svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"สามารถ" เปรียบคดี "แพรวา" เหมือนผู้เสียหายแชร์ลูกโซ่

17 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เหตุสะเทือนขวัญ ครั้งนี้เกิดขึ้น เวลา 21.45 น. วันที่ 27 ธ.ค.2553 เมื่อ น.ส.แพรวาที่ขณะนั้นอายุไม่ถึงเกณฑ์ทำใบขับขี่ ขับรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค มาด้วยความเร็วสูงแล้วเสียหลักชนรถตู้โดยสารสายหมอชิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต บนทางด่วนโทลเวย์ช่วงหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนผู้โดยสารเสียชีวิตในรถ และกระเด็นลงมาเสียชีวิตด้านล่าง รวม 9 ราย และบาดเจ็บอีก 6 ราย รวมทั้งแพรวาด้วย28 ก.พ.2554 ตำรวจสรุปสำนวนส่งอัยการสั่งฟ้องแพรวาต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง 2 ข้อหาคือ ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่24 มิ.ย.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้ยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งแทนญาติผู้เสียชีวิต2 ข้อหา 31 ส.ค.2555 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางพิพากษาจำคุกแพรวา 3 ปี คำให้การเป็นประโยชน์ลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 2 ปี ให้รอลงอาญา 3 ปี และสั่งคุมประพฤติ 3 ปี ให้รายงานตัวทุกๆ 3 เดือน พร้อมทำงานบริการสังคมด้วยการดูแลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุ 48 ชั่วโมง ห้ามขับรถจนกว่าอายุ 25 ปีบริบูรณ์22 เม.ย.2557 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแก้ไขจากรอลงอาญา 3 ปี เป็น 4 ปี บำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมงต่อปี เป็นเวลารวม 4 ปี ส่วนโทษอื่นให้คงตามศาลชั้นต้น ต่อมาจำเลยยื่นฎีกาต่อสู้คดี11 พ.ค.2558 ศาลฎีกาพิเคราะห์มีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย เนื่องจากคำร้องฎีกาไม่มีสาระสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งของศาลล่างที่ไม่รับฎีกาส่วนคดีแพ่ง ญาติผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ ยื่นฟ้อง แพรวา พ่อและแม่ รวมทั้งนายสุพิรัฐ จ้าววัฒนา ผู้ครอบครองรถยนต์ เป็นจำเลย 1- 4 กระทำละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายกว่า 113 ล้าน พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี26 พ.ย.2558 ศาลพิพากษาให้ แพรวา พ่อแม่ และผู้ครอบครองรถ ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นเงินกว่า 26 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 ธ.ค.2553ศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษาให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน รวมเป็นเงินกว่า 19 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่หลังศาลฎีกามีคำพิพากษา วันที่ 8 พ.ค.2562 ผู้เสียหายทั้งหมดก็ยังไม่ได้รับการเยียวยา

เหตุสะเทือนขวัญ ครั้งนี้เกิดขึ้น เวลา 21.45 น. วันที่ 27 ธ.ค.2553 เมื่อ น.ส.แพรวาที่ขณะนั้นอายุไม่ถึงเกณฑ์ทำใบขับขี่ ขับรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค มาด้วยความเร็วสูงแล้วเสียหลักชนรถตู้โดยสารสายหมอชิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต บนทางด่วนโทลเวย์ช่วงหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนผู้โดยสารเสียชีวิตในรถ และกระเด็นลงมาเสียชีวิตด้านล่าง รวม 9 ราย และบาดเจ็บอีก 6 ราย รวมทั้งแพรวาด้วย

