svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

บก.ลายจุด วิจารณ์ "ทิม พิธา" ด้วยกัลยาณมิตร ชี้! นี่ไม่ใช่ข้อเสนอติดกระดุม

29 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในโลกออนไลน์ได้มีการกล่าวถึงกรณีดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ต่างให้ความสนใจและชื่นชมในการอภิปรายของ ทิม พิธา ที่มีการเตรียมตัวมาอย่างดี สามารถอภิปรายได้โดยที่ไม่มีสคริปต์

บก.ลายจุด วิจารณ์ "ทิม พิธา" ด้วยกัลยาณมิตร ชี้! นี่ไม่ใช่ข้อเสนอติดกระดุม


โดยวันที่ 26 ก.ค. นาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ได้อภิปรายเกี่ยว นโยบายการเกษตร ของรัฐบาล ระบุว่า เมื่อดูที่นโยบายพบว่ามันไม่ได้อยู่ระนาบเดียวกัน บางเรื่องเป็นปลายเหตุ ต้นเหตุ บางปัญหาเป็นคอขวด สำหรับตนเอง ที่ดินคือปัญหาคอขวดของปัญหาทั้งหมด เปรียบเหมือนติดกระดุม หากติดถูกจะแก้ปัญหาอื่นได้ง่ายมาก หากติดผิดปัญหาอื่นจะแก้ยาก
เกษตรกรไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ระบบการเงินปกติได้ จนต้องไปกู้นอกระบบ อยู่ในวงจรหนี้สิน ต้องเร่งใช้หนี้ การทำงานก็ต้องปลูกพืชเดิมๆ ใช้วิธีถูกที่สุด ใช้สารเคมีเยอะๆ เพื่อให้สินค้ามีความแน่นอน ปลูกพืชเน้นเชิงเดี่ยว เกษตรกรไทย จึงมีต้นทุนสูง ได้ผลต่ำ แปรรูปสร้างนวัตกรรมใหม่ๆได้ยาก คว้าโอกาสใหม่ๆได้ยาก ยกระดับไม่ได้ เพราะติดปัญหาอย่างเรื่องที่ดิน
กระดุมเม็ดแรกเรื่องที่ดิน มีความกระจุกตัว เหลื่อมล้ำ ไม่ชอบธรรมด้านกฎหมาย ที่ดิน 90% ครองด้วยคน 10% ชาวนา 45% ยังต้องเช่าที่ดินอยู่ ไม่นับปัญหาอื่นๆ เช่นการดึงนักลงทุนผลักดันเขตเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่แม่สอด ที่อมก๋อย เชียงใหม่ รัฐบาลมอบให้เอกชนไปทำการลงทุนได้ พื้นที่ป่าทับที่กว่า 6 ล้านไร่ ปีที่ผ่านมา มีข้อพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชนกว่า 8,000 คดี
ตนเคยไปที่ เนินมะปราง จ.พิษณุโลก เกษตรปลูกมะม่วงส่งไปญี่ปุ่น เกาหลี แต่เกษตรกรไม่มีจีเอพี ก็ถูกกดราคา ที่อุตรดิตถ์ พี่น้องปลูกทุเรียนส่งออกไปจีน ก็ไม่มีจีเอพี ถูกกดราคาอีกเช่นกัน ทำไมเราจึงไม่มีเขตเศรษฐกิจพิเศษของประชาชนชาวไทย ชาวบ้านมาร้องไห้กับตนแล้วถามว่าป่าสงวนนี่สงวนให้ใครกันแน่ ทุนใหญ่หรือประชาชน
