svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

สอน. ลงนามความร่วมมือโครงการ "เกษตรปลอดการเผา Zero Burn"

11 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กระทรวงอุตสาหกรรม นำโดย นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ร่วมมือกับ 3 องค์กรพันธมิตร ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว, นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และนายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการร่วมพัฒนาการเกษตรไทยควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ผ่านโครงการ "เกษตรปลอดการเผา Zero Burn" และคูโบต้าเตรียมพร้อมจัดงานสัมมนาครั้งใหญ่แห่งปี Agri Forum 2019 เวทีระดมความรู้และแนวทางส่งเสริมเกษตรกรไทยทำเกษตรปลอดการเผา ในวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2562 ณ ฮอลล์ 5 อิมแพค เมืองทองธานี

นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า ภายใต้ความร่วมมือโครงการเกษตรปลอดการเผา Zero Burn สอน. มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยทั้งระบบสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการสนับสนุนให้ใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร ดำเนินโครงการพัฒนาและสาธิตการเพิ่มผลผลิตในเกษตรแปลงใหญ่ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยเกษตรกรในการบริหารจัดการไร่ และจัดตั้งศูนย์การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแห่งประเทศไทย ตลอดจนการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายลดการเผาอ้อยให้หมดไปในปี 2565 ผ่านมาตรการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางกฎหมาย การสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งจะขยายโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร ปี 2562 - 2564 นำเสนอมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการผลิตรถตัดอ้อยไทย ตลอดจนขอความร่วมมือด้านการบริหารจัดการเพื่อเป็นต้นแบบการเก็บเกี่ยวและการขนส่งอ้อยให้โรงงาน โดยได้ดำเนินมาตรการเหล่านี้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม

สอน. ลงนามความร่วมมือโครงการ "เกษตรปลอดการเผา Zero Burn"


นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ประเทศไทยมีพื้นที่การปลูกข้าวปีละประมาณ 70 ล้านไร่ โดยในแต่ละปีจะมีฟางข้าวเหลือทิ้งในนาเฉลี่ย 27 ล้านตัน ตอซังข้าวตกค้างอยู่ในนาประมาณ 18 ล้านตัน ทำให้เกิดปัญหาการเผาจากภาคการเกษตร จนกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมลพิษจากฝุ่นละออง กรมการข้าวจึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการให้ความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้จากนาหลังการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้อง การไม่เผาตอซังและฟางข้าว ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ ลดต้นทุนการบำรุงรักษาพืชและดินให้กับเกษตรกร โดยเริ่มดำเนินการก่อนในพื้นที่ 10 จังหวัดที่มีการเผาทางการเกษตรสูงนายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า 1 ในยุทธศาสตร์หลักของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรคือมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพชุมชนแบบบูรณาการ เพื่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจฐานราก สังคม รวมถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมถ่ายทอดความรู้การเกษตรแบบปลอดการเผาให้กับเกษตรกร และสนับสนุนสินเชื่อเพื่อจัดหาเทคโนโลยี เครื่องมือ อุปกรณ์ วิธีการ และนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยจัดการตอซังและเศษพืชในแปลงเพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนและช่วยเพิ่มผลิตผลให้กับเกษตรกร อาทิ สินเชื่อสีเขียว สินเชื่อเพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการให้สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ สำหรับการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การทำการเกษตรด้วยด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีวงเงินกว่า 15,000 ล้านบาท โดยส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ร่วมกับหน่วยงานภาคีและภาคเอกชน เพื่อช่วยลดปัญหามลพิษจากฝุ่นละออง ตลอดจนส่งเสริมให้ภาคการเกษตรไทยมีความเข้มแข็ง และปรับเปลี่ยนทัศนคติการทำเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น  นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า โครงการเกษตรปลอดการเผา Zero Burn เกิดจากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ซึ่งตั้งเป้าหมายให้พื้นที่ภาคการเกษตรของไทยกว่า 140 ล้านไร่ ปลอดการเผา 100% ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยสยามคูโบต้าได้ลงนามบันทึกข้อตกลง MOU ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน พร้อมด้วยกระทรวงอุตสาหกรรม โดย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในการร่วมกันผลักดันในเชิงนโยบายและการจัดกิจกรรมในพื้นที่จริงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยการนำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ และเครื่องจักรกลมาช่วยด้านการเกษตรของประเทศไทยให้แข็งแกร่ง ภายใต้แนวคิด KUBOTA (Agri) Solutions หรือ KAS ซึ่งเป็นระบบจัดการเกษตรกรรมแบบครบวงจร ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต ลดต้นทุน ตลอดจนสร้างรายได้อย่างยั่งยืน 

logoline