svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

อุตุฯคาด ครึ่งหลังสิงหาคม จะมีฝนช่วยบรรเทาภัยแล้ง

22 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมอุตุนิยมวิทยา ประเมินเดือนสิงหาคมจะมีฝนช่วยบรรเทาเเล้ง แต่ยังห่วงภาคเหนือ อีสานตอนกลาง ที่ฝนเข้าไม่ถึงจะเดือดร้อนหนักแนะหยุดเพาะปลูทันที รอฝนตกอย่างสม่ำเสมอ ชี้ ทางรอดต้องรอพายุเข้า 1-2 ลูก ภาคอีสานถึงจะมีน้ำเพียงพอ

นายสุรพงษ์ สาระปะ โฆษกกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยกับเนชั่นทีวี ประเมินสถานการณ์ภัยเเล้งที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ขณะนี้ โดยระบุว่า หากพิจารณาปริมาณฝนในภาพรวมตั้งแต่เข้าฤดูฝนเดือนพฤษภาคม 2562 ภาคเหนือ ภาคอีสาน ฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยร้อย20-40 ถือว่าค่อนข้างมาก แต่พื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน ภาคตะวันออกฝนค่อนข้างมาก สาเหตุหลักเนื่องจากปีนี้ ได้รับฝนจากอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เพียงปัจจัยเดียว ฝนจึงไปตกมากด้านขอบฝั่งอันดามัน และ ด้านตะวันออก ซึ่งเป็นด้านรับลา แต่พื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ไม่ใช่พื้นที่รับลมความชื้นจึงไม่เพียงพอ ทำให้มีปริมาณฝนค่อนข้างน้อย อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญปี2562ไทยเผชิญภูมิอากาศผันแปรจากปรากฏการณ์ ''เอลนิโน''กำลังอ่อน ทำให้ลมตะวันออกที่จะพัดนำความชื้นมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกทะเลจีนใต้ มาปะทะกับลมตะวันตกเฉียงใต้มีไม่มากนัก ทำให้ไทยตอนบน เหนือ อีสาน กลาง ฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่ผ่านมาค่อนข้างมาก
สำหรับ "เอลนิโน " กำลังอ่อนจะกระทบไปจนถึงเดือนสิงหาคม จากนั้นจะเข้าสู่สภาวะความเป็นกลาง ผลกระทบจาก เอลนิโน่ จะต่อเนื่องอีกประมาณหนึ่งเดือน จากนั้นสถานการณ์ฝนจะเริ่มดีขึ้น พออากาศร้อนน้อยลง จีนอากาศร้อนน้อยลง ประกอบกับช่วงเดือนสิงหาคม ร่องมรสุม หรือ ร่องฝนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ อีสาน บวกกับอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อนที่อาจจะพัดผ่านเข้ามาทางทะเลจีนใต้ ไทยก็จะกลับมามีฝนอีกครั้ง
สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งปีนี้ หากดูปริมาณฝนในเเง่อุตุนิยมวิทยา ถือว่าฝนค่อนข้างน้อยตั้งแต่ช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงกลางพฤษภาคม และ หากเปรียบเทียบสภาวะภัยแล้งของไทยที่ประสบภัยแล้งหนักๆ คือ 2550-2558 ในปี2562 อาจจะยังไม่รุนแรงถึงขั้นนั้น สำหรับปีนี้ที่ได้รับผลกระทบมาก คือ พื้นที่นอกเขตชลประทาน