"สามารถ" เปรียบคดี "แพรวา" เหมือนผู้เสียหายแชร์ลูกโซ่


28 ก.พ.2554 ตำรวจสรุปสำนวนส่งอัยการสั่งฟ้องแพรวาต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง 2 ข้อหาคือ ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่24 มิ.ย.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้ยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งแทนญาติผู้เสียชีวิต2 ข้อหา 31 ส.ค.2555 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางพิพากษาจำคุกแพรวา 3 ปี คำให้การเป็นประโยชน์ลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 2 ปี ให้รอลงอาญา 3 ปี และสั่งคุมประพฤติ 3 ปี ให้รายงานตัวทุกๆ 3 เดือน พร้อมทำงานบริการสังคมด้วยการดูแลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุ 48 ชั่วโมง ห้ามขับรถจนกว่าอายุ 25 ปีบริบูรณ์
22 เม.ย.2557 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแก้ไขจากรอลงอาญา 3 ปี เป็น 4 ปี บำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมงต่อปี เป็นเวลารวม 4 ปี ส่วนโทษอื่นให้คงตามศาลชั้นต้น ต่อมาจำเลยยื่นฎีกาต่อสู้คดี11 พ.ค.2558 ศาลฎีกาพิเคราะห์มีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย เนื่องจากคำร้องฎีกาไม่มีสาระสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งของศาลล่างที่ไม่รับฎีกาส่วนคดีแพ่ง ญาติผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ ยื่นฟ้อง แพรวา พ่อและแม่ รวมทั้งนายสุพิรัฐ จ้าววัฒนา ผู้ครอบครองรถยนต์ เป็นจำเลย 1- 4 กระทำละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายกว่า 113 ล้าน พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
26 พ.ย.2558 ศาลพิพากษาให้ แพรวา พ่อแม่ และผู้ครอบครองรถ ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นเงินกว่า 26 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 ธ.ค.2553ศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษาให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน รวมเป็นเงินกว่า 19 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่หลังศาลฎีกามีคำพิพากษา วันที่ 8 พ.ค.2562 ผู้เสียหายทั้งหมดก็ยังไม่ได้รับการเยียวยา

"สามารถ" เปรียบคดี "แพรวา" เหมือนผู้เสียหายแชร์ลูกโซ่

ล่าสุดนายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ประธานสมาพันธ์ต่อต้นแชร์ลูกโซ่แห่งประเทศไทย  โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความคิดเห็นคดีที่ แพรวา ขับรถ ซีวิค ชนรถตู้ชน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ โดยระบุว่า  ตนเองได้อ่านข่าว ในโลก Social Media ได้พูดถึงคดีแพรวา ว่าศาลตัดสินแล้วให้มีการชดใช้เงิน จำนวนเกือบประมาณ 20 ล้าน  แต่ ถ้าไม่ชดใช้ก็ต้องไปฟ้องบังคับคดีและถ้าเลย 10 ปีสืบทรัพย์ไม่ได้ ก็ต้องฟ้องล้มละลายคดีนี้ผ่านมากว่า 9 ปีแล้ว นับตั้งแต่วันเกิดเหตุ แต่ผู้เสียหายหรือผู้ได้รับผลกระทบ ก็ยังไม่รับการเยียวยาซึ่งเรื่องนี้เอง กระบวนการยุติธรรม จะต้องมีการพูดถึง และมีการปรับแก้ให้ทันสมัย ไม่ใช่แค่เฉพาะคดีแพรวาเท่านั้นยังมีเหยื่อคดีแชร์ลูกโซ่อีกนับ 8 ล้านคน ก็ต้องเผชิญชะตากรรมแบบนี้ เพราะหลักกฎหมาย ในคดีแพ่งนั้น ให้ผู้เสียหายเป็นคนดำเนินการสืบหาทรัพย์เอง นั่นคือความยาก ทั้งที่ ในคดีแชร์ลูกโซ่ ถือเป็นความผิดมูลฐาน ฟอกเงินมีกฎหมายพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพุทธศักราช 2542 มีการปรับแก้มาตรา 49 วรรคท้าย เพื่อให้คืนเงินให้กับผู้เสียหายได้ แต่ก็ต้องมีกระบวนการฟ้องผ่านพนักงานอัยการ ผ่านศาลแพ่งก็ต้องใช้เวลายาวนานซึ่งเรื่องนี้ตนเองไม่ได้นิ่งนอนใจ พร้อมกับผู้ใหญ่ในพรรค และเพื่อนส.ส. ในพรรคพลังประชารัฐ เองได้ร่างกฎหมาย พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดในลักษณะแชร์ลูกโซ่ พ.ศ. ....พร้อมผู้ริเริ่ม 50 คนได้ทำหนังสือถึง ท่านประธานรัฐสภา ท่านชวนหลีกภัยเพื่อจะนำร่างฉบับนี้มอบให้ท่านประธานสภาในวันที่ 25 กรกฎาคม พศ 2562เวลา 13:00น  ที่ห้องประชุม TOT ศูนย์ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

ดังนั้นการที่ตนเองหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา ไม่ใช่เฉพาะแค่คดีแพรวาเท่านั้นแต่ทุกๆคดีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นจะต้องได้รับความยุติธรรมได้รับการดูแลตามหลักนิติธรรมนิติรัฐ เพื่อทำให้สังคมนั้นอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุกช่วยเหลือเกื้อกูล

"สามารถ" เปรียบคดี "แพรวา" เหมือนผู้เสียหายแชร์ลูกโซ่

logoline