svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เมื่อรัฐบาลต้องการลดรายจ่าย ระหว่างลดจำนวน "ข้าราชการ" กับ "นายพล" ควรลดอะไร?

11 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คำถามเกิดขึ้นว่า ระหว่าง ลดจำนวนข้าราชการ กับลดจำนวนทหาร-นายพล ควรลดอะไร? งบประมาณกระทรวงกลาโหมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จาก 81,241 ล้านบาท ในปี 2548 มาเป็น 193,066 ล้านบาท ในปี 2558 และล่าสุด ปี 2561 อยู่ที่ 222,437 ล้านบาท

"จะทำอย่างไรให้มีค่าใช้จ่ายน้อยลง" ส่วนหนึ่งจากการแถลงข่าวของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา ซึ่งได้สั่งการให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ไปพิจารณา "แผนการบรรจุข้าราชการประจำปี" โดยให้เร่งศึกษาและทำแผนมาเสนอ ซึ่งอาจจะต้องเกลี่ยอัตรากำลังที่มีการเกษียณอายุราชการ

นั่นหมายความว่ารัฐบาลจะประหยัดค่าใช้จ่าย ด้วยการลดการบรรจุข้าราชใหม่ และยืดอายุข้าราชการเกษียณออกไปใช่หรือไม่ ถ้าใช่แบบไหนลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน คำถามนี้หนักใจไม่น้อย

ถ้าเป็นการทำธุรกิจเอกชน เราจะได้เห็นการลดรายจ่ายด้วยการเออรี่รีไทร์ หรือการจ้างออกกับพนักงานอาวุโส เพราะมีเงินเดือนสูง ในขณะที่ยังคงจ้างพนักงานใหม่ ซึ่งเงินเดือนน้อยกว่าเอาไว้ เนื่องจากเป็นมดงานสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร แต่ในทางกลับกัน "ข้าราชการ" ทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะเมื่อข้าราชการหนึ่งคนเกษียณ ยังต้องจ่ายบำนาญไปจนตาย

และนี่อาจเป็นทางเลือกสำหรับรัฐบาลที่อาจจะต้องเกลี่ยอัตรากำลังที่มีการเกษียณอายุราชการ แทนที่จะบรรจุข้าราชการที่เป็น "คนรุ่นใหม่" ที่อาจทำงานได้ดีกว่า และมีต้นทุนตำกว่า

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกำหนดการบรรจุข้าราชการใหม่ ต้องมีสัดส่วนคือ 1.สอบทั่วไป 2.สอบเฉพาะหน้าที่หรือเฉพาะสาขาที่ต้องการเข้ามาในระบบราชการ ซึ่งอาจมาได้ 2 อย่างคือเป็นทั้งลูกจ้างหรือจัดจ้างชั่วคราวเพื่อทำงานในส่วนที่ยังขาดแคลนอยู่

หรือการบรรจุราชการประเภททั่วไปแบบเดิมที่สอบ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของส่วนราชการและการเปลี่ยนแปลงการเป็นรัฐบาล E-Government ในอนาคต ซึ่งจะไปสอดคล้องกับการสนับสนุนทุนการศึกษาเฉพาะทาง

อีกคำถามหนึ่งที่ตามมาหลังคนได้ยินว่า "รัฐบาลต้องการลดรายจ่าย" คือ "รัฐบาลกำลังมีปัญหาเงินคงคลังใช่ไหม ?"

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2562 (ต.ค.-พ.ย. 2561) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น "407,611 ล้านบาท" ขณะที่มีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น "694,555 ล้านบาท" ซึ่งได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการ "ขาดดุล" จำนวน 99,200 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 2561 อยู่ที่ 427,472 ล้านบาท นั่นหมายความว่า "รายจ่าย" มากกว่า "รายรับ" นี่อาจเป็นเหตุผลให้ต้องลดรายจ่าย ใช่ หรือ ไม่

คำถามเกิดขึ้นอีกว่า ระหว่าง ลดจำนวน "ข้าราชการ" กับลดจำนวน "ทหาร-นายพล" ควรลดอะไร งบประมาณกระทรวงกลาโหมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จาก 81,241 ล้านบาท ในปี 2548 มาเป็น 193,066 ล้านบาท ในปี 2558 และล่าสุด ปี 2561 อยู่ที่ 222,437 ล้านบาท

ขณะที่จำนวนนายช่วงปี 2551-2554 อยู่ที่ 550-584 คน ก่อนทะลุ 1,000 คนในช่วงปี 2557 และปี 2561 มีจำนวนนายพลอยู่ที่ 935 คน.

#วชิรวิทย์ #วชิรวิทย์รายวัน #Vajiravit #VajiravitDaily #Nation #NationTV

logoline