svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ความมั่นคงประเทศ สำคัญกว่ามิตรที่ (ไม่) จริงใจ

17 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยคือการเคารพและปฏิบัติตามเสียงข้างมาก ซึ่งรัฐบาลเห็นควรให้มีการหารือร่วมกับพรรคฝ่ายค้านในเรื่องนี้เป็นการด่วน เนื่องจากเป็นการตัดสินใจที่ไม่อาจพักไว้ก่อนได้ ท่ามกลางสถานการณ์ที่วุ่นวายและรุนแรงเช่นนี้ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความพยายามก่อการรัฐประหารต้องได้รับบทลงโทษที่ "สาสม"

เรื่องความขัดแย้งของสหรัฐฯ กับ ตุรกี กำลังเป็นที่จำตามอง เพราะตุรกี เป็นด่านหน้า เป็นประเทศกันชนระหว่างนาโต และ รัสเซีย แต่เวลานี้ ดูเหมือนว่าตุรกี กำลังแปรพักต์ หันไปเข้าด้วยกับรัสเซีย ไม่เชื่อฟังสหรัฐฯ เหมือนแต่ก่อน
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2562 ทางด้านกระทรวงกลาโหมของตุรกี ได้แถลงถึงกรณีทางการรัสเซียดำเนินการส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 ล็อตแรก แก่ตุรกีแล้ว โดยมีการนำไปยังฐานทัพมูร์เต็ด นอกกรุงอังการาโดยทางด้านตุรกีได้สั่งซื้อ S-400 2 ชุด มูลค่า 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 77,500 ล้านบาทที่ผ่านมาสหรัฐฯ พยายามเรียกร้องให้ตุรกียกเลิกสัญญา แล้วเลือกซื้อจากทางด้านสหรัฐฯ แทน โดยให้เหตุผลว่าระบบของรัสเซียจะไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบเดิมที่ตุรกีมีอยู่แล้ว และที่สำคัญสหรัฐฯ บอกว่าตุรกี เป็นสมาชิกนาโต ควรซื้ออาวุธจากกลุ่มนาโตด้วยกันแต่เรเซปเตอร์ยิป เฮอร์โดกัน บอกว่านี่คือความมั่นคงของตุรกี ไม่เกี่ยวกับสหรัฐฯ ตุรกีจะซื้อของใครก็ได้ ด้านสหรัฐฯ ขู่กลับหากไม่ล้มดีล เดี๋ยวจะคว่ำบาตรตุรกีชัดแล้ว ไม่ล้มดีล ไม่ฟังสหรัฐฯ พร้อมติดตั้งอาวุธหนักจากรัสเซีย
ดังนั้นเราจะพาไปย้อนดูว่า ความสัมพันธ์ ระหว่างสหรัฐฯ กับ ตุรกี สะบั้นลงเพราะสาเหตุใด เรื่องดังกล่าวต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 2558 ขณะนั้นสงครามในซีเรีย กำลังระอุ โดยเฉพาะทางตอนเหนือของซีเรีย ทางกองทัพอากาศรัสเซีย ส่งเครื่องบินรบ ขึ้นถล่ม กองกำลังชาวเคิร์ด และแนวร่วมของกลุ่มก่อการร้ายทางตอนเหนือของซีเรีย อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 สถานีโทรทัศน์ของตุรกีเผยแพร่ภาพเครื่องบินขับไล่ Su-24 ของรัสเซียถูกยิงตกบริเวณเทือกเขาในเมืองลาตาเกียของซีเรีย ห่างจากพรมแดนตุรกีเพียงไม่กี่กิโลเมตร โดยกองทัพตุรกีระบุว่าเครื่องบินขับไล่ F-16 ของตุรกี 2 ลำ ยิงเครื่องบินรัสเซียตกหลังจากที่พบว่าเครื่องบินดังกล่าวเข้ามาในเขตน่านฟ้าตุรกี ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ส่งคำเตือนถึง 10 ครั้ง แต่นักบินกลับเพิกเฉย
ด้านกระทรวงกลาโหมรัสเซียยืนยันว่า เครื่องบินรัสเซียปฏิบัติการอยู่ในเขตน่านฟ้าของซีเรียและไม่ได้รุกล้ำน่านฟ้าตุรกี และยังระบุด้วยว่าเครื่องบินถูกยิงตกจากอาวุธจากภาคพื้นดินขณะทำการบินอยู่ที่ระดับความสูง 6,000 เมตร ซึ่งนักบินของรัสเซียทั้ง 2 คน ดีดตัวออกจากเครื่องบินได้ทันและเวลาต่อมาทราบว่านักบินของรัสเซียก็ถูกควบคุมตัวจากทหารของตุรกี
เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความไม่พอใจต่อรัสเซีย อย่างยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ ระหว่างรัสเซียกับตุรกี นั้นถึงทางตันทันที ทางด้านรัสเซีย สั่งห้ามเที่ยวบินเหมาลำบินสู่ตุรกี และ ห้ามนำสินค้าหลายอย่างเข้าจากตุรกี ทำให้ภาคเกษตรของตุรกี ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ผู้นำตุรกี อย่างเรเซปเตอร์ยิป เฮอร์โดกัน และ ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ต่างก็ทำสงครามน้ำลายแบบรายวัน เหตุการณ์ดังกล่าว นักวิเคราะห์มองว่าการที่ตุรกี ยิงเครื่องบินรบของรัสเซีย นั้นเป็นเพราะถูกสัั่งการจากสหรัฐฯ เพื่อเป็นการสั่งสอนรัสเซีย ที่เข้าไปวุ่นวายกับสมรภูมิรบในซีเรีย โดยเฉพาะทางตอนเหนือของซีเรีย ซึ่งเป็นแนวอิทธิพลเดิมของสหรัฐฯ นั่นเองแต่เรื่องราวระหว่างตุรกี กับรัสเซีย ก็ต้องพลิกอีกตลบเมื่อ 15-16 กรกฎาคม 2559 ได้เกิดเหตุพยามรัฐประหารผู้นำตุรกี โดยทางด้านกองกำลังพิเศษตุรกีบุกรวบตัวกลุ่มคอมมานโดกบฏ ที่พยายามควบคุมตัวหรือฆ่า ประธานาธิบดีเรเซป เตอร์ยิป เฮอร์โดกัน แห่งตุรกี ระหว่างความพยายามรัฐประหารที่ล้มเหลว
หลังจากนั้นการติดตามไล่ล่าผู้ก่อเหตุก็เริ่มต้นขึ้น โดยมีการส่งอากาศยานสอดแนมไร้คนขับ(โดรน)และเฮลิคอปเตอร์ถูกส่งเข้าชี้เป้าแหล่งหลบซ่อนของหน่วยคอมมานโด 11 นายที่หลบหนีอยู่ในภูเขาป่าหนาทึบ รอบๆ มาร์มาริส เมืองตากอากาศริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หลังตามล่ามานาน 2 สัปดาห์ โดยคนเหล่านั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มที่บุกโจมตีโรงแรมที่พักของเฮอร์โดกัน ซึ่งอยู่ระหว่างพักผ่อนในค่ำคืนที่มีความพยายามยึดอำนาจ 15 กรกฎาคม 2559ในขณะที่ทางการตุรกี ได้ระบุว่าผู้ที่บงการรัฐประหารครั้งนี้นั่นก็คือ เฟตฮุลเลาะห์ กูเลน นักการศาสนาและนักวิจารณ์การเมืองชาวเติร์ก ซึ่งเป็น "ศัตรูหมายเลขหนึ่ง" ของประธานาธิบดีเรเซป เตอร์ยิป เฮอร์โดกัน และทางตุรกี ก็ได้เดินเรื่องเพื่อขอตัวนักการศาสนาคนดังกล่าวจากทางด้านสหรัฐฯ ทันที แต่ปรากฎว่าทางด้านสหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะส่งตัวเฟตฮุลเลาะห์ กูเลน กลับไปรับโทษที่ตุรกี ทำให้ทางด้านเฮอร์โดกัน นั้นถึงกับโกรธทางด้านสหรัฐฯ เป็นอย่างยิ่ง และ ได้กล่าวหาว่ารัฐบาลสหรัฐฯ อยู่เบื้องหลังความพยายามยึดอำนาจที่เกิดขึ้นด้วยการให้ความสนับสนุนกูเลน ซึ่งลี้ภัยอยู่ที่รัฐเพนซิลเวเนีบมาตั้งแต่ปี 2542ขณะที่ทางด้านสหรัฐฯ ยืนกรานปฏิเสธว่าเป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริงโดยสิ้นเชิง และมีแต่จะยิ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ พร้อมทั้งกล่าวถึงประเด็นที่ว่าผู้นำตุรกีอาจ "สร้างสถานการณ์" ขึ้นมาเองเพื่อขยายฐานอำนาจหรือไม่ เนื่องจากหลังเกิดเหตุมีรายงานผู้ถูกจับกุมมากกว่า 6,000 คน เกือบทั้งหมดเป็นทหาร และผู้พิพากษาถูกปลดออกจากตำแหน่งอีกไม่ต่ำกว่า 2,700 คน ซึ่งแคร์รีมองเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าวิตกกังวลอย่างยิ่งว่า เออร์โดกันใช้โอกาสนี้กวาดล้างฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองด้วยทางด้านประธานาธิบดีเรเซป เตอร์ยิป เออร์โดกัน ผู้นำตุรกี กล่าวระหว่างเข้าร่วมพิธีศพของตำรวจซึ่งเสียชีวิตจากเหตุรุนแรงที่เป็นผลจากความพยายามก่อการรัฐประหาร ในนครอิสตันบูล ท่ามกลางเสียงเรียกร้องของประชาชนจำนวนมากให้มีการรื้อฟื้นบทลงโทษประหารชีวิต ว่าหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยคือการเคารพและปฏิบัติตามเสียงข้างมาก ซึ่งรัฐบาลเห็นควรให้มีการหารือร่วมกับพรรคฝ่ายค้านในเรื่องนี้เป็นการด่วน เนื่องจากเป็นการตัดสินใจที่ไม่อาจพักไว้ก่อนได้ ท่ามกลางสถานการณ์ที่วุ่นวายและรุนแรงเช่นนี้ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความพยายามก่อการรัฐประหารต้องได้รับบทลงโทษที่ "สาสม"...ขณะเดียวกัน เฮอร์โดกันเดินหน้าเรียกร้องให้ทางการสหรัฐฯ เนรเทศ "คนแดนไกล" คือนายเฟตฮุลเลาะห์ กูเลน "ศัตรูหมายเลขหนึ่ง" ของรัฐบาลตุรกี ซึ่งลี้ภัยอยู่ที่รัฐเพนซิลเวเนีย โดยผู้นำตุรกีประณามว่ากูเลนและแนวร่วมคือ "กลุ่มก่อการร้าย" และผู้ใดก็ตามที่สนับสนุนกลุ่มคนเหล่านี้เท่ากับประกาศตัวเป็นปรปักษ์ต่อกัน ซึ่งนายจอห์น แคร์รี รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในขณะนั้น ก็ยืนยันว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความพยายามยึดอำนาจในตุรกี และการเนรเทศกูเลนจะเกิดขึ้นเมื่อเออร์โดกันสามารถแสดงหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอ ว่ากูเลนอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ ผู้นำตุรกี ไม่พอใจอย่างรุนแรงถึงขั้นสั่งปิดล้อมฐานทัพอากาศอินเซอร์ลิค ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี และตัดระบบสาธารณูปโภคทั้งหมด เนื่องจากมีการสืบทราบว่าฐานทัพแห่งนี้ที่เปิดให้กองทัพสหรัฐฯ ใช้ประโยชน์ นั้นเป็นพื้นที่ซ่องสุมกำลังพล ของทหารที่ก่อเหตุรัฐประหารนั่นเองจากเหตุการณ์ ยิงเครื่องบินรบของรัสเซีย ตก มาสู่เหตุการณ์ รัฐประหาร เหมือนเป็นการปลุกให้ผู้นำตุรกีตื่นจากภวังค์ หรือเริ่มจะคิดได้ว่าพันธมิตร ที่เคยร่วมหัวจม ท้ายกันมาอย่างสหรัฐฯ พอเอาเข้าจริงแล้ว ยังเห็นความสำคัญของศัตรู ดีกว่ามิตร เพราะสหรัฐฯ ไม่ยอมส่งตัว กูเลน มารับโทษ ตามที่ตุรกี ร้องขอ ทำให้ผู้นำตุรกี ยอมที่จะขอโทษผู้นำรัสเซีย จากเหตุกรณี ยิงเครื่องบินรบตก เมื่อปีก่อน จากที่เคยลั่นวาจาแข็งกร้าวว่าไม่ยอมขอโทษเด็ดขาด ด้านผู้นำรัสเซีย ก็ใช้จังหวะนี้สานสัมพันธ์ กับตุรกีอย่างต่อเนื่องหลังจากนั้นการเดินหน้าความร่วมมือระหว่างตุรกี กับ รัสเซีย ก็เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง เมื่อทางด้าน นายนิฮัต เซย์เบคกี รัฐมนตรีเศรษฐกิจตุรกี ส่งสัญญาณไปยังรัสเซียว่า ตุรกีพร้อมจะสานต่อการทำงานในโครงการท่อส่งก๊าซจากรัสเซีย ที่ถูกระงับไปท่ามกลางความตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศ
โครงการที่เรียกชื่อว่า เตอร์กิช สตรีม (Turkish Stream) จะนำก๊าซจากรัสเซียมาสู่ตุรกี จากนั้นก็จะกระจายไปยังกลุ่มประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) โครงการถูกเสนอโดยประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2557 หลังจากโครงการท่อส่งก๊าซไปยังบัลแกเรียยุติลง ท่ามกลางการคัดค้านของกลุ่มประเทศในอียู
รัฐบาลตุรกีสั่งระงับโครงการเตอร์กิช สตรีม ขณะที่ความสัมพันธ์กับรัสเซียเสื่อทรามลง หลังจากตุรกียิงเครื่องบินรบรัสเซียตก แต่ความสัมพันธ์กลับสู่ความอบอุ่น หลังจากประธานาธิบดีเรเซป เตอร์ยิป เฮอร์โดกัน ของตุรกี เอ่ยปากขอโทษรัสเซีย
หลังการพบปะหารือกับรัฐมนตรีพลังงานของรัสเซีย นายเซย์เบคกี กล่าวว่า ตุรกีและรัสเซียพร้อมที่จะสานต่อการก่อสร้าง แนวท่อส่งก๊าซเตอร์กิช สตรีม สายแรกความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ กลับมาสู่จุดที่ดีอีกครั้ง หลังจากที่มีปัญหากันมาระยะหนึ่ง แต่การหันกลับมาครั้งนี้ของตุรกี มีนัยสำคัญพอสมควร เพราะเป็นช่วงเวลาที่ สหรัฐฯ ที่เป็นแกนนำของนาโต กำลังรุกคืบยุโรปตะวันออก เพื่อสร้างแนวกันชน กับรัสเซีย ซึ่งแน่นอนว่า การเดินหน้าสร้างความสัมพันธ์อย่างเร่งรีบแบบนี้ของผู้นำตุรกีย่อมสร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้กับทางผู้นำสหรัฐฯ แค่นั้นยังไม่สะใจเฮอร์โดกัน เพราะเขายยังได้ทำการเจรจากับรัสเซีย เพื่อจัดหาระบบป้องกันขีปนาวุธจากพื้นที่อากาศ รุ่นใหม่ล่าสุดของรัสเซีย นั่นคือ S-400 ซึ่งเรื่องดังกล่าว ทำให้ทางด้านกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ รู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตุรกี นั้นเป็นสมาชิกของกลุ่มนาโต แต่หันไปเจรจาซื้อขายระบบป้องกันขีปนาวุธของรัสเซีย โดยทางด้านเพนตากอน ให้เหตุผลว่า อาจจะทำให้ระบบดังกล่าวไม่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่บรรดาพันธมิตรของกลุ่มนาโตใช้งานอยู่ ซึ่งทางเพนตากอนยังออกมาเรียกร้องให้ตุรกี ทบทวนเรื่องดังกล่าว พร้อมแนะนำว่าควรจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ จากพันธมิตรในกลุ่มนาโต มากกว่าการซื้อหาจากนอกกลุ่มและนำมาซึ่งทางด้านนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ยื่นคำขาดกับผู้นำตุรกีให้ยกเลิกการสั่งซื้อดังกล่าว ซึ่งถ้าตุรกียังเดินหน้าซื้ออาวุธจากรัสเซีย ทางด้านสหรัฐฯ ก็จะพิจารณาคว่ำบาตร ตุรกี ต่อไป ซึ่งทางด้านผู้นำตุรกี ก็ได้ยืนยันไปยังสหรัฐฯ ว่าการสั่งซื้ออาวุธ และระบบป้องกันประเทศทั้งหมด นั้น เพราะเป็นความมั่นคงของตุรกีเอง ดังนั้นตุรกีย่อมจะซื้อจากประเทศใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำตามที่สหรัฐฯ เรียกร้อง และจะไม่มีการยกเลิกการสั่งซื้อใด ๆ ทั้งสิ้น จนกระทั้งนำมาซึ่งการส่งมอบกันในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากนี้ต้องดูปฎิกริยาของสหรัฐฯ ว่าจะแสดงออกกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ วันนี้ผู้นำตุรกี แสดงให้สหรัฐฯ เห็นแล้วว่าไม่ความมั่นคงของประเทศสำคัญกว่ามิตรที่ไม่จริงใจอย่างสหรัฐฯสถาพร เกื้อสกุล 17 - 07 - 2562
อ่านบทความอื่น ๆ ที่นี่.. http://www.nationtv.tv/main/columnist/59/

logoline