่ออีก 5 ปี น้ำเต็มเขื่อน


"ทรัพยากรธรรมชาติ ย่อมมีวันหมด โดยเฉพาะทรัพยากรน้ำ ที่อยู่ในยุคสภาพอากาศแปรปรวน ต้องเผชิญความแห้งแล้ง รอฟ้า รอฝนจากธรรมชาติ อย่างเดียวไม่ได้ ทุกคนที่ใช้ทรัพยากรน้ำ ต้องปรับตัว "เขื่อนใหญ่ 4 เขื่อนหลัก ทั้งภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ ป่าสักชลสิทธิ์ ยังมีน้ำน้อย นับถอยหลังอีก 87 วัน จะสิ้นสุดฤดูฝน

ปรับตัว สู้ภัยแล้ง เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำ7%

ปัจจุบันปริมาณน้ำใช้การของ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีน้ำใช้การได้รวม 1,064 ล้าน ลบ.ม.ต้องการน้ำ เก็บกักเพิ่มอีก 10,936 ล้าน ลบ.ม.ประมาณการความต้องการใช้น้ำ ช่วงฤดูแล้งและช่วงต้นฤดูฝนของปี 2563 ( อุปโภค-บริโภค การเกษตร และ ระบบนิเวศ ) 12,000 ล้าน ลบ.ม. มวลน้ำจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน "วิภา " ที่เข้ามาสลายในไทย ส่งผลให้ภาค เหนือ อีสาน ไทยด้านตะวันตกได้ฝนดี มีการประเมินจากสำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สนทช.ว่า จะมีน้ำไหลลงเขื่อน 38 แห่ง รวม 1,250 ล้าน ลบ.ม.เช่นเดียวกับพื้นที่ จ.น่าน จ.แพร่ จ.อุตรดิตถ์ ลำน้ำน่าน กำลังทยอยไหลระบายลงสู่เขื่อนสิริกิติ์ หลังก่อนหน้านี้ต้องเผชิญกับวิกฤตแล้งรุนแรงรอบ10 ปี อยู่ในสภาวะวิกฤติน้ำน้อย

ปรับตัว สู้ภัยแล้ง เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำ7%

ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ วีระศักดิ์ ศรีกาวี ประเมินว่า ฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ จ.น่าน ขณะนี้ปริมาณน้ำฝน และ น้ำท่า จ.น่าน ที่ยังฝนตกอยู่ในระดับมากที่สุด อยู่หลายจุดในระดับสีแดง เปรียบเทียบก่อนช่วงพายุ วิภา จะเข้ามา เขื่อนสิริกิติ์มีน้ำอยู่ 350 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันขึ้นมาอยู่ที่510ล้าน ลบ.ม. มีน้ำเหนือเข้ามาเเล้ว มากว่า 100 ล้าน ลบ.ม. แต่เมื่อเทียบกับการกับเก็บ กว่า 9,000 ล้าน ลบ.ม. ถือว่ายังน้อย เขื่อนสิริกิติ์ ยังรับน้ำได้อีก 6 ,138.48 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบัน (6 ส.ค.) มีน้ำกักเก็บ 3,359ล้าน ลบ.ม (35.32%) ส่วนน้ำใช้การได้ 509 ล้าน ลบ.ม ( 7.64%) น้ำไหลเข้า. 33.57 ล้าน ลบ.ม.หลังจากนี้ จะปรับลดการบายน้ำ จาก 20 ล้าน ลบ.ม. สัปดาห์นี้ตั้งแต่5-7 ส.ค. 62 ระบายน้ำวันละ 14.0 ล้าน ลบ.ม. ช่วง8-12 ส.ค. 62 จะระบายน้ำ 10.0 ล้าน ลบ.ม./วัน จะปรับลดการระบายน้ำในระดับ 3-4 ล้านลบ.ม. ปลายเดือนสิงหาคม เพื่อให้มีน้ำเหลือเก็บไว้ใช้ช่วงฤดูแล้งซึ่งได้แจ้งเตือนผู้เลี้ยงปลากระชังให้เลี้ยงในน้อยลง เลี้ยงเฉพาะช่วงที่มีน้ำ เตรียมพร้อมปรับลดระบายน้ำปีที่ผ่านมาเขื่อนสิริกิติ์เก็บน้ำไว้ได้มากที่สุด 3,000 กว่าล้าน ลบ.ม.จึงระบายน้ำเพื่อปลูกพืชฤดูแล้งได้เพียงพอ และจากการดูสถิติน้ำของเขื่อนหลักๆ ทั้ง สิริกิติ์ และ ภูมิพล น้ำจะเข้าเขื่อนหลักในช่วงเดือนสิงหาคม- ตุลาคม แม้ตามหลักการดูแนวโน้มปรากฏการณ์ " เอลนีโญ่ " ซึ่งจะทำให้ฝนน้อย น้ำน้อย แต่สถิติที่ผ่านมา น้ำก็จะมากในช่วง สิงหาคม-ถึงตุลาคม จากข้อมูลอุตุนิยมวิทยา เวลานี้ จะเห็นว่ามีพายุก่อตัว ด้านตะวันออกของฟิลิปินส์ เกิดพร้อมกัน 2 ลูก คือ "พายุเลกีมา " และ "พายุซานฟรานซิสโก" หาก 2 ลูกมาแนวเดียวกัน เกิดพร้อมกัน มีความเป็นไปได้ที่จะมีอิทธิพลสูงกับประเทศไทย การมาพร้อมกันของพายุ 2 ลูก จะกดให้พายุต่ำลง