สำหรับสถานการภัยแล้ง จะเริ่มคลี่คลายเมื่อใด และ จะประสบภัยแล้งยาวนานแค่ไหน โฆษกกรมอุตุนิยมวิทยา ประเมินว่า หลังจากเดือนสิงหา จะดีขึ้น ฝนจะเริ่มลงมาจากภาคเหนือตอนบน อีสานตอนบน และ พื้นที่ภาคกลาง เกษตรกรที่จะเพาะปลูกตอนนี้ ต้องหยุดเพราะปลูกทันที รอให้ฝนกลับมาตกอย่างสม่ำเสมอช่วงเดือนสิงหาคมฝนที่ตกตอนนี้ ถึงจะมีตกลงมาก็ไม่เพียงพอ เนื่องจากความชุมชื่นในดินยังไม่เพียงพอ
สำหรับพื้นที่ ประสบภัยแล้งที่น่าเป็นห่วง เวลานี้ หากมองจากพื้นที่ที่ฝนตก ตอนนี้ฝนจะอยุ่บริเวณขอบประเทศพื้นที่ติดอยู่กับพม่า ภาคเหนือซีกตะวันตกพื้นที่เหล่านี้ฝนค่อนข้างดี แม่ฮ่องสอน จ.ตาก แต้พื้นที่ตอนกลาง ลงมาเชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย แพร่ พิษณุโลก น้ำน้อยทั้งหมดเป็นพื้นที่น่าเป็นห่วงมาก พื้นที่ราบสูงโคราชตรงกลางภาคอีสานก็ค่อนข้างน้อย ฝนที่จากภาคอีสานก็ตกริมโขง ส่งนพื้นที่ภาคกลางคือพื้นที่นอกเชตชลประทาน
คาดการณ์ฝนที่จะตก ในช่วงเดือนสิงหาคม น้ำฝนที่จะลงเขื่อนสินิกิตติ์ พอแนวฝนเลื่อนลงมาขากจีนไทยตอนบน น้ำจะมาเติมเชื่อนสิริกิตติ์ได้ต่อนข้สงมาก ส่วนเชื่อนภูมมิพลในช่วงนี้ก็พอจะมีบ้างเล็กน้อย แต่น้ำจะเช้าเขื่ินภูมิพลจริงๆคือช่วงเดือนกันยายน ช่วงที่เเนวฝนพาดผ่าน เขื่ินภูมิพลคงต้องรอสักพักใหญ่ ส่วนอีกเขื่อนทร่น่าห่วง คือ เขื่อนอุบลรัตน์ ภาคอีสานไม่มีน้ำแล้ว ภาคอีสานต้องรอให้มีพายุเข้ามาหนึ่งลูก หรือ แนวร่องมรสุมพาดผ่าน จึงจะมีปริมาณน้ำในเพียงพอนายสุรพงษ์ ประเมินด้วยว่า ปัจจัยที่จะมาช่วยเพิ่มน้ำในภาคการเกษตร รอฝนจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต่อการเพาะปลูกอย่างแน่นอน ต้องหวังได้รับฝนจากพายุ ซึ่งปัจจุบัน มีการคาดการณ์ล่วงหน้า มีการวางแผนรับมือ ได้หนึ่งถึง 2 สัปดาห์
สำหรับพื้นที่ลำตะตองมีน้ำอุปโภคบริโภคแน่นอน แต่ที่น่าเป็ยห่วงคืออ่างเก็บน้ำขนาดเล็กหลายอ่างแทบจะไม่มีน้ำแล้ว ส่วนลุ่มน้ำภาคกลางอย่างเขื่อนป่าสักชลสิทธ์ ที่น้ำเหลือ 4% นั้น น้ำที่ใช้ส่วนใหญ่สนับสนุน เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิตติ์ ในล่มน้ำพาคกลาง ใช้รักษาระบบนิเวศน์ ในช่วงต้นฝนน้อย แต่ในช่วงสิงหาคม เมื่อร่องฝนเริ่มลงมา น้ำจะลงเขื่อนมาก ประกอบกับเขื่อนป่าสักฯ เป็นด้านรับลมฝนค่อนข้างดี ก็จะได้รับน้ำ รวมถึงน้ำที่จะมาจากจังหวัดเพชรบูรณ์
สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งเชื่อว่า เราจะผ่านพ้นไปได้ เนื่องจากรัฐบาลเร่งช่วยเหลือแก้ไขเฉพาะหน้า ส่วนเรื่องธรรมชาติอยู่ที่การคาดการณ์ ที่สำคัญาคเกษตรกร ต้องบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูก ไม่ควรจะเพาะปลูกเพิ่มเติมเเล้ว หลังจากนี้การบริหารจัดการน้ำจะต้องวางแผนจัดการอย่างเป็นระบบเข้มงวดเพื่อวางเเผนเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงฤดูแล้ง ซึ่งจะต้องประเมินในช่วงปลายฤดูฝน

logoline