svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ศิษย์เก่าจุฬาฯ ช่วย "เมเจอร์" แจงข้อสงสัย โพสต์ขออภัยทำไม

24 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากกรณีที่ "อ้น" สราวุธ มาตรทอง ได้บันทึกภาพชายคนหนึ่งที่มิได้ลุกขึ้นยืนถวายความเคารพต่อเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งบรรเลงขึ้นก่อนการฉายภาพยนตร์ พร้อมกับแสดงความไม่พอใจต่อพฤติการณ์ของชายคนนั้น แล้วนำมาโพสต์ทางโซเชียลมีเดีย

ศิษย์เก่าจุฬาฯ ช่วย "เมเจอร์" แจงข้อสงสัย โพสต์ขออภัยทำไม


และต่อมา ทางเครือเมเจอร์ ได้โพสต์ผ่านเพจ ทำนองว่า การถ่ายภาพหรือคลิปวิดีโอ ในโรงภาพยนตร์นั้นเป็นความผิดมีโทษจำคุกหกเดือนถึงสี่ปี และปรับตั้งแต่ ๑- ๘ แสนบาทนั้น

ศิษย์เก่าจุฬาฯ ช่วย "เมเจอร์" แจงข้อสงสัย โพสต์ขออภัยทำไม

.

ศิษย์เก่าจุฬาฯ ช่วย "เมเจอร์" แจงข้อสงสัย โพสต์ขออภัยทำไม

.

ศิษย์เก่าจุฬาฯ ช่วย "เมเจอร์" แจงข้อสงสัย โพสต์ขออภัยทำไม


ต่อมา น.ส.ศุภมาส เสนะเวส ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ศุภมาส เสนะเวส ถึงกรณีดังกล่าว โดยมีเนื้อหาระบุว่าเพื่อมิให้เป็นการเลอะเทอะกันไปใหญ่่ ข้าพเจ้าขอให้ความรู้ข้อกฎหมายพอสังเขปดังนี้
๑.กรณีมิได้ยืนถวายความเคารพ โดยมิได้แสดงอาการอื่นใด เพียงนั่งเฉย ๆ ไม่ถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ตามแนวคำพิพากษาที่มีมาแล้วหลายคดี ยกเว้นมีการตะโกนถ้อยคำ หรือแสดงอาการอื่นที่แสดงการดูถูกดูหมิ่น จึงจะเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
๒.การไม่ยืนถวายความเคารพ แต่เดิมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติพ.ศ.๒๔๘๕ ซึ่งมีพระราชกฤษฎีกา ประกอบ ว่าต้องยืนทำความเคารพ เพลงชาติ เพลงสรรเสริญ ฯลฯ โดยมีโทษปรับไม่เกิน ๑๐๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่ปัจจุบัน เราได้ยกเลิกพระราชบัญญัติ ๒๔๘๕ มาใช้พระราชบัญญัติวัฒนธรรม พ.ศ.๒๕๕๓ แทน ซึ่งไม่มีเรื่องนี้ จึงเข้าใจได้ว่า ปัจจุบัน ไม่มีกฎหมายบังคับในเรื่องนี้
จึงเป็นเรื่องจิตสำนึกและการรู้การควรไม่ควร เป็นเรื่องที่คนทั่วไปติเตียนมากกว่า
๓ . อย่างไรก็ตาม การที่เพจเมเจอร์ออกมาโพสต์ข้อความตามหน้า ๒ ก็เป็นเรื่องของการนำกฎหมายมากล่าวอย่างบิดเบือน เพราะตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ การจะมีบทลงโทษตามที่กล่าวอ้าง ซึ่งสรุปมาจากมาตรา ๖๙ วรรค ๒ ของพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้น (ดูความในภาพที่ ๔)
เป็นบทลงโทษของการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๙ (ดูความในภาพที่ ๓) สรุปความคือ#เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
#โดยการจัดทำสื่อโสตทัศน์
#ภาพยนต์
#สื่อบันทึกเสียง
#เพื่อแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำ
#เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือมีการเรียกเก็บเงิน
ซึ่งจะเห็นได้ว่า การกระทำของคุณอ้นไม่ได้เข้าองค์ประกอบเหล่านี้แต่ประการใด
คุณอ้นถ่ายคลิปคนที่ไม่ยืนขึ้นถวายความเคารพ
แต่ไม่ได้ถ่ายคลิป ถ่ายวิดีโอ ภาพยนต์ที่กำลังฉายเพื่อนำมาแพร่ซ้ำ
และมิได้มีผลประโยชน์ทางการค้าใด ๆเลย
เหนือสิ่งอื่นใด
#กฎหมายที่มีโทษทางอาญาเช่นนี้ จะ #ต้องดูที่เจตนาเป็นสำคัญ
กรณีที่เกิดขึ้นจะเห็นว่า คุณอ้นก็มิได้มีเจตนาจะบันทึกวิดีโอภาพยนต์ดังกล่าวเลย เป็นการถ่ายขณะบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีแสดงการไม่ยืนขึ้นของชายผู้นั้นเท่านั้น มิได้มีเจตนานำภาพหรือวิดีโอของภาพยนต์เรื่องที่ฉายมาเผยแพร่แต่ประการใด คนทั่วไปยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่านั่นคือภาพยนต์เรื่องใด
#คุณอ้นจึงไม่ต้องกังวลใดๆทั้งสิ้น
ถามว่า เราหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายอะไรในขณะชมภาพยนต์ได้หรือไม่ ?
ตอบว่า ได้ ถ้าไม่ใช่การบันทึกภาพหรือเสียงภาพยนต์ที่กำลังฉายอยู่
เช่น หุ้นส่วนโทร.มาบอกให้ช่วยถ่ายภาพบัตรประชาชนส่งไลน์ให้ตอนนั้น เพื่อใช้ประกอบการทำธุรกรรมเร่งด่วน เป็นต้น
ผู้มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่สมควรอย่างยิ่ง ที่จะใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือมาข่มขู่คนแบบผิด ๆ
#ก็ไม่ทราบว่าแอดมินของเพจเมเจอร์คิดอะไรอยู่
ศุภมาส เสนะเวส
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒

ศิษย์เก่าจุฬาฯ ช่วย "เมเจอร์" แจงข้อสงสัย โพสต์ขออภัยทำไม

-----
ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวได้ถูกปลุกให้ลุกฮือขึ้นมาเพราะ"น.ส. ปารีณา ไกรคุปต์" สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพผ่านเฟซบุ๊ก "ปารีณา ไกรคุปต์" ถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุว่าเมื่อผู้บริหาร เมเจอร์ คิดได้แค่นี้
ไปดูหนังที่ SF ก็ได้
#เข้าใจความรู้สึกอ้นคะ

ศิษย์เก่าจุฬาฯ ช่วย "เมเจอร์" แจงข้อสงสัย โพสต์ขออภัยทำไม

---------
ต่อมา "กนก รัตน์วงศ์สกุล" โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึง อ้น สราวุธ โดยระบุข้อความ ดังนี้
หงุดหงิด กับเรื่องที่เฟซบุ๊ค เพจเมเจอร์
โพสต์คล้ายข่มขู่ "อ้น สราวุธ"
จากกรณีที่ "อ้น สราวุธ มาตรทอง" ได้บันทึกภาพชายคนหนึ่งที่ไม่ยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้วระบายความรู้สึกไม่พอใจต่อพฤติกรรมของชายคนนี้ ก่อนจะลบโพสต์
แล้วมีชาวเน็ตบางส่วน อ้างว่าการนั่งขณะเพลงสรรเสริญบรรเลงนั้น เป็นสิทธิส่วนบุคคล และโต้กลับนักแสดงหนุ่มว่า การถ่ายภาพในโรงภาพยนตร์เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
มิหนำซ้ำ เฟซบุ๊ก Major Group โพสต์ข้อความในลักษณะคล้ายข่มขู่ อ้น สราวุธ ว่า..
"การแอบถ่ายขณะที่ภาพยนตร์กำลังฉายอยู่ ไม่ว่าจะเป็นรูปหรือคลิปลงโซเชียลโดยที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตทั้งภาพและเสียงจากภาพยนตร์ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
ทั้งๆ ที่ อ้น สราวุธ ไม่ได้ถ่ายภาพขณะที่หนังฉายแล้ว.. แต่เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ กลับใช้คำว่า "การแอบถ่ายขณะที่ภาพยนตร์กำลังฉายอยู่.."
และจะมีศักกี่ท่าทราบว่า เดี๋ยวนี้ถ้าไม่ยืนขณะเพลงสรรเสริญฯบรรเลงในโรงหนัง ไม่ถือเป็นความผิด ตามที่เฟซบุ๊คศุภมาส เสนะเวส ศิษย์เก่าจุฬาฯ โพสต์อธิบายว่า..
กรณีมิได้ยืนถวายความเคารพ โดยมิได้แสดงอาการอื่นใด เพียงนั่งเฉยๆ ไม่ถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามแนวคำพิพากษาที่มีมาแล้วหลายคดี ยกเว้นมีการตะโกนถ้อยคำ หรือแสดงอาการอื่นที่แสดงการดูถูกดูหมิ่น จึงจะเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
การไม่ยืนถวายความเคารพ แต่เดิมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ซึ่งมีพระราชกฤษฎีกาประกอบว่า ต้องยืนทำความเคารพ เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี ฯลฯ โดยมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่ปัจจุบัน เราได้ยกเลิกพระราชบัญญัติ ๒๔๘๕ มาใช้พระราชบัญญัติวัฒนธรรม พ.ศ.๒๕๕๓ แทน ซึ่งไม่มีเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม การที่เพจเมเจอร์ออกมาโพสต์ข้อความ ก็เป็นเรื่องของการนำกฎหมายมากล่าวอย่างบิดเบือน เพราะตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 การจะมีบทลงโทษตามที่กล่าวอ้าง..
ต้องเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพ โดยการจัดทำสื่อโสตทัศน์ ภาพยนตร์ สื่อบันทึกเสียง เพื่อแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำในโรงภาพยนตร์ในขณะฉายภาพยนตร์ เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือมีการเรียกเก็บเงิน
ทั้งนี้การกระทำของ อ้น สราวุธ ไม่ได้เข้าองค์ประกอบเหล่านี้แต่ประการใด อ้น สราวุธ ถ่ายคลิปคนที่ไม่ยืนขึ้นถวายความเคารพ แต่ไม่ได้ถ่ายคลิป ถ่ายวิดีโอ ภาพยนตร์ที่กำลังฉายเพื่อนำมาแพร่ซ้ำ และมิได้มีผลประโยชน์ทางการค้าใดๆ แต่เหนือสิ่งอื่นใด กฎหมายที่มีโทษทางอาญาเช่นนี้ จะต้องดูที่เจตนาเป็นสำคัญ
กรณีที่เกิดขึ้นจะเห็นว่า อ้น สราวุธ ก็มิได้มีเจตนาจะบันทึกวิดีโอภาพยนตร์ดังกล่าวเลย เป็นการถ่ายขณะบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีแสดงการไม่ยืนขึ้นของชายผู้นั้นเท่านั้น มิได้มีเจตนานำภาพหรือวิดีโอของภาพยนตร์เรื่องที่ฉายมาเผยแพร่แต่ประการใด คนทั่วไปยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่านั่นคือภาพยนตร์เรื่องใด
"ถามว่า เราหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายอะไรในขณะชมภาพยนตร์ได้หรือไม่ ตอบว่า ได้ ถ้าไม่ใช่การบันทึกภาพหรือเสียงภาพยนตร์ที่กำลังฉายอยู่ "
"..เช่น หุ้นส่วน โทร.มาบอกให้ช่วยถ่ายภาพบัตรประชาชนส่งไลน์ให้ตอนนั้น เพื่อใช้ประกอบการทำธุรกรรมเร่งด่วน เป็นต้น ผู้มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่สมควรอย่างยิ่ง ที่จะใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือมาข่มขู่คนแบบผิดๆ ก็ไม่ทราบว่าแอดมินของเพจเมเจอร์คิดอะไรอยู่"
ผมเข้าใจคุณอ้น ในยุคที่ไม่รู้ว่าจะไปเจอคนอย่าง "ยัยช่่อ" ที่โพสต์ "ประสบความสำเร็จ ในการดูหนัง โดยไม่ต้องยืนตรงถวายความเคารพเพลงสรรเสริญฯ.."
และผมตัดสินใจได้ละ.. จากนี้ไปจะไปดูหนังที่ SF