ข้อเสนอแนะของตน ขอเสนอให้ยุติข้อพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชน ให้มีบทเฉพาะกาลให้เขาสามารถอาศัยอยู่ได้ สามารถขอน้ำ ประปา ไฟฟ้าได้ ขอให้รับรองสิทธิต่างๆได้หรือไม่
ต่อมาคือเรื่องหนี้สินเกษตรกร ทุกวันนี้เฉลี่ยมีรายได้ 57,000 ต่อปี เฉลี่ยเดือนละ 4,000 กว่าบาท กว่า 40 เปอร์เซ็นของเกษตรกรมีหนี้สินมากว่า 2 เท่าครึ่ง พวกเขาเสียดอกเบี้ย 20% ต่อเดือน ขณะที่ตนเสียเพียง 6% ต่อปี นี่คือความเหลื่อมล้ำ ต่อให้พักหนี้เขากี่ปีก็ไม่มีเปลี่ยนแปลง เป็นไปได้หรือไม่ วิธีแก้ใช้วิธีประเมินค่าใช้จ่ายในอดีตเป็นเครดิต เป็นต้น
สำหรับเรื่องกัญชา ไทยสามารถเป็นฮับกัญชาทางการแพทย์ได้ แต่ต้องห่วงเรื่องการป้องกันการผูกขาดกัญชา เพราะห่วงทุนใหญ่ผูดขาดการสกัดกัญชา จะทำอย่างไร จะทำให้ไทยเป็นฮับกัญชาการแพทย์ ไทยเป็นฮับเบอร์ 1 ของเอเชีย
สำหรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กระแสของโลกกำลังมาเรื่องการเกษตรเชิงท่องเที่ยว แต่ของไทยยังติดเรื่องกฎหมาย ที่ดิน ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐาน ถ้าท่านพักหนี้เกษตรกรเพียงอย่างเดียว เขาก็อยู่ได้แค่ 3 ปี จากนั้นก็กลับมา จะให้แปรรูปเขาก็ไม่มีเงินออม จะสนับสนุนท่องเที่ยวเกษตร ถ้าไม่ปลดล็อกที่ดินก็ทำไม่ได้ จำเป็นต้องเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา
เรื่องทรัพยากรน้ำ พื้นที่เพาะปลูก มีพื้นที่แล้งซ้ำซากพอๆกับพื้นที่ชลประทาน ขอเสนอเรื่องการแก้ด้วยอำนาจ ทั้งระดับประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่น เช่นเรื่องแม่น้ำโขง จะทำอย่างไรให้ไม่มีความขัดแย้ง เรื่องท้องถิ่น ต้องให้อำนาจตัดสินใจเอง ในมิติเรื่องชนชั้น ควรแก้ไขเรื่องการเข้าถึงน้ำด้วยเรื่องภาษี เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
ส่วนเรื่องนโยบายหลัก 12 ข้อ คำถามคือเกษตรกรไทยจะอยู่ตรงไหนบนเวทีโลก จำนวนเกษตรกรไทยลดลงเรื่อยๆ ฝากถามไปยัง ครม. มีนโยบายอะไร ที่จะดึงดูดคนรุ่นใหม่ไปสู่ภาคการเกษตรได้ เรื่องเครื่องจักรการเกษตร
ที่อยากถามว่ามีแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรหรือไม่ และอาชีวะจะมีส่วนพัฒนาอย่างไร ตนยังมีความหวังในการแก้การเกษตร ถ้าเราจริงใจ เชื่อว่าพี่น้องเกษตรกรไทย ยังสามารถมีชีวิตอยู่ดีมีสุขได้ล่าสุด (29 กรกฎาคม) นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงนาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่โดยมีข้อความระบุว่า ...