ปรับตัว สู้ภัยแล้ง เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำ7%

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดฝนนอกจากสภาพอากาศตามฤดูกาลที่ไม่เพียงพอ ฝนจากการทำฝนหลวงที่ผ่านมาย้อนไป2สัปดาห์ก่อน จากอากาศที่เเห้งแล้ง ไม่มีเมฆ การทำฝนหลวงจึงอาจะยังไม่ค่อยได้ผล แต่เวลานี้สภาพอากาศเอื้อต่อการทำฝนหลวงได้ฝนดี จึงมีโอกาสที่จะมีน้ำเติมลงมาในเขื่อน เวลานี้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรก็ปฎิบัติการอยู่ โดยภาพรวมในช่วงฤดูฝนปีนี้ตั้งเป้าว่า จะเก็บน้ำลงเขื่อนเก็บน้ำให้ได้เมื่อถึงปลายฤดูฝน กว่า2,000ล้าน ลบ.ม. เพื่อให้มั่นใจว่ามีอุปโภคบริโภคแน่นอน แต่การเกษตรต้องพิจารณาอีกทีว่า จะได้น้ำ2,000ล้าน ลบ.ม.หรือไม่ ถ้าน้อยกว่าเป้าก็ต้องเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่จะประกาศให้ปลูกข้าวน้อยลง

ปรับตัว สู้ภัยแล้ง เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำ7%

เนื่องจากการทำนาใช้น้ำมาก ปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทน มั่นใจว่าหากน้ำน้อย ก็ไม่ถึงขี้นต้องนำน้ำใต้เขื่อนมาใช้ เพราะการใช้น้ำเฉพาะเรื่องอุปโภค บริโภครักษาระบบนิเวศน์ จะใช้น้ำไม่มากเท่ากับการเกษตร อดีตเขื่อนสิริกิติ์ เคยมีน้ำกักเก็บมากที่สุดเมื่อปี2554 ปีที่เกิดอุทกภัยใหญ่ พื้นที่ท้ายน้ำมีมาก เหนือเขื่อนก็ไม่สามารถระบายได้ เคยเก็บน้ำไว้เกือบสูงสุดของปริมาณการกักเก็บ และหากจะทำให้เขื่อนสิริกิติ์มีน้ำมาก กักเก็บเที่ยบเท่าปี2554 ก็ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ปัจจุบันไม่ได้เก็บเพียงอย่างเดียว ต้องระบายไปด้วย ค่าเฉลี่ยที่น้ำเข้าเขื่อน ประมาณ 4,000-5,000 ล้าน ลบ.ม. หากลงเขื่อนโดยไม่มีการระบายเลย 1-2ปีก็เต็มเขื่อน แต่มันต้องมีการรการระบาย เมื่อนำค่าเฉลี่ย ของการไหลเข้าและการระบายมาคำนวน ถ้าเราเก็บน้ำไว้เรื่อยๆ ประมาณ 5 ปี ก็เข้าสู่สภาวะปกติในสภาวะน้ำน้อยจะประคับประคอง ให้ผ่านพ้นสภาวะภัยแล้งไปให้ได้อย่างไร

ปรับตัว สู้ภัยแล้ง เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำ7%

ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ ระบุว่า การระบายน้ำมีวัตุประสงค์เพื่อกิจกรรมต่างๆ หลายประเภท เช่น การเลี้ยงปลากระชัง การผลิตไฟฟ้า จะไม่ได้บอกว่าจะต้องใช้น้ำเท่าไหร่ แต่กิจกรรมหลัก คือ 1.อุปโภคบริโภค 2 .รักษาระบบนิเวศน์ การผลักดันน้ำเค็ม หากมีเหลือก็จะจัดสรรเพื่อการเกษตร อุตาสาหกรรม ส่วนผลพลอยได้ เช่น การผลิตไฟฟ้า การประมง การคมนาคม และการท่องเที่ยว"สภาวะน้ำน้อย ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด ที่ต้องปรับตัว คือ เกษตรกร ชาวนา โดยเฉพาะก่อนหน้านี้ที่ปริมาณน้ำเกือบจะหมด เนื่องจากการปลูกข้าวมาก เพราะเป็นเมืองเกษตรกรเป็นเรื่องจำเป็น แต่ก็โชคดีที่ได้ฝนลงมาช่วยในเดือนสิงหาคม. ถ้าปลายฝน พฤศจิกายนนี้น้ำไม่มาก เกษตรกรก็ต้องเชื่อฟัง และ ปรับตัว หากฝืนก็เสี่ยง ได้รับความเสียหาย ส่วนประชาชนทั่วไปที่ใช้น้ำก็ต้องใช้น้ำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด"

logoline