ศิษย์เก่าจุฬาฯ ช่วย "เมเจอร์" แจงข้อสงสัย โพสต์ขออภัยทำไม

-----
ล่าสุด วันที่ 19 กรกฎาคม 2562 เวลา 22.24 น. "เมเจอร์ กรุ๊ป" ได้โพสต์ข้อความ ผ่านเฟซบุ๊ก Major Group แสดงความเสียใจต่อกรณีดังกล่าว โดยระบุข้อความว่า
ประกาศขออภัย
ทีมงานเพจ Major Group ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงต่อกรณีที่โพสต์และส่งผลกระทบให้เกิดความไม่สบายใจขึ้นในโลกออนไลน์ ทางทีมงานขอน้อมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยจะปรับปรุงการสื่อสารให้มีความรัดกุมและระมัดระวังป้องกันมิให้มีเหตุการณ์ผิดพลาดเช่นนี้เกิดขึ้นอีก
จึงประกาศขอแสดงความเสียใจและขออภัยเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้
ทีมงานเพจ Major Group

ศิษย์เก่าจุฬาฯ ช่วย "เมเจอร์" แจงข้อสงสัย โพสต์ขออภัยทำไม

ล่าสุด น.ส.ศุภมาส เสนะเวส ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ศุภมาส เสนะเวส ถึงกรณีที่เพจเมเจอร์ออกมาขอโทษโดยมีเนื้อหา ระบุว่า...
ตามนั้น
หลังจาก...
และลูกเพจก็ยังมีความเข้าใจผิดเหมือนเดิมว่า แอดมินเมเจอร์ทำถูกที่เล่นงาน
#คนละเมิดกฎของโรงหนัง
#ใครถ่ายรูปในโรงหนังถือว่าผิดเมเจอร์ควรอธิบายด้วย ว่าที่ขอโทษเพราะแจงข้อกฎหมายไม่ถูกต้อง นำมาขู่โดยไม่รับกับข้อเท็จจริง
Kanok Ratwongsakul

ศิษย์เก่าจุฬาฯ ช่วย "เมเจอร์" แจงข้อสงสัย โพสต์ขออภัยทำไม

logoline