svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

สหรัฐฯ จ้องล้มอิหร่านไม่ใช่เพราะนิวเคลียร์ แต่เพราะน้ำมัน

21 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถานการณ์ที่นี่ตึงเครียดนับตั้งแต่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน และเดินหน้าเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรฝ่ายเดียวต่ออิหร่าน ตามด้วยการเกิดเหตุวินาศกรรม ต่อเรือบรรทุกน้ำมัน หลายครั้งซึ่งสหรัฐฯ กล่าวหาเป็นฝีมืออิหร่าน ก่อนหน้านี้ทางด้านกองทัพสหรัฐฯ อ้างการยิงโดรนของอิหร่าน แต่อิหร่านกล่าวว่าอีกฝ่ายพลาด ยิงโดรนของตัวเอง การสร้างกระแสโจมตีอิหร่านในขณะนี้ของทางด้านสหรัฐฯ นั้นยังไม่เคยพูดถึงเรื่องของน้ำมัน แม้แต่ครั้งเดียว โดยทางด้านสหรัฐฯ มักจะพูดไปถึงเรื่องของนิวเคลียร์ แต่ถ้ามองย้อนกลับไปของการก่อเหตุในลักษณะนี้ของสหรัฐฯในตะวันออกกลางตั้งแต่หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 แล้ว ทุกครั้งล้วนแล้วแต่เกี่ยวเนื่อง เกี่ยวพันกับเรื่อง "น้ำมัน" ทั้งสิ้น

สถานการณ์บริเวณอ่าวเปอร์เซีย ดูเหมือนว่ากำลังระอุมากขึ้นทุกขณะ หลังจากที่ทางด้านนาวิกโยธินของอังกฤษ ได้เข้าควบคุมเรือบรรทุกน้ำมันของอิหร่าน ที่ชื่อว่า เกรซ วัน ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ในดินแดนของยิบรอลตาร์ โดยกล่าวหาเรือลำดังกล่าวว่ากำลังละเมิดการคว่ำบาตรของอียู ต่อซีเรีย โดยหาว่าเรือลำดังกล่าวกำลังบรรทุกน้ำมันไปส่งยังประเทศซีเรีย นั่นเอง

สหรัฐฯ จ้องล้มอิหร่านไม่ใช่เพราะนิวเคลียร์ แต่เพราะน้ำมัน

หลังจากนั้นทางด้านกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิหร่าน หรือ ไออาร์จีซี ก็ประกาศที่จะเดินหน้าในการยึดเรือน้ำมันของทางด้านอังกฤษ กลับคืนบ้าง และ เรื่องราวทั้งหมด ก็กำลังเข้าสู่สถานการณ์วิกฤติ เมื่อ กองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิหร่าน ได้ออกแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 ว่าพวกเขาได้ทำการยึดเรือบรรทุกน้ำมันของอังกฤษ บริเวณช่องแคบฮอร์มุซ เนื่องจากเรือลำดังกล่าวละเมิดกฎหมายพาณิชย์นาวีระหว่างประเทศ และได้ทำการตรวจค้นเรือบรรทุกน้ำมันของสหราชอาณาจักรอีกลำหนึ่ง ซึ่งจดทะเบียนที่ไลบีเรียแต่ไม่พบความผิดปกติ จึงอนุญาตให้เดินทางต่อไป



สหรัฐฯ จ้องล้มอิหร่านไม่ใช่เพราะนิวเคลียร์ แต่เพราะน้ำมัน



รายงานของทางอิหร่าน ไม่ได้ระบุชื่อเรือบรรทุกน้ำมันของอังกฤษทั้งสองลำ แต่กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ ได้เผยข้อมูลของเรือลำที่ 2 ชื่อเรือเมสดาร์ เป็นของบริษัทนอร์บัลก์ ชิปปิ้ง ในสกอตแลนด์ แต่จดทะเบียนเรือที่ไลบีเรีย โดยในช่วงเกิดเหตุมีลูกเรือ 25 คน และอยู่ภายใต้การควบคุมของไออาร์จีซีนานหลายชั่วโมง ก่อนได้รับอนุญาตให้เดินเรือต่อไป อย่างไรก็ตาม บริษัทสเตนา บัลก์ ในสวีเดน ซึ่งเป็นเจ้าของเรือบรรทุกน้ำมันอีกลำซึ่งจดทะเบียนในอังกฤษ ชื่อสเตนา อิมเพโร ได้ออกแถลงการณ์ว่ายังไม่สามารถติดต่อกับลูกเรือทั้ง 23 คนได้ ซึ่งเรือลำนี้เป็นเรือลำแรกที่ถูกกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิหร่านยึดไว้นั่นเอง

หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มมีข้อมูลที่ถูกส่งออกมาอย่างต่อเนื่อง และมีรายงานข่าวว่า เรือสเตนา อิมเพโร เจตนาปิดระบบจีพีเอส และเพิกเฉยต่อการส่งสัญญาณเตือนจากไออาร์จีซี ว่าเรือกำลังอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ใช้เส้นทางเดินเรือ ของตัวเอง ทำให้ทางด้านกองกำลังไออาร์จีซี จำเป็นที่จะต้องเข้าควบคุมเรือลำดังกล่าว
เมื่อข่าวดังกล่าวถูกแพร่กระจายออกไปทางด้านนายเจเรมี ฮันต์ รมว.กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ ได้เรียกร้องให้ไออาร์จีซีปล่อยเรือสเตนา อิมเพโร พร้อมลูกเรือทั้งหมด อย่างรวดเร็วที่สุด และทุกคนจะต้องได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย ไม่อย่างนั้นอิหร่านจะถูกตอบโต้ในเรื่องดังกล่าวอย่างสาสมเช่นกัน ซึ่งในเรื่องนี้ยังมีรายงานข่าวเชิงลึกว่า ทางด้านหน่วยงานกลาโหมของอังกฤษ ได้หารืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานกลาโหมของสหรัฐฯ ว่าจะจัดการเรื่องดังกล่าวกับอิหร่านอย่างไรดี แต่ทว่ายังไม่มีข้อสรุป ที่ชัดเจนนัก แต่เหมือนกับว่าทั้งสองนั้นเห็นตรงกันว่ายังไม่ควรที่จะใช้กำลังทหารกับทางด้านอิหร่านในเวลานี้



สถานการณ์ที่นี่ตึงเครียดนับตั้งแต่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน และเดินหน้าเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรฝ่ายเดียวต่ออิหร่าน ตามด้วยการเกิดเหตุวินาศกรรม ต่อเรือบรรทุกน้ำมัน หลายครั้งซึ่งสหรัฐฯ กล่าวหาเป็นฝีมืออิหร่าน ก่อนหน้านี้ทางด้านกองทัพสหรัฐฯ อ้างการยิงโดรนของอิหร่าน แต่อิหร่านกล่าวว่าอีกฝ่ายพลาด ยิงโดรนของตัวเอง



การสร้างกระแสโจมตีอิหร่านในขณะนี้ของทางด้านสหรัฐฯ นั้นยังไม่เคยพูดถึงเรื่องของน้ำมัน แม้แต่ครั้งเดียว โดยทางด้านสหรัฐฯ มักจะพูดไปถึงเรื่องของนิวเคลียร์ แต่ถ้ามองย้อนกลับไปของการก่อเหตุในลักษณะนี้ของสหรัฐฯในตะวันออกกลางตั้งแต่หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 แล้ว ทุกครั้งล้วนแล้วแต่เกี่ยวเนื่อง เกี่ยวพันกับเรื่อง "น้ำมัน" ทั้งสิ้น ดังนั้นครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ในหมู่พวกผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน แทบไม่มีข้อสงสัยกันเลยในเรื่องนี้ หลายฝ่ายมองเห็นเหมือนกันว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณอ่าวเปอร์เซียนั้น เนื่องจากว่าสถานที่ดังกล่าวมีสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างมากมายมหาศาล ให้แก่ภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย จากที่เวลานี้ภูมิภาคนี้ก็เป็นเจ้าของปิโตรเลียมสำรองที่ยังไม่มีการขุดเจาะนำขึ้นมาเป็นปริมาณมากกว่า 60% ของที่โลกมีกันอยู่ ขณะที่ช่องแคบฮอร์มุซ ช่องทางน้ำแคบๆ ซึ่งตั้งอยู่ตรงปากทางเข้าอ่าวเปอร์เซีย เวลานี้ก็เป็นทางผ่านของน้ำมันประมาณหนึ่งในสามของที่ขนถ่ายกันทางทะเลในทั่วโลกในแต่ละวัน บางทีเราน่าจะพูดได้ว่า ช่องแคบฮอร์มุซซึ่งเป็นเส้นพรมแดนของทั้งอิหร่าน, โอมาน, และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คือสถานที่ทางภูมิยุทธศาสตร์ซึ่งทรงความสำคัญที่สุดและเกิดการต่อสู้ช่วงชิงกันหนักหน่วงที่สุดในเวลานี้ สาเหตุหลักก็เพราะน้ำมัน ไม่ใช่นิวเคลียร์ อย่างที่สหรัฐฯ กล่าวอ้างแต่อย่างใด



