svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

กอ.รมน. ย้ำชัด ไม่มีอำนาจจับกุมใคร

17 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แหล่งข่าว กอ.รมน. แจง เมื่อ คสช. หมดวาระ งานในความรับผิดชอบ จะถูกส่งกลับไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมย้ำ กอ.รมน.ไม่มีอำนาจจับกุม หรือจับใครพร่ำเพรื่อ เปรียบเสมือนมีอาวุธในบ้าน มีไว้ป้องกันในยามจำเป็น

จากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โอนอำนาจให้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) สามารถเชิญบุคคลเข้ามาพูดคุยเพื่อปรับทัศนคติได้ หรือรับสานงานต่อนั้นแหล่งข่าวจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ยืนยันว่า เมื่อ คสช. หมดวาระแล้ว งานต่างๆก็จะส่งต่อให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อ เช่น งานรักษาความสงบเรียบร้อย ดูแลความเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือเรื่องที่กระทบต่อความมั่นคง และการจัดระเบียบสังคม อย่างเช่น เด็กแว๊น ก็เป็นหน้าที่ของตำรวจ


ส่วนงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของทหาร เมื่อครั้งยังมี คสช. ก็เช่น การสร้างถนน ทหารก็ต้องทำต่อให้เสร็จ / ขณะที่ปัญหาเรื่องความเดือดร้อนประชาชน เช่น กลุ่มพีมูฟ ก็เป็นความรับผิดชอบของ กอ.รมน. อยู่แล้วทั้งนี้ ขอยืนยันว่า กอ.รมน. ไม่มีอำนาจในการจับกุม ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต 


เพราะที่ผ่านมาดำเนินการภายใต้กฎหมายปกติ ดังนั้นถ้าจะไปจับกุมใคร ก็ต้องประสานงานให้ตำรวจดำเนินการ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆว่า ถ้ามี กอ.รมน. ไปจับ ยังไงก็ต้องมีตำรวจไปด้วย เพราะฉะนั้นเสียงวิจารณ์ที่บอกว่า กอ.รมน. สามารถเรียกคนไปปรับทัศนคติได้ ก็ไม่เป็นความจริง"กอ.รมน. ไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง ไม่มุ่งผลประโยชน์ทางการเมือง แม้บางครั้งอาจจะคาบเกี่ยวกัน ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่พึงระวังในการปฏิบัติเสมอ เมื่อเป็นองค์กรของรัฐ ก็ต้องไม่ทำให้เสียชื่อเสียง และทหารก็ต้องรักษาความเป็นกลางให้มากที่สุด"


สำหรับการใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 นั้น มี 2 ส่วนคือ ในยามปกติ มีหน้าที่หลักคือ อำนวยการ บูรณาการ และขับเคลื่อน เพราะในบางปัญหาเช่น การบุกรุกป่าเพื่อเข้าไปจับจองที่ทำกิน ก็คาบเกี่ยวหลายกระทรวง ทั้ง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง กอ.รมน. สามารถเชิญให้ทุกหน่วยงานมาร่วมหารือได้ พูดง่ายๆคือเป็นคนกลางประสานงาน แต่ไม่มีอำนาจสั่งการ แล้วรายงานผลให้นายกรัฐมนตรี รับทราบ 


เพื่อพิจารณาแก้ปัญหาต่อไป ดังนั้น กฎหมายที่ใช้ในยามปกติ ทุกวันนี้ก็ไม่มีใครได้รับผลกระทบ อีกส่วนคือ ในยามที่มีสถานการณ์หรือภัยร้ายแรง ก็จะเป็นไปตามมาตรา 15 เมื่อมีการประกาศแล้วก็จะต้องมีการใช้กำลังตามมาตรา 16 ซึ่งต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจน ว่าทำอะไร แค่ไหน"การมี กอ.รมน. ที่ใช้กฎหมายความมั่นคง เป็นเสมือนเครื่องมือกลาง ที่ยังไม่ถึงขั้นต้องใช้กฎหมายที่เด็ดขาดไปกว่านี้"สำหรับการบังคับใช้กฎหมายนั้น จะเรียงลำดับตามสถานการณ์ แต่โดยปกติจะใช้กฎหมายทั่วไปที่มีอยู่ หากเริ่มมีเหตุฉุกเฉิน ก็อาจจะมาใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ถ้ายังควบคุมไม่ได้ก็ค่อยเพิ่มระดับเป็น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และปิดท้ายที่กฎอัยการศึก 

logoline