svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

"สหรัฐฯ" จับมือ "ออสเตรเลีย" ยุติจีนขยายอิทธิพลเหนือทะเลจีนใต้

28 มิถุนายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สื่อของออสเตรีเลียได้รายงานข่าวว่าเวลานี้ทางรัฐบาลออสเตรเลียประกาศแผนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่บนชายฝั่งตอนเหนือของประเทศ ซึ่งจะสามารถรองรับการส่งกองกำลังเข้าประจำการของหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามออสเตรเลียที่จะเดินหน้าสกัดการแผ่ขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาค

สถานีโทรทัศน์เอบีซี ของออสเตรเลียได้อ้างแหล่งข่าวในกระทรวงกลาโหมว่าขณะนี้ทางด้านรัฐบาลเตรียมการก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่จะอยู่ห่างออกไปราว 40 กิโลเมตรจากเมืองดาร์วิน เมืองเอกของภูมิภาคนอร์เทิร์นแทร์ริทอรีส์ ซึ่งสถานที่แห่งนี้เคยปล่อยเช่าท่าเรือให้แก่จีนเมื่อปี 2015
ปัจจุบันนี้ท่าเรือดาร์วินจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางทหารและเปิดให้เรือรบสหรัฐฯ เข้ามาจอดเทียบได้อยู่แล้ว ทว่าท่าเรือแห่งใหม่จะทำให้เรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกขนาดใหญ่สามารถปฏิบัติการได้อย่างรอบคอบรัดกุม และลดความแออัดลงได้มาก
มีการคาดการณ์กันว่าการเริ่มต้นก่อสร้างท่าเรือแห่งนี้จะเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือน กรกฎาคม นี้ ซึ่งจะเป็นช่วงเดียวกันกับทางด้านสหรัฐฯ และ ออสเตรเลียจะเปิดการซ้อมรบร่วมราย 2 ปีภายใต้รหัส ทาลิสมัน เซเบอร์
ความร่วมมืดดังกล่าวนั้น เป็นส่วนหนึ่งของ THE QUAD ที่ทางด้านสหรัฐฯ จะส่งนาวิกโยธินราว 2,000 นายเข้ามาผลัดเปลี่ยนประจำการที่เมืองดาร์วิน โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนความร่วมมือทางทหารที่ใกล้ชิดระหว่างทั้ง 2 ประเทศ
ออสเตรเลียและสหรัฐฯ พยายามเพิ่มบทบาททางทหารในแปซิฟิกตะวันตกเพื่อต้านทานอิทธิพลของจีนในภูมิภาคซึ่งมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์แห่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนได้เขาไปยึดครอง และก่อสร้างสาธารณูปโภคทางทหารไว้บนหมู่เกาะพิพาททะเลจีนใต้
นอกจากนั้นแล้ว สหรัฐฯ กับ ออสเตรเลียได้ประกาศแผนก่อสร้างฐานทัพร่วมบนเกาะมานัส ของปาปัวนิวกินี ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความร่วมมืองของทั้งสองประเทศในครั้งนี้ จะพาไปรื้อฟื้นถึงความร่วมมือที่ชื่อว่า THE QUAD
โดยเหตุการณ์เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 กระทรวงกลาโหมของจีน ได้ประกาศความสำเร็จอีกครั้งของจีน จากการทดสอบระบบป้องกันขีปนาวุธติดตั้งภาคพื้นดิน โดยระบบดังกล่าวเป็นการทดสอบระบบป้องกันขีปนาวุธพิสัยกลาง และผลของการทดสอบนั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ เว็บไซต์ของกระทรวงกลาโหมจีน ยังได้ แจงรายละเอียดต่อว่า การทดสอบขีปนาวุธครั้งนี้ เป็นการทดสอบการป้องกัน ไม่มีมีการมุ่งเป้า เพื่อทำลายประเทศอื่นแต่อย่างใด
ระบบที่จีนได้ดำเนินการทดสอบนั้นเป็นการยิงจรวดจากฐานภาคพื้นดิน ขึ้นสกัดและทำลายขีปนาวุธศัตรู ขณะที่กำลังบินอยู่ในอวกาศ ก่อนจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งการทดสอบครั้งนี้ไม่มีการเปิดเผยว่า เป็นระบบใด แต่บรรดานักวิเคราะห์ทางด้านกลาโหม ได้ออกมาคาดการว่าการทดสอบครั้งนี้ น่าจะเป็น SC-19 ซึ่งเมื่อปี 2550 จีนเคยใช้ระบบนี้ในการยิงดาวเทียมกลางอวกาศมาแล้ว และคงมีการพัฒนาต่อยอดมาถึงปัจจุบันนี้
ปัจจุบันนี้จีน นั้นเดินหน้าพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ รวมถึงการรักษาดินแดน ที่มีความขัดแย้ง หรือพิพาทกันอยู่ในหลายส่วน แต่ที่ต้องจับตามองนั่นคือพื้นที่ทะเลจีนใต้ ที่จีนเองนั้นมีข้อพิพาทกับหลายประเทศในอาเซียน แต่ทว่า จีนได้เดินหน้าในการแก้ปัญหาด้วยการจัดสรรผลประโยชน์ในพื้นที่ แบบทวิภาคี มาโดยตลอด