เรื่องดังกล่าวนั้นชัดเจนมากขึ้นเมื่อทางด้านไมท์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ ขณะที่เขาได้เดินทางเยือนหลายชาติในเอเชียและตะวันออกกลาง เขาได้พี่เรียกร้องให้บรรดาผู้นำประเทศต่าง ๆ ช่วยให้การสนับสนุนสหรัฐฯ กับโครงการเซนทิเนล ด้วยการให้เรือบรรทุกน้ำมันตลอดจนเรืออื่นๆ ที่ผ่านไปมาในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย ติดตั้งกล้องซึ่งสามารถเฝ้าติดตาม โดยเขาอ้างถึงภัยคุกคามต่างๆ จากอิหร่าน จุดมุ่งหมายของแผนการดังกล่าวที่คณะบริหารของนายโดนัลด์ ทรัมป์ เสนอขึ้นมานี้ ก็คือ เพื่อปกป้องคุ้มครองการเดินเรือในช่องแคบฮอร์มุซและอ่าวเปอร์เซีย หรือถ้าจะเรียกเป็นภาษาชาวบ้าน แบบเข้าใจง่าย "สหรัฐฯ ต้องการเรียกค่าคุ้มครอง" จากการขนส่งน้ำมันผ่านช่องแคบฮอร์มุซ นั่นแหละครับ แต่ทุกวันนี้ทำไม่ได้เพราะช่องแคบดังกล่าวถูกทางด้านกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิหร่าน หรือ ไออาร์จีซี ดูแลอยู่ ดังนั้นถ้าสหรัฐฯ จะเข้าไปบริหารจัดการผลประโยชน์บริเวณช่องแคบดังกล่าว ก็ต้องจัดการอิหร่านซะก่อน ดังนั้นสิ่งที่สหรัฐฯ ถนัดที่สุดก็คือการสร้างเรื่องให้อิหร่านกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาชาวโลก และสหรัฐฯ ก็เล่นบทพระเอกว่าตัวเองต้องเข้าไปจัดการหยุดยั้งความเป็นผู้ร้ายของอิหร่านซะก็เท่านั้นเอง ดังนั้นเราจึงได้เห็นถึงความพยายามของสหรัฐฯ กับอังกฤษในเวลานี้ที่จะเดินหน้าจัดการอิหร่านอย่างจริงจัง



แต่นอกจากสหรัฐฯ กับอังกฤษ คงไม่สามารถทำอะไรกับอิหร่านได้มากนัก หากประเทศในภูมิภาคแห่งนี้ไม่ร่วมมือด้วย ดังนั้นเราจึงได้เห็นการเดินเกมไล่ต้อนอิหร่านไปอีกขั้นนั่นก็คือสหรัฐฯ ได้เดินหน้าเจรจากับทางด้านซาอุดิอาระเบีย เพื่อขอนำกำลังทหารเข้าไปไว้ที่ประเทศดังกล่าวโดยการอ้างถึงการยกระดับความร่วมมือในการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาค และธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และดูเหมือนว่าสหรัฐฯ นั้นประสบผลสำเร็จเสียด้วยเมื่อทางด้าน สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมานแห่งซาอุดีอาระเบียพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สหรัฐฯ ส่งทหารเข้าประจำการในซาอุฯ เพื่อช่วยสนับสนุนความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาค

สหรัฐฯ จ้องล้มอิหร่านไม่ใช่เพราะนิวเคลียร์ แต่เพราะน้ำมัน



เรื่องดังกล่าวได้รับการยืนยันชัดเจนแล้วจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ออกมาแถลงยืนยันเรื่องนี้ โดยระบุว่าจะมีการส่งกำลังพลและทรัพยากรต่างๆ ไปยังซาอุดีอาระเบียเพื่อเป็นมาตรการป้องกันเสริม ท่ามกลางภัยคุกคามฉุกเฉินที่มีแนวโน้มเชื่อถือได้ว่าอาจจะเกิดขึ้น



จากที่ไล่เรียงข้อมูลกันมาจะเห็นได้ชัดเจนว่าเวลานี้ สิ่งที่สหรัฐฯ ปลุกปั่นให้อ่าวเปอร์เซีย ลุกเป็นไฟอีกครั้ง ไม่ใช่เรื่องของนิวเคลียร์ เหมือนที่เคยกล่าวอ้างจากการถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์แต่อย่างใด แต่เป็นเพราะผลประโยชน์ของน้ำมันที่มีอย่างมหาศาลในภูมิภาคดังกล่าวต่างหากเป็นสิ่งที่สหรัฐฯ ต้องการ แน่นอนว่าการจับมือกับอังกฤษ และ ซาอุฯ ทั้งหมดจะได้ประโยชน์ร่วมกัน จากสิ่งที่สหรัฐฯ กำลังกระทำ แต่การเดินเกมของสหรัฐฯ ครั้งนี้อาจจะไม่ง่ายนักเพราะอิหร่านเองมีศักยภาพมากพอที่จะต่อสู้กับสหรัฐฯ ดังนั้นเรายังจะเห็นสถานการณ์ การงัดข้อของสองฝ่ายแบบนี้ต่อไปอีกสักระยะ จนกว่าสหรัฐฯ จะได้ในสิ่งที่ต้องการ เหตุการณ์ก็จะคลี่คลายไปเอง



สถาพร เกื้อสกุล 21-07-2562
อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่  https://www.nationtv.tv/main/columnist/59/

logoline