svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

กรมทางหลวงตั้งเป้า​ มอเตอร์​เวย์นครปฐม​-ชะอำ​ เปิดบริการ​ปี 67 ยันไม่เปลี่ยนเส้นทางตามข้อเสนอชาวบ้าน

14 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมทางหลวงตั้งเป้าโครงการมอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ แล้วเสร็จเปิดให้บริการได้ปี 2567 ใช้งบประมาณกว่า 7 หมื่นล้านบาท ยันไม่เปลี่ยนเส้นทางตามข้อเสนอชาวบ้าน เนื่องจากอ้อม ขึ้นเขา มีหลายโค้ง

นายสถิตย์พงษ์ อภิเมธีธำรง ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 15 (ประจวบคีรีขันธ์) กล่าว โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงข่ายทางหลวงมาตรฐานสูงรองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆในพื้นที่ภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศ สามารถแบ่งเบาภาระการจราจรจากทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทางสู่ภาคใต้ ที่มีความสะดวกรวดเร็วปลอดภัย ประหยัดเวลา และลดการสิ้นเปลืองพลังงาน เนื่องจากการจราจรติดขัด ลดต้นทุนการขนส่งโลจิสติกส์ส่งเสริมการท่องเที่ยวพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนเหนี่ยวนำให้เกิดการพัฒนาและเติบโตภาคเศรษฐกิจตามระเบียงเส้นทาง และพื้นที่ข้างเคียง


กรมทางหลวงตั้งเป้า​ มอเตอร์​เวย์นครปฐม​-ชะอำ​ เปิดบริการ​ปี 67 ยันไม่เปลี่ยนเส้นทางตามข้อเสนอชาวบ้าน




สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดภาระงบประมาณและบริหารจัดการของภาครัฐในระยะยาว โครงการมอเตอร์เวย์นครปฐมชะอำ จึงบรรจุไว้ใน PPP Pipeline ของแผนยุทธศาสตร์ให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2562-2564 ของสำนักงานกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง และต่อมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2560 ในการประชุมครั้งที่ 2/2560 ของคณะกรรมการบอร์ด PPP ได้อนุมัติเห็นชอบโครงการ เป็นโครงการนำร่องภายใต้มาตรการเร่งรัดโครงการที่จะชวนร่วมทุนในกิจการของรัฐหรือ PPP fast track อีกทั้งปัจจุบันยังเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญตามแนวปฏิบัติด้านขนส่งคมนาคมระยะเร่งด่วนหรือ Action Plan ของกระทรวงคมนาคม


สำหรับการดำเนินการแก้ไขรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเนื่องด้วยรูปแบบโครงการจากการออกแบบรายละเอียดที่แล้วเสร็จในปี 2557 มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญไปจากรายงานการศึกษาEIA ครั้งแรกเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ จากสภาพการณ์พื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา กรมทางหลวงจึงอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ eia เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยคาดว่าจะดำเนินการจัดทำรายงานแล้วเสร็จในปี 2562


สรุปกรอบวงเงินค่าลงทุนโครงการแบ่งเป็น

-ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 18,291 ล้านบาท
-ค่าก่อสร้าง งานถนนสะพาน ที่พักริมทาง 53,148 ล้านบาท
-ค่าก่อสร้างงานระบบ 3,822 ล้านบาท
-รายจ่ายโครงการอื่นๆและวงเงินสำรองเผื่อขาด 2,849 ล้านบาท
-ค่าควบคุมงานก่อสร้างและค่าดำเนินงานระหว่างก่อสร้าง 897
รวม 79,006 ล้านบาท


กรมทางหลวงตั้งเป้า​ มอเตอร์​เวย์นครปฐม​-ชะอำ​ เปิดบริการ​ปี 67 ยันไม่เปลี่ยนเส้นทางตามข้อเสนอชาวบ้าน


แผนดำเนินโครงการ

ปี 2562 : ครม. เห็นชอบรูปแบบการลงทุนพร้อมกรอบวงเงินปี
ปี 2563 : ประกาศเชิญชวนและคัดเลือกประชุมร่วมทุน
ปี 2563-2564 : จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ปี 2564-2567: งานออกแบบก่อสร้างและทดสอบระบบโดยภาคเอกชนปี
ปี 2567 : เปิดให้บริการ


กรมทางหลวงตั้งเป้า​ มอเตอร์​เวย์นครปฐม​-ชะอำ​ เปิดบริการ​ปี 67 ยันไม่เปลี่ยนเส้นทางตามข้อเสนอชาวบ้าน




ด้านนายสมบูรณ์ เทียนธรรมชาติ รองผู้อำนวยการสำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง บอกว่า โครงข่ายมอเตอร์เวย์ในประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาไปไกลแล้ว ในขณะที่โครงข่ายมอเตอร์เวย์ในภาคต่างๆของประเทศก็เริ่มก่อสร้างอย่างเป็นจริงเป็นจัง ยกเว้นภาคใต้ซึ่งมีความพยายามมาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2539 เคยมีโครงการทางพิเศษบ้านโป่ง - ราชบุรี เพื่อเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่จะขนส่งลงมาจากกทม. เพราะว่าการพัฒนาถนนเพชรเกษมทำได้ยาก แต่ก็ล้มไป ต่อมาปี 2545 ก็มีโครงการทางหลวงที่เรียกว่าแหลมผักเบี้ย แต่ก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากจนเกินไป ล่าสุดปี 2556 จึงเกิดโครงการมอเตอร์เวย์นครปฐมชะอำ ซึ่งกำลังดำเนินการมาอยู่จนถึงวันนี้


ส่วนข้อเสนอของชาวบ้านให้เปลี่ยนเส้นทาง ไปทางหลวงหมายเลข 3510 ทำไม่ได้เพราะการสร้างถนนใหญ่ที่เป็นทางหลวงพิเศษ เปรียบเสมือนกับเส้นเลือดใหญ่ มันต้องวิ่งตรงไม่สามารถจะวิ่งอ้อม ไปในทางถนน 3510 ได้อีกทั้งถนน 3510 เป็นพื้นที่ติดภูเขามีจำนวนโค้งมากอันตราย ส่วนการจัดกรรมสิทธิ์ก็จะมีการสำรวจราคากันต่อไป


กรมทางหลวงตั้งเป้า​ มอเตอร์​เวย์นครปฐม​-ชะอำ​ เปิดบริการ​ปี 67 ยันไม่เปลี่ยนเส้นทางตามข้อเสนอชาวบ้าน




ส่วนเรื่องจะทำยกการยกระดับบนถนนเพชรเกษมนั้นเป็นเรื่องของความมั่นคง หากมีเส้นทางลงภาคใต้เพียงเส้นเดียว วันใดวันหนึ่งเกิดมีการปิดถนนขึ้นมาก็จะไม่มีทางเลือกอื่น


ขณะที่ถนนเพชรเกษมมีความกว้าง 40 - 50 เมตรเท่านั้น สภาพทางวิศวกรรมไม่สามารถรองรับได้ และการเวนคืนก็จะหนักกว่าเพราะเวนคืนในสังคมเมืองจะมีปัญหามากกว่าเยอะ


นายสมบูรณ์บอกว่า บางโครงการไม่จำเป็นต้องทำประชาพิจารณ์ ทางหลวงใช้คำว่าให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมโดยไม่ต้องทำประชาพิจารณ์ เรามองที่จะแก้ปัญหามากกว่า เรียกได้ว่าเป็นการสร้างการมีส่วนร่วม ที่ให้มีส่วนร่วมว่า ถ้าจะเดินหน้าต่อ ต้องเดินหน้าอย่างไร.

logoline