svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ธีระชัย" ซัด "ประยุทธ์" ปมถวายสัตย์ฯ อวดอุตริ ขัดรัฐธรรมนูญ

06 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากกรณีเฟซบุ๊กแฟนเพจ สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย โพสต์ข้อความของ นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ที่กล่าวถึงกรณีของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้นำคณะรัฐมนตรีถวายสัตย์ปฏิญาณ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ระบุว่า นายกรัฐมนตรี ถวายสัตย์ปฏิญาณด้วยถ้อยคำที่ไม่ครบถ้วน บางคำขาดหายและมีเพิ่มเติมมาบางคำแทน ซึ่งไม่ตรงกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 161

โดยขาดหายไปเป็นสาระสำคัญในประโยคที่ว่า "ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ" ซึ่งในเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันอย่างมาก ว่าการถวายสัตย์ปฏิญาณของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ?

"ธีระชัย" ซัด "ประยุทธ์" ปมถวายสัตย์ฯ อวดอุตริ ขัดรัฐธรรมนูญ


ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 161 บัญญัติไว้ว่า ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้ "ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคลิปของสื่อมวลชนต่าง ๆ ยืนยันได้ว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 161 ปัญหาที่ตามมาจึงเกิดการถกเถียงกันอย่างมากจากกระแสสังคมนักวิชาการและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยออกมาแสดงความกังวล ว่าการถวายสัตย์ปฏิญาณดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายและมีผลสมบูรณ์หรือไม่ หรือมีผลกระทบทางการเมืองทำให้คณะรัฐมนตรีเข้ารับทำหน้าที่โดยถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
โดยหลักสากลและจารีตประเพณีในระบอบประชาธิปไตยในอารยธรรมโลก การกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณของผู้นำประเทศก่อนทำหน้าที่รัฐบาล มีความสำคัญเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งทุก ๆ รัฐบาลจะต้องทำหน้าที่กล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณตามข้อกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดและถูกต้องทุกประการ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นและเงื่อนไขบังคับก่อนที่จะเข้าทำหน้าที่รัฐบาล
ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในการทำหน้าที่บริหารประเทศ โดยเฉพาะในประเทศไทย รัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องปฏิญาณตนก่อนรับหน้าที่ อาทิเช่น ตุลาการ ผู้พิพากษา รัฐมนตรี ซึ่งถือว่าได้ปฏิบัติตามกฎหมายสูงสุด คือกฎหมายรัฐธรรมนูญ

"ธีระชัย" ซัด "ประยุทธ์" ปมถวายสัตย์ฯ อวดอุตริ ขัดรัฐธรรมนูญ


กรณี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะต้องกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณให้ครบถ้อยคำ ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญอันเป็นองค์ประกอบของการถวายสัตย์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่นายกรัฐมนตรีกลับถวายสัตย์ปฏิญาณโดยตัดถ้อยคำว่า "ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ" ออกไป ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญในการที่นายกรัฐมนตรีไม่สามารถละทิ้งถ้อยคำสำคัญนี้ได้อย่างเด็ดขาด
เพราะการปฏิญาณไม่ครบถ้อยคำที่บัญญัติไว้ จะมีผลกระทบทางการเมืองอย่างรุนแรงถึงขนาดอาจทำให้รัฐบาลชุดนี้เป็นโมฆะ ไม่สามารถทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินได้ต่อไป เพราะเป็นผลพวงมาจากการที่นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ และอาจนำไปสู่ข้อกล่าวหาร้ายแรงในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ มาตรา 157 ได้ เช่นกัน
ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดระแวงไม่เชื่อถือต่อผู้นำและคณะรัฐมนตรีชุดนี้ อีกทั้งจะเห็นได้ว่าจนถึงวันนี้ยังไม่มีผู้เกี่ยวข้องในรัฐบาลโดยเฉพาะรองนายกฝ่ายกฎหมายออกมาชี้แจงในเรื่องนี้แต่อย่างใด
สำหรับเรื่องที่นายกรัฐมนตรีถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเกิดด้วยความประมาทเลินเล่อหรือเจตนาหรือไม่หรือเกิดขึ้นด้วยเหตุผลใดก็ตาม ทางออกที่ดีที่สุดคือให้ผู้เกี่ยวข้องในรัฐบาลรีบออกมาชี้แจงและทำความเข้าใจในเรื่องนี้เพื่อให้สังคมได้รับทราบถึงเหตุที่เกิดขึ้น
โดยออกมาแสดงความรับผิดชอบยอมรับความบกพร่องและรีบแก้ไขข้อบกพร่องโดยเร็ว เพราะหากยังปล่อยให้รัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินเนิ่นนานไปก็จะแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ได้ยากและจะเป็นปัญหากับสิ่งที่รัฐบาลได้ทำลงไปก่อนหน้านี้แล้ว