แต่ทว่ากระนั้นยังคงมีสหรัฐฯ ที่พยายามปลุกปั่นสถานการณ์ ในพื้นที่ให้ระอุอยู่ตลอดเวลา เช่นการส่งเรือพิฆาต เข้าไปในบริเวณ 12 ไมล์ทะเล ในพื้นที่เกาะที่มีการถมขึ้นมา โดยสหรัฐฯ อ้างว่าเป็นการเดินเรือโดยเสรีภาพในน่านน้ำสากล ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับทางจีน เป็นอย่างยิ่ง
ล่าสุดสถานการณ์ในพื้นที่ทะเลจีนใต้ก็น่าจะระอุขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อ ภาคี 4 ประเทศ หรือ THE QUAD ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลีย ได้ประกาศว่าจะร่วมมือกันเพื่อทำให้ทะเลจีนใต้มีเสรีภาพสูงสุดสำหรับการเดินเรือ และยับยั้งการขยายอิทธิพลของจีนในพื้นที่ดังกล่าว
นักวิเคราะห์ทางด้านการทหาร เชื่อว่า THE QUAD นั้น สหรัฐฯ จะรับบาทหลักในการจัดการทางทหาร ในขณะที่ทางด้านอินเดีย ออสเตรเลีย และ ญี่ปุ่น ก็จะรับหน้าที่ในการช่วยเหลือทางด้านยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะการขนส่ง โดยทั้งหมดอ้างว่า เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ ตนเองในพื้นที่ทะเลจีนใต้
THE QUAD เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้นำ 4 ประเทศ ได้พบกันที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 โดยทางด้านญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ให้การสนับสนุนแนวคิดของสหรัฐฯ ในการเคารพสิทธิการเดินเรือโดยเสรีภาพตามกฎหมายสากล ในขณะที่อินเดีย ได้เสนอตัวที่จะเข้ามาช่วยเหลือประเทศสมาชิกอาเซียน และก่อให้เกิดความร่วมมือกับประเทศทางต่าง ๆ ในอาเซียนกับอินเดีย โดย 4 ประเทศ ยังเป็นคู่ขัดแย้งกับจีนในพื้นที่ทับซ้อนของทะเลจีนใต้ อันได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บรูไน และมาเลเซียแต่นักวิเคราะห์ก็มองว่าท้ายที่สุดแล้ว THE QUAD เอง ก็คงทำได้เพียงแค่ออกแถลงการณ์ คัดคัดการ การดำเนินกิจกรรมทางทหาร ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทะเลจีนใต้ แต่ก็คงไม่กล้าที่จะเอ่ยชื่อประเทศจีนเอาไว้ในแถลงการณ์ดังกล่าว ส่วนอีกกิจกรรมหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นบ่อยมากขึ้นนั่นคือการลาดตระเวนร่วมกันของ 4 ประเทศในพื้นที่ทะเลจีนใต้ รวมถึงการซ้อมรบร่วมกับประเทศต่าง ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง แต่ทว่า ก็คงต้องดูท่าทีเช่นกันว่า ประเทศเหล่านั้นจะเห็นด้วยหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันนี้ ทั้ง 4 ประเทศเองก็เป็นพันธมิตร กับจีนทั้งสิ้น
ส่วนของจีน หลังจากนี้ก็คงมีมาตรการสำหรับตอบโต้ THE QUAD เช่นกัน ซึ่งเชื่อว่าจีน น่าจะออกมาตรการในการตอบโต้ เป็นรายประเทศไป โดยเฉพาะการกดดันทางเศรษฐกิจ น่าจะเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากทั้ง 4 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย ที่ปัจจุบัน จีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง ส่วนอินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เองก็ยังต้องพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากจีนเช่นเดียวกัน ดังนั้น นักวิเคราะห์มองว่า THE QUAD เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในความร่วมมือของสหรัฐฯ กับ พันธมิตร ในการแสดงออก ที่จะต่อต้านการแผ่ขยายอิทธิพลในพื้นที่ทะเลจีนใต้เท่านั้นเอง แต่ในภาคปฏิบัติแล้ว คงเป็นไปได้ยาก เมื่อทั้งหมดทั้งมวลแล้วยังต้องพึ่งพาจีนในเรื่องเศรษฐกิจ เป็นสำคัญ
การเดินหน้าเรื่องท่าเรือแห่งใหม่ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดูเป็นรูปธรรมมากที่สุดในเวลานี้ของความร่วมมือภายใต้รหัส THE QUAD ถึงถ้าย้อนไปต้องใช้เวลาเกือบ 2 ปี และยังต้องใช้เวลาในการก่อสร้างอีกไม่ต่ำกว่า 1 ปี ดังนั้น ถึงเวลานั้น จีน อาจจะแผ่ขยายอิทธิพลไปถึงไหนต่อไหนแล้วเช่นกัน

logoline