บก.ลายจุด วิจารณ์ "ทิม พิธา" ด้วยกัลยาณมิตร ชี้! นี่ไม่ใช่ข้อเสนอติดกระดุม


วิจารณ์ ทิม พิธา ด้วยกัลยาณมิตร
ผมยืนยันว่าเราต้องวิจารณ์เพื่อนได้ หากการวิจารณ์นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม และผมไม่เชื่อว่าชาวอนาคตใหม่จะไม่เปิดรับฟังคนเห็นต่าง
==== ข้าวตันละ 3 หมื่น ส่งนอกเอง ===
คุณทิมอภิปรายว่า ไปพบชาวนาอินทรรีย์ที่รวมกลุ่มและส่งออกข้าวเอง ได้ตันละ 30,000 บาท จนเอ๋ ราชบุรี ร้องเหว่อว่ามีจริงหรือจะยกพวกไปดูงาน ในฐานะพ่อค้าข้าวลายจุดผมมีข้อสังเกตุดังนี้
1.ข้าวสารตันละ 3 หมื่นมาจากข้าวเปลือก 2 เกวียน เฉลี่ยแล้วข้าวเปลือกตันละ 15,000 บาท
2.ค่าขนส่งจากพื้นที่ไปถึงท่าเรือเป็นราคาเท่าไหร่ต่อตัน เพื่อจะหักลบว่า ตกลงราคาข้าวเปลือกจะเหลือเท่าไหร่ ?
3.องค์กรที่รับซื้อข้าวไปที่ขายที่ EU เป็นองค์กรประเภทไหน เป็น Social Enterprise หรือเป็นพ่อค้าข้าวธรรมดา มีเพดานการรับซื้อในเชิงปริมาณมั๊ย หากเราสามารถส่งข้าวคุณภาพนี้ได้เพิ่มอีกหลายแสนตัน
4.ประเทศเพื่อนบ้านเรา อย่างพม่า เขมร ปลูกข้าวอินทรีย์มหาศาล ข้อจำกัดของเขามีอย่างเดียวคือระบบขนส่งในประเทศมันแย่มาก ถ้าจะแข่งขันในตลาดข้าวอินทรีย์กับพวกเขาเรามั่นใจมั๊ยว่าเราแข่งได้จริงๆในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้
==== ปัญหาการผลิต หรือ ปัญหาการตลาด ====
สิ่งที่คุณทิมอภิปรายเรื่องการปรับปรุงคุณภาพการผลิต และการลดต้นทุนของเกษตรกรผมไม่ติดขัด แต่คุณทิมไม่ได้เสนอการแก้ปัญหาด้านราคาพืชผลการเกษตรแบบทั้งระบบและมองไม่เห็นรากของปัญหาที่แท้จริง คือ เรื่องปริมาณผลผลิตที่ล้นการบริโภคในประเทศในระดับที่ต้องพึ่งพาการส่งออกและส่งผลสะท้อนกลับมาที่ราคาในประเทศในที่สุด
ถ้าจะแก้ปัญหาภาพใหญ่ของสินค้าการเกษตรคือต้องแก้ที่การทำให้ Demamd Supply ของสินค้าแต่ละตัวสอดคล้องกัน โลกผ่านช่วงการเกษตรแบบเพิ่มผลผลิตมาระยะหนึ่งแล้ว เมื่อก่อนคนจีนเคยอดตายเป็นล้านคนเพราะภัยแล้ง ญี่ปุ่นต้องแบกพ่อแม่ที่แก่เฒ่าไปตายบนยอดเขาเพื่อให้ลูกหลานมีข้าวเหลือกิน สหภาพโซเวียตเคยซื้อข้าวไทยเพราะข้าวสาลีไม่เพียงพอ แต่เมื่อ 3ปีก่อนข้าวสาลีของรัสเซียท่วมโลกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
สินค้าเกษตรทั่วโลกตอนนี้คือ การผลิตล้นความต้องการบริโภค คำตอบเรื่องนี้คือ Zoning + Big Data เราต้องลดปริมาณการผลิตลง 30 % เปลี่ยนพื้นที่การผลิตพืชไร่ ไปสู่กการผลิตพืชพลังงาน ป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ และการทำธนาคารต้นไม้ หรืออุตสาหกรรมไม้ยืนต้นเพื่อเป็นเงินออมระยะยาว
เอาเฉพาะไฟฟ้าที่ต้องการเพิ่มขึ้นหลังรถยนต์เปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาปปีหนึ่งก็เกินล้านๆบาทแล้ว มากพอที่จะเอาพื้นที่ๆหายไปจากการเปิดพืชไร่มาผลิตไฟฟ้า
นี่ไม่ใช่ข้อเสนอติดกระดุม แต่คือการออกแบบชุดคิดด้านการเกษตรไทยทั้งหมด ปฏิวัติการเกษตรแห่งยุคสมัยที่แท้จริง
ด้วยความปราถนาดี
สมบัติ บุญงามอนงค์
พรรคเกียน

บก.ลายจุด วิจารณ์ "ทิม พิธา" ด้วยกัลยาณมิตร ชี้! นี่ไม่ใช่ข้อเสนอติดกระดุม

logoline