"ธีระชัย" ซัด "ประยุทธ์" ปมถวายสัตย์ฯ อวดอุตริ ขัดรัฐธรรมนูญ


ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้(6 ส.ค.62)   นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ถึงการถวายสัตย์ฏิญาณตนเองพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีว่า
"คาดว่าจะยื่นอภิปราย ไม่ไว้วางใจในเดือน ก.ย."
เท่าที่ผมสังเกต ประเทศส่วนใหญ่จะมีพิธีกรรมให้ผู้นำรัฐบาลใหม่ ต้องกล่าวคำปฏิญาณตน หรือคำสาบานตน ก่อนรับตำแหน่ง
ไม่ว่าต่อพระมหากษัตริย์ ต่อผู้นำทางศาสนา หรือต่อสัญญลักษณ์สำคัญที่สังคมเคารพนับถือ
อังกฤษไม่มีพิธีการสาบาน แต่สมาชิกสภาทุกคนจะต้องมีการสาบานตนต่างหากอยู่แล้ว และบุคคลผู้ที่กษัตริย์อังกฤษทรงให้ไปพบ เพื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องจุมพิตหลังมือ หรือแหวน อันเป็นการยืนยันหน้าที่ของตน
กรณีของไทย พิธีกรรมที่คณะรัฐมนตรีกล่าวคำปฏิญาณต่อหน้าพระพักตร์นั้น เป็นการแสดงเจตนาต่อประชาชน เป็นสัญญาประชาคมต่อหน้าพระมหากษัตริย์
ดังนั้น จึงเป็นพิธีกรรมที่มีความหมายอย่างมากต่อประชาชน
การที่ท่านนายกฯเปลี่ยนแปลงถ้อยคำ ให้แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ นั้น ถ้าหากทำโดยตั้งใจ ก็จะเข้าข่ายอวดอุตริ เดินล้ำเส้นที่กฎหมายขีดไว้
การกระทำเช่นนี้ บ่งชี้ถึงการขาดเสถียรภาพทางอารมณ์ และทางสามัญสำนึก คิดว่าตัวเองสำคัญและมีอำนาจเหนือกว่ากฎหมายสูงสุดของประเทศ
อีกด้านหนึ่ง การกระทำดังกล่าว เข้าข่ายผิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง
และถ้าหากทำโดยตั้งใจ ก็จะเข้าข่ายเจตนากระทำผิดกฎหมายต่อหน้าพระพักตร์ ซึ่งกรณีเช่นนี้ จะแก้สถานการณ์ ด้วยการขอถวายคำปฏิญาณใหม่อีกครั้งหนึ่งได้อย่างไร?
ทั้งหมดนี้ ท่านนายกฯทำให้เกิดปัญหาแก่ตัวเอง โดยตัวท่านเอง เป็นอย่างนี้เท่านั้น มีผู้อื่นไปบังคับขู่เข็ญได้หรือ?
ดังที่ประธานสภาส.ส. คุณชวน ได้กล่าวเมื่อมีผู้ยกเรื่องนี้ขึ้นพูดในสภาว่า เป็นข้อกล่าวหาที่ รุนแรง
7 พรรคฝ่ายค้านที่ตระหนักถึงปัญหานี้ ได้กล่าวแล้วว่า คาดว่าจะมีการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในเดือน ก.ย. นี้
นอกจากนี้ ยังมีนักกฎหมายวิเคราะห์ว่า กรณีถ้าหากมีการจงใจกระทำผิดกฎหมายต่อพระมหากษัตริย์ อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอีกด้วย
ท่านนายกฯจึงจำเป็นต้องเคลียร์เรื่องนี้ให้ชัดเจน

logoline