svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เศร้า! ตัวเหี้ยแก่งกระจาน​ กินไข่จระเข้น้ำจืดพันธุ์​ไทย ​เหลือ​ใบเดียว​

17 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ลาดตระเวนพบรังไข่จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยถูกรื้อคุ้ย เหลือไข่สมบูรณ์ใบเดียว เก็บไปอนุบาลก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ คาดตัวเหี้ยล้วงกินเป็นอาหาร

ทีมข่าวเนชั่นทีวีลงพื้นที่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน สำรวจแนวเขต พื้นที่ทำกินของราษฎรในเขตป่า เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกับเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 62 ระหว่างเดินทางสำรวจบริเวณบ้านโป่งลึกบางกลอย ได้พบกับรังไข่จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย วางไข่อยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรี ตอนต้น อยู่ในสภาพถูกรื้อคุ้ยกระจัดกระจาย เจ้าหน้าที่คาดว่า น่าจะถูกตัวเหี้ยล้วงไข่ไปกินเป็นอาหาร



เศร้า! ตัวเหี้ยแก่งกระจาน​ กินไข่จระเข้น้ำจืดพันธุ์​ไทย ​เหลือ​ใบเดียว​





แต่โชคดีเหลือไข่จระเข้เพียงฟองเดียว ที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ จึงได้เก็บนำมาอนุบาลไว้เตรียมการปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม



ทั้งนี้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช พบการวางไข่ของเจ้าของจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยครั้งแรกเมื่อปี 2559 ครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ เกรงว่าจะถูกตัวนากและตัวเหี้ยนำไปกินเป็นอาหาร จึงได้เก็บไข่จำนวน 27 ฟอง ไปอนุบาลเพาะเลี้ยง เพื่อปล่อยคืนธรรมชาติ แต่ไม่รอด



เศร้า! ตัวเหี้ยแก่งกระจาน​ กินไข่จระเข้น้ำจืดพันธุ์​ไทย ​เหลือ​ใบเดียว​





หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นายมานะ เพิ่มพูล บอกว่า การพบไข่จระเข้สะท้อนให้เห็นว่า ความป่าและผืนป่าแก่งกระจานมีความสมบูรณ์ พร้อมที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหากไม่ติดปัญหา ความขัดแย้งกับกลุ่มชาติพันธ์ุในพื้นที่



สำหรับ จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเวียดนาม, กัมพูชา, ลาว ไทย, กาลีมันตัน, ชวา และสุมาตรา จัดเป็นจระเข้ขนาดปานกลางค่อนมาทางใหญ่ (3 - 4 เมตร) มีเกล็ดท้ายทอด มีช่วงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10-12 ปี จระเข้ชนิดนี้วางไข่ครั้งละ 20-48 ฟอง โดยมีระยะเวลาฟักไข่นาน 68-85 วัน เริ่มวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม โดยขุดหลุมในหาดทรายริมแม่น้ำ ใช้เวลาเฉลี่ยราว 80 วัน ชอบอยู่และหากินเดี่ยว



เศร้า! ตัวเหี้ยแก่งกระจาน​ กินไข่จระเข้น้ำจืดพันธุ์​ไทย ​เหลือ​ใบเดียว​





โดยปกติจระเข้น้ำจืดจะกินปลาและสัตว์อื่นที่เล็กกว่าเป็นอาหาร จะไม่ทำร้ายมนุษย์หากไม่ถูกรบกวนหรือมีอาหารเพียงพอ ในอดีตในประเทศไทยเคยพบชุกชุมในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบที่ราบลุ่มภาคกลาง เช่น ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่จระเข้ชุม เคยมีรายงานว่าพบจระเข้ถึง 200 ตัว หรือในวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องต่าง ๆ เช่น ไกรทอง ของจังหวัดพิจิตร เป็นต้น แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปจนหมดแล้ว



ส่วน สถานะในอนุสัญญาของไซเตส ได้ขึ้นบัญชีจระเข้น้ำจืดไว้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix 1)ปัจจุบัน จระเข้สายพันธุ์นี้แท้ ๆ ก็ยังหายากในสถานที่เลี้ยง เนื่องจากถูกผสมสายพันธุ์กับจระเข้สายพันธุ์อื่นจนเสียสายพันธุ์แท้ไปด้วยจากเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ

logoline