svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

จับตาเปิดประชุม รมต.ต่างประเทศอาเซียน ท่ามกลางความขัดแย้ง จีน สหรัฐฯ ใครได้ ใครเสีย

31 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จับตามองว่าสองตัวแทนจากสหรัฐฯ และจีน จะได้เจรจากันนอกรอบเรื่องของสงครามการค้าระหว่างกันหรือไม่ หลังเกิดความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ซึ่งยังไม่มีทีท่าจะจบลงง่ายๆ ซึ่งที่ผ่านมานั้นทางด้านจีนพยายามขยายอิทธิพลทางการค้าและเศรษฐกิจด้วยการให้เงินกู้สำหรับโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานให้แก่ประเทศที่เข้าร่วมโครงการซึ่งอาเซียน ก็เป็นกำลังสำคัญกับการขยายเศรษฐกิจของจีนเช่นกัน ส่วนทางด้านสหรัฐฯ ได้กลับเข้ามามีบทบาทในอาเซียนอีกครั้ง กับการเดินหน้าทางยุทธศาสตร์การเปิดเสรีภาคพื้นอินโด-แปซิฟิก ซึ่งก็ถูกต่อต้านจากจีนเช่นเดียวกัน

"นายกฯ" เปิดประชุม รมต.ต่างประเทศอาเซียน ภายใต้กรอบคิด"ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน" พร้อมสร้างประชาคมเติบโต นำผลประชุมผู้นำ G20 สร้างความร่วมือ 4 ประเด็น โอกาสเข้าถึงเงินทุน-ลดช่องว่างการพัฒนาชนบท-อนุรักษ์ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม-พัฒนาทุนมนุษย์ ย้ำทุกประเทศต้องนำพาความร่วมมือด้วยสันติภาพวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 เวลา 09.15 น. ที่โรงแรมเซนทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 52 โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และประเทศที่ได้รับเชิญ อาทิ สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี สาธารณรัฐเปรู ราชอาณาจักรนอร์เวย์ สาธารณรัฐตุรกี และสมาพันธรัฐสวิส เลขาธิการอาเซียน เข้าร่วมงาน
โดยนายกฯ กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 52 โดยจุดเริ่มต้นของอาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 ด้วยการลงนามปฏิญญากรุงเทพ ในฐานะที่ไทยเป็นประธานอาเซียนปีนี้ มุ่งมั่นที่จะสร้างประชาคมอาเซียน ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และก้าวไปสู่อนาคต ภายใต้กรอบแนวคิดหลัก "ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน" เพื่อจะสร้างประชาคมให้เติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่าง ๆ โดยจะร่วมมือร่วมใจกับหุ้นส่วนนอกภูมิภาคขับเคลื่อนความยั่งยืนในทุกมิติ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อาเซียนได้สร้างสรรค์ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมที่สำคัญหลายประการ ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ การสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ผู้นำในอาเซียนได้ร่วมรับรองวิสัยทัศน์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน นอกจากนี้ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมกันเปิดตัวคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน ภายใต้โครงการจัดตั้งระบบโลจิสติกส์ฉุกเฉินสำหรับใช้ในกรณีเกิดภัยพิบัติของอาเซียน ที่เรียกว่าศูนย์เดลซ่า (DELSA) และดำเนินการยกระดับศูนย์แพทย์ทหารอาเซียนเป็นองค์กรของอาเซียนอย่างเป็นทางการ รวมไปถึงร่วมรับรองปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน
นายกฯ กล่าวว่า อาเซียนไม่สามารถบรรลุผลได้เพียงลำพัง แต่ต้องเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาอาเซียน และประเทศนอกภูมิภาค รวมทั้งเปิดรับความร่วมมือกับภาคีใหม่ๆ สะท้อนได้จากการเข้าร่วมการประชุมผู้นำ G20 ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนมิถุนายน 2562 ในฐานะประธานอาเซียน โดยได้นำเสนอผลลัพธ์การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือใน 4 ประเด็น ได้แก่
1. การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทางการเงิน เพื่อเปิดโอกาสให้เข้าถึงเงินทุน
2. การลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างเมืองและชนบท ควรจะต้องนวัตกรรมเทคโนโลยีมาช่วยขับเคลื่อน
3. การอนุรักษ์และฟื้นฟู สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาขยะทางทะเล การปรับตัว และ
4. การพัฒนาทุนมนุษย์ คือสิ่งสำคัญที่สุด ทั้งเรื่องการศึกษา การพัฒนาทักษะ และการพัฒนาระบบสาธารณสุข

จับตาเปิดประชุม รมต.ต่างประเทศอาเซียน ท่ามกลางความขัดแย้ง จีน สหรัฐฯ ใครได้ ใครเสีย


พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ดังนั้นการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างโอกาสที่ดี ที่เราจะสร้างความต่อเนื่องจากการประชุมต่างๆ เพื่อสร้างผลลัพธ์ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม จากประเด็นข้างต้นใน 3 แนวทาง ดังนี้
1. การใช้ประโยชน์จากกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ และความร่วมมืออาเซียนกับประเทศคู่เจรจา เพื่อสร้างความยั่งยืนในทุกมิติให้อาเซียน และเพื่อประโยชน์ของประชาชนอาเซียนทุกคน
2. การส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกัน ด้วยการใช้ประโยชน์จากแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนฉบับปัจจุบันกับยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงต่าง ๆ นอกภูมิภาค ในมิติต่าง ๆ
3. การเสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาค ด้วยการเชิญชวนให้มิตรประเทศ ทั้งประเทศใหญ่ และประเทศเล็ก มาร่วมมือบนหลักการของ 3M ด้วยการสร้างบรรยากาศที่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน เคารพและเข้าใจในความแตกต่างหลากหลายระหว่างกัน และมุ่งสู่ผลประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้ง การร่วมกันแก้ไขข้อขัดแย้งโดยสันติวิธี เพื่อจะสร้างและธำรงค์สันติภาพเพื่อความมั่นคงในภูมิภาค สมตามเจตนารมย์ของเราในการก่อตั้งอาเซียน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ตนหวังว่าหวังว่าการประชุมในครั้งนี้ จะถือเป็นโอกาสที่ได้ทบทวนความมุ่งมั่นร่วมกันนี้ และเส้นทางตลอดครึ่งปีที่ผ่านมา เพื่อหาแนวทางในการแสดงเจตนารมย์ร่วมกัน สู่แนวทางปฏิบัติและสร้างสรรค์ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนที่ดีกับมิตรประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศและภูมิภาค และภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดขึ้นได้ในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ในเดือนพฤศจิกายนนี้
"ไม่มีประเทศใดเดินได้เพียงลำพัง เราอยู่บนโลกใบเดียวกัน เราต้องเดินไปด้วยกัน รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน เพราะไม่ว่าจะผืนดิน ผืนน้ำ และอากาศ เป็นของคนทั้งโลก ของคนทุกประเทศ ซึ่งในอาเซียนเราต้องร่วมมือกันนำพาประเทศของเราไปสู่อนาคตที่มั่นคง ยั่งยืนตลอดไป ด้วยความมีสันติภาพ" พล.อ.ประยุทธ์กล่าวสำหรับการประชุม รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 52 เกิดขึ้นในขณะที่โลกนั้นกำลังปั่นป่วนกับสงครามการค้า และ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ไม่ว่าบริเวณทะเลจีนใต้ คาบสมุทรเกาหลี หรือแม้ที่ดูรุนแรงมากกว่าจุดใดนั่นก็คือบริเวณอ่าวเปอร์เซีย ดังนั้นการวางยุทธศาสตร์ของอาเซียนร่วมกันจึงเป็นภารกิจ ที่สำคัญยิ่ง ที่จะนำพาประชาคมอาเซียนให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น การประชุมครั้งนี้ ทางด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทย นายดอน ปรมัตถ์วินัย ยังได้เชิญนายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรมว.กระทรวงการต่างประเทศของจีน มาร่วมประชุมอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว หวัง อี้ จะได้ร่วมประชุมอาเซียน-จีน การประชุมไตรภาคีร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศของเกาหลีใต้และญี่ปุ่น การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชียตะวันออกซึ่งจะเป็นการพบหารือร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียน และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ( เออาร์เอฟ ) ซึ่งนายไมค์ ปอมเปโอ รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะเข้าร่วมการประชุมด้วย แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าทั้งสองคนจะพบหารือกันนอกรอบหรือไม่ เพราะขณะนี้ทั้งสองประเทศกำลังมีปัญหาเรื่องการค้าระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาพื้นที่พิพาทในทะเลจีนใต้ ที่สหรัฐฯ พยายามเข้ามามีบทบาท จากการอ้างสิทธิ์ของจีนในพื้นที่ดังกล่าว
นอกจากนั้นแล้วยังมีนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รมว.กระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ก็จะเดินทางมาร่วมการประชุมครั้งนี้เช่นเดียวกัน
ดังนั้นการประชุมครั้งนี้จึงกลายเป็นเวทีที่ถูกจับตามองจากทั้งโลก เพราะ อาจจะมีการหารือเรื่องความมั่นคงบนคาบสมุทรเกาหลี หลังจากที่เกาหลีเหนือเพิ่งทดสอบขีปนาวุธไปเมื่อไม่นานมานี้ แต่คงไม่มีความคืบหน้าอะไรมากนักเพราะทราบว่าการประชุมครั้งนี้ นายรี ยอง-โฮ รมว.กระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเหนือ จะไม่เดินทางมาเข้าร่วมการประชุม โดยจะส่งเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาแทน ดังนั้นย่อมจะส่งผลกระทบต่อการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีเหนืออย่างแน่นอน
ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งนั้นก็คือการจับตามองว่าสองตัวแทนจากสหรัฐฯ และจีน จะได้เจรจากันนอกรอบเรื่องของสงครามการค้าระหว่างกันหรือไม่ หลังเกิดความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ซึ่งยังไม่มีทีท่าจะจบลงง่ายๆ ซึ่งที่ผ่านมานั้นทางด้านจีนพยายามขยายอิทธิพลทางการค้าและเศรษฐกิจด้วยการให้เงินกู้สำหรับโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานให้แก่ประเทศที่เข้าร่วมโครงการซึ่งอาเซียน ก็เป็นกำลังสำคัญกับการขยายเศรษฐกิจของจีนเช่นกัน ส่วนทางด้านสหรัฐฯ ได้กลับเข้ามามีบทบาทในอาเซียนอีกครั้ง กับการเดินหน้าทางยุทธศาสตร์การเปิดเสรีภาคพื้นอินโด-แปซิฟิก ซึ่งก็ถูกต่อต้านจากจีนเช่นเดียวกัน
นอกจากนั้นแล้วทั้งสองยังคงมีปัญหาการงัดข้อกันในบริเวณทะเลจีนใต้อีกด้วย เนื่องจากว่าจีนได้เข้าไปอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ที่เป็นข้อพิพาทยาวนานในภูมิภาคนี้ และยิ่งตึงเครียดขึ้นเมื่อต้นเดือนนี้ หลังจากเวียดนามกล่าวหาจีนว่าละเมิดอธิปไตยของเวียดนาม ด้วยการขัดขวางการสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในทะเลจีนใต้ ในขณะที่สหรัฐฯ เองก็เข้ามาลาดตระเวนหลายครั้งในพื้นที่แห่งนี้ จนทำให้จีนเองไม่พอใจ ดังนั้นการประชุมร่วมกันครั้งนี้ หลายฝ่ายจับตามองว่าอาเซียนจะมีแถลงการณ์ เกี่ยวกับทะเลจีนใต้ออกมาหรือไม่ หรือว่าหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงเรื่องดังกล่าว อีกครั้ง เพราะสมาชิกหลายประเทศในอาเซียนนั้น ก็ไม่อยากแสดงออกในการต่อต้านจีนนั่นเองดังนั้นคงจะต้องจับตาการประชุมครั้งนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะหลังจบการประชุม แถลงการณ์ร่วมของอาเซียน จะออกมาในรูปแบบไหน และ ใครจะได้ประโยชน์จากการประชุมครั้งนี้มากกว่ากัน เพราะการประชุมครั้งนี้ อาจจะเป็นการกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ของอาเซียนอีกครั้งท่ามกลางกระแส ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอยู่ในทุกภูมิภาคของโลกนั่นเองสถาพร เกื้อสกุล 31-07-2562
อ่านบทความอื่น ๆ ที่นี่ .. https://www.nationtv.tv/main/columnist/59/

logoline