svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

น้ำแข็งกรีนแลนด์ละลาย​ ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น! กทม.จ่อจมน้ำปี​ 2050

04 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังจับตาดูฤดูหนาวที่จะถึงนี้ว่าน้ำแข็งจะกลับมาจับตัวในขนาดพื้นที่และความหนาเท่าใด เพราะแผ่นน้ำแข็งทั่วโลกเป็นตัวดึงดูดการไหลของกระแสน้ำในมหาสมุทร ทำให้เกิดการสมดุลของการเกิดฤดูกาล ซึ่งสามารถใช้ทำนายความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกและการเตรียมรับมือในอนาคต

น้ำแข็งกรีนแลนด์ละลาย 11 พันล้านตันในวันเดียว เป็นหัวข้อข่าวที่ทำให้ใครหลายคนตื่นตัว แต่ท่ามกลางสภาพอากาศที่กำลังเย็นสบายในวันครึ้มฟ้าครึ้มฝนแบบนี้ ใครอีกหลายคนก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว และกว่าโลกจะถึงวันนั้นตัวเองก็คงจะตายไปก่อนแล้ว

วันนี้เราจะต้องมาชี้ให้เห็นว่าผลกระทบจากน้ำแข็งขั้วโลกที่กำลังค่อยๆละลาย จากภาวะโลกร้อนจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง อย่างน้อยการเรียนรู้ในเรื่องของผลกระทบ อาจจะทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่ายังไม่สายเกินไป ที่จะ ปรับวิถีชีวิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ความเป็นจริงเราไม่อาจหยุดยั้งอะไรไม่ได้อีกแล้ว

น้ำแข็ง 11 พันล้านตัน เทียบเท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิก 4.4 ล้านสระ โดยปกติแล้วน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายในช่วงฤดูร้อน ปลายเดือนพฤษภาคม แต่ปีนี้กลับเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมและคงละลายอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม

จากเดิมนักวิทยาศาสตร์ เคยคาดว่าน้ำแข็งขั้วโลกเหนือจะละลายหมดในอีก 50 ปีข้างหน้า แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปีนี้ทำให้ เชื่อว่า อีกไม่เกิน 10 ปีน้ำแข็งน่าจะละลายหมดไป

เมื่อโลกไม่มีน้ำแข็งสีขาวแผ่นใหญ่คอยสะท้อนความร้อนจากพระอาทิตย์ออกไป โลกก็ร้อนยิ่งขึ้น

น้ำแข็งกรีนแลนด์ที่กำลังละลาย น่าเป็นห่วง เพราะจะส่วนสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นถึง 5 เมตร เรามักได้ยินว่าเหลือเวลาอีกแค่ 10 ปี ในการคุมไม่ให้อากาศร้อนเพิ่มขึ้นเกิน1.5 องศาเซลเซียส ก่อนที่สภาวะอากาศจะเสียหายถาวร ถึงตอนนั้น ปี 2050 กรุงเทพ ก็อาจจะต้องจมน้ำไปแล้ว

แต่ปัญหาเฉพาะหน้าในเวลานี้อาจไม่ใช่ปัญหาน้ำท่วมโลก เพราะมันจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ผลกระทบร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น คือโรคร้ายสายพันธุ์ใหม่

การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจะนำพาสัตว์ที่เคยอยู่ในที่เคยร้อน ไปอยู่ในที่เคยเย็น เมื่อมีการอพยพข้ามถิ่นก็จะนำเชื้อโรคหรือไวรัสติดตัวไปด้วย อาจทำให้เกิดโรคระบาด มนุษย์เราต้องรับมือกับโรคอุบัติใหม่มากขึ้น

มากไปกว่านั้น ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศก็จะกระทบกับความมั่นคงทางอาหารเพราะจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย และภัยธรรมชาติที่นับวันจะรุนแรงยิ่งขึ้น

จากวันนี้เป็นต้นไปทุกอย่างไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ในเมื่อแก๊สเรือนกระจกไม่น้อยลง ก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือให้หนัก

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังจับตาดูฤดูหนาวที่จะถึงนี้ว่าน้ำแข็งจะกลับมาจับตัวในขนาดพื้นที่และความหนาเท่าใด เพราะแผ่นน้ำแข็งทั่วโลกเป็นตัวดึงดูดการไหลของกระแสน้ำในมหาสมุทร ทำให้เกิดการสมดุลของการเกิดฤดูกาล ซึ่งสามารถใช้ทำนายความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกและการเตรียมรับมือในอนาคต..

#วชิรวิทย์ #วชิรวิทย์รายวัน #VAJIRAVIT #VajiravitDaily #Nation #NationTV

logoline