svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ชาวบ้านถูกใจคำวินิจฉัย "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" เบรก PDP2018 เอื้อเอกชน

05 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หากในที่สุดกระทรวงพลังงานต้องทำตามคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็จะส่งผลดีในเชิงสิ่งแวดล้อม เพราะโครงการโรงไฟฟ้า ของเอกชนเกิดปัญหาความขัดแย้งกับคนในพื้นที่มีอยู่หลายกรณี เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ทำเหมืองปูนอยู่ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี และโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่จะพ่วงมากับเหมืองแร่โปแตชที่จังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น

คำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน ชี้ว่าการที่กระทรวงพลังงานกำหนดแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือ แผนพีดีพี โดยให้เอกชนเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าทำให้สัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของรัฐลดลงต่ำกว่า 51% นั้น ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และให้เวลาภายใน 120 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการวินิจฉัย ดำเนินการให้รัฐมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 51% ภายในกำหนด 10 ปี นับจากปี พ.ศ. 2562
หากในที่สุดกระทรวงพลังงานต้องทำตามคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็จะส่งผลดีในเชิงสิ่งแวดล้อม เพราะโครงการโรงไฟฟ้า ของเอกชนเกิดปัญหาความขัดแย้งกับคนในพื้นที่มีอยู่หลายกรณี ทั้งยังมีความเคลือบแคลงสงสัยในการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่น กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ทำเหมืองปูนอยู่ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ที่ชาวบ้านกำลังต่อต้านหลังจากรู้ว่ามีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 200 เมกะวัตต์จะเข้ามาตั้งอยู่ในพื้นที่ รวมไปถึงโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่จะพ่วงมากับเหมืองแร่โปแตชที่จังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น
ไม่มีใครรู้ว่ากระทรวงพลังงานคิดอะไรอยู่ถึงได้ปรับสัดส่วน แผนพีดีพีให้เอกชนผลิตไฟฟ้าครึ่งต่อครึ่งกับภาครัฐ อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ใช่คำสั่งที่หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามทันที แต่เป็นเพียงการนำเสนอผลการตรวจสอบพบการกระทำที่เห็นว่าอาจไม่เป็นไปตามกฎหมาย แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้เวลาในการพิจารณาดำเนินการ หากมีการแก้ไขใดๆ ก็จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ใหม่ก่อน
แต่โอกาสที่รัฐจะมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 51% ภายใน 10 ปีเป็นไปได้ยาก เพราะกฟผ.อาจมีข้อจำกัดในด้านเงินลงทุนหากต้องมีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 51% ถ้าสถานการณ์เป็นเช่นนี้ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเปิดทางให้เอกชนลงทุนผลิตไฟฟ้า
สำหรับ มาตรา 75 ของรัฐธรรมนูญ "กำหนดให้รัฐวิสาหกิจไม่ควรดำเนินธุรกิจแข่งขันกับภาคเอกชน" แต่เอกชนอย่าง "บมจ.บ้านปู" มองว่า เช่นนั้นรัฐวิสาหกิจควรหันมาส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน โดยใช้ความเข้มแข็งที่มีอยู่มาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น สายไฟฟ้าและการเชื่อมต่อขนานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบให้รวดเร็วขึ้นเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโต ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านธุรกิจพลังงานจากระบบการผลิตไฟฟ้าแบบรวมศูนย์ (Centralized Generation) ไปสู่ระบบการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ (Distributed Generation) ที่แต่ละครัวเรือน หรือแต่ละโรงงาน สามารถพึ่งพาตนเองในการผลิตไฟฟ้าใช้เองได้มากขึ้น
บ้านปูมองว่า หากรัฐวิสาหกิจส่งเสริมเรื่องนี้ ก็จะทำให้การพัฒนา "พลังงานทดแทน" ของประเทศไปสู่เป้าหมายที่สัดส่วนราว 25% ของกำลังผลิตไฟฟ้ารวมของประเทศได้เร็วขึ้น และทำให้การใช้พลังงานของประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น เห็นเรื่องของพลังงานที่เป็นระบบอัจฉริยะ (สมาร์ท) เพิ่มขึ้น ซึ่งจะตอบโจทย์นโยบายไทยแลนด์ 4.0
ถ้าข้อเสนอของบ้านปูกล่าวถึงการส่งเสริมพลังงานทดให้ได้ตามเป้าโดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่นสายส่งของรัฐวิสาหกิจ ก็คงต้องมีตรวจสอบดูว่า มีเอกชนที่จะผลิตไฟจากเชื้อเพลิงทางเลือกกี่ราย จาก "ถ่านหิน" กี่ราย โดยเฉพาะ "ถ่านหิน" ที่แม้ กฟผ. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจยังมีปัญหา แล้วเอกชนจะเข้มงวดไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสังคมหรือไม่
#วชิรวิทย์ #วชิรวิทย์รายวัน #Vajiravit #VajiravitDaily #NationTV #Nation

